注文書 (chuumonsho) ใบสั่งซื้อ 納期 (nouki) กำหนดการจัดส่งสินค้า 品目 (hinmoku) รายการสินค้า 備考 (bikou) หมายเหตุ 合計 (goukei) ยอดรวมทั้งหมด 消費税 (shouhizei) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 納入場所 (nounyuubasho) สถานที่จัดส่ง(สินค้า) 受渡場所 (ukewatashibasho) สถานที่ส่งมอบ(สินค้า) 支払条件 (shiharaijyouken) เงื่อนไขการชำระเงิน 見積書番号 (mitsumorishobangou) เลขที่ใบเสนอราคา 発行日 (hakkoubi) วันที่ออกใบเสนอราคา 御見積書金額 (omitsumorishokingaku) ราคาเสนอ
ทุกประโยคจะแปลว่าคิดเงินด้วยค่ะ/ครับ お会計お願いします。(okaikei onegaishimasu) お勘定お願いします。(okanjou onegaishimasu) チェックお願いします。(chekku onegaishimasu) *มาจาก check, please
ถ้าพูดถึง Pudding แล้ว หลายๆ คนคงนึกถึงขนมหวานที่เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นที่มีหน้าตาแบบนี้ ซึ่งเราจะเรียกกันว่า カスタードプリン(Custard pudding) หรือ フラン(Flan) แต่ที่จริงแล้ว คำว่า “Pudding” มันมีความหมายมากกว่านั้น จริงๆ แล้วคำว่า Pudding เป็นชื่อประเภทของทั้งของคาวและของหวาน ยกตัวอย่างเช่น -ในประเทศอังกฤษ คำว่า Pudding มักจะใช้เรียกขนมที่คล้ายกับเค้กฟองน้ำ หรือนำมาใช้แทนคำว่า “ขนม/ของหวาน(Snacks/desserts)” ได้ด้วย -ที่อังกฤษและที่ไอร์แลนด์มีอาหารที่เรียกว่า ブラックプディング(Black pudding) ซึ่งมันไม่ใช่ชื่อของหวาน แต่เป็นชื่อของคาวอย่าง “ไส้กรอก” ที่ทำมาจากเลือดหมู, ไขมัน และซีเรียลธัญพืช เป็นต้น
見積書 mitsumorisho ใบเสนอราคา 取引先 torihikisaki บริษัทคู่ค้า 品名 hinmei ชื่อสินค้า 数量 suuryou จำนวน 手形 tegata เช็ค 値引き nebiki ส่วนลด 価格 kakaku ราคา 単価 tanka ราคาต่อหน่วย 現金決済 genkinkessai ชำระด้วยเงินสด 銀行振込 ginkoufurikomi ชำระเงินผ่านธนาคาร 支払方法 shiharaihouhou วิธีการชำระ 小計 shoukei ราคารวม / รวมเงิน
หากต้องทำงานในบริษัทญี่ปุ่น แน่นอนว่าจะต้องมีประโยคและสำนวนที่ใช้กันทั้งในบริษัทและนอกบริษัท เพราะหากพูดประโยคที่เคยเรียนทั่วๆ ไป ก็ถือว่ายังไม่สุภาพมากพอ วันนี้แอดมินจึงนำประโยคแสดงความเห็นด้วย สำหรับใช้ทั้งในบริษัทและนอกบริษัทมาฝากค่ะ
หลายท่านอาจจะเคยเห็นว่าเวลาประเทศญี่ปุ่นเกิดภัยพิบัติ เช่น สึนามิหรือแผ่นดินไหว คนญี่ปุ่นจะมีการใช้แผ่นป้ายชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า 安否札(anpifuda) 安否札(あんぴふだ)คือ แผ่นป้ายที่คนญี่ปุ่นใช้แขวนหรือติดตรงหน้าบ้าน เพื่อเป็นการแจ้งแก่ผู้คนหรือเจ้าหน้าที่ ว่าคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ได้หลบหนีไปยังที่ปลอดภัยแล้ว ซึ่งการทำแบบนี้ถือเป็นการช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำการค้นหาผู้ประสบภัยได้ง่ายขึ้นมาก เพื่อให้เด็กเยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของ anpifuda โรงเรียนมัธยมต้นในประเทศญี่ปุ่นจึงจัดกิจกรรม ให้นักเรียนได้ฝึกออกแบบและทำแผ่นป้าย anpifuda ด้วยตัวเอง คำว่า 安否札 (あんぴふだ) มาจากคำว่า 安否 (anpi) ที่แปลว่า ความปลอดภัย และ 札 (fuda) ที่แปลว่า แผ่นป้าย
ถ้าพูดถึงเมนู “แกง” ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว แอดมินเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะต้องนึกถึงแกงกะหรี่ (カレー karee) เป็นอันดับแรกอย่างแน่นอน หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้ว ว่าแกงกะหรี่ไม่ใช่อาหารของประเทศญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เกิดจากการนำเข้ามาจากประเทศอื่น แต่จะเป็นประเทศอะไรล่ะ? บางท่านอาจคิดว่าต้องมาจากประเทศอินเดียแน่นอน เพราะแกงกะหรี่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสมหลัก และถ้าพูดถึงเรื่องเครื่องเทศ ก็ต้องเป็นประเทศอินเดียที่ขึ้นชื่อในเรื่องเครื่องเทศอยู่แล้วสิ แต่จริงๆ แล้วแกงกะหรี่ญี่ปุ่นไม่ได้รับมาจากประเทศอินเดีย แต่มาจาก “ประเทศอังกฤษ” ต่างหาก ย้อนกลับไปในช่วงปี 1700 ชาวอังกฤษที่เดินทางมายังประเทศอินเดียได้นำเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “มาซาลา” กลับไปยังประเทศอังกฤษ และนำไปปรับสูตรเป็นของตัวเอง ซึ่งคำว่า “Curry” ในภาษาอังกฤษ ก็มาจากคำว่า “Kari” ที่เป็นภาษาพื้นเมืองของอินเดียทางตอนใต้ ซึ่งมีความหมายว่า “น้ำซุป, น้ำซอส” หลังจากนั้นในช่วงปี 1800-1900 แกงกะหรี่ก็กลายเป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่น จึงเกิดเมนูที่เรารู้จักกันดีอย่างข้าวแกงกะหรี่ (カレーライス kareeraisu) ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา แล้วนำมาประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นเมนูใหม่ๆ เช่น อุด้งแกงกะหรี่ ขนมปังไส้แกงกะหรี่ เป็นต้น
สวัสดีเพื่อนๆ ชาว WakuWaku ทุกคนนะคะ😄 วันนี้แอดมินจะมาแนะนำคันจิที่มีจำนวนเส้นเยอะและเขียนยากที่สุดค่ะ คันจิตัวนี้ อ่านว่า 煩悩 (ぼんのう-bonnou) เป็นคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา แปลว่า กิเลสตัณหาที่ทำให้เกิดความทุกข์ค่ะ คันจิตัวนี้ มีจำนวนเส้นทั้งหมด 108 เส้น และตรงกับคำกล่าวของคนญี่ปุ่นที่ว่า ความทุกข์ของคนเรา มี 108 อย่างนั่นเองค่ะ ซึ่งคันจิตัวนี้ต้องเขียนมือเท่านั้นนะคะ พิมพ์หายังไงก็ไม่มีขึ้นให้แน่นอนค่ะ ใครอยากลองเขียนดูก็อาจจะตาลายนิดหน่อยนะคะ เพราะเส้นเยอะเกิน🤣