Tag Archives: องค์กรญี่ปุ่น

4 พฤติกรรมของคนเมาที่คนญี่ปุ่นคิดว่ารับมือได้ยาก

      Comments Off on 4 พฤติกรรมของคนเมาที่คนญี่ปุ่นคิดว่ารับมือได้ยาก

4 พฤติกรรมของคนเมาที่คนญี่ปุ่นคิดว่ารับมือได้ยาก มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

รู้จักกับ คิวบะจุตสึการขึ่ม้ายิงธนู ที่ส่งผลต่อมารยาททางสังคมของคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน

      Comments Off on รู้จักกับ คิวบะจุตสึการขึ่ม้ายิงธนู ที่ส่งผลต่อมารยาททางสังคมของคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน

รู้จักกับ คิวบะจุตสึการขึ่ม้ายิงธนู ที่ส่งผลต่อมารยาททางสังคมของคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย คิวบะจุตสึ (弓馬術) ประกอบด้วยตัวคันจิสามตัว ได้แก่ ยูมิ (弓) ที่แปลว่าธนู อุมะ (馬) ที่แปลว่าม้า และ วาซะ (術) ที่แปลว่าศาสตร์ พอเอามารวมกันแล้วจะแปลได้ว่าศาสตร์การขี่ม้ายิงธนูนั่นเอง คิวบะจุตสึนี้เป็นศาสตร์การต่อสู้โบราณของญี่ปุ่นที่ผู้ฝึกจะต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมาก และมีไม่กี่ที่เท่านั้นที่สามารถฝึกสอนได้ วันนี้เราจะพาไปรู้จักศาสตร์การขี่ม้ายิงธนูแขนงโอกะซะวาระริว หรือ โอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึ (小笠原流弓馬術) ซึ่งถือเป็นแขนงหลักอันสำคัญของคิวบะจุตสึ นอกจากนี้ วิถีการฝึกฝนของโอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึยังส่งผลถึงท่าทางและมารยาททางสังคมของคนญี่ปุ่นในปัจจุบันอีกด้วย ศาสตร์การต่อสู้จะเกี่ยวกับมารยาททางสังคมได้อย่างไร เราไปดูกัน  โอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึ คิดค้นขึ้นในสมัยคามาคุระ โดยโอกะซะวาระ นางะคิโยะ ต้นตระกูลนามสกุลโอกะซะวาระ เมื่ออายุได้ 26 ปี โอกะซะวาระ นางะคิโยะ ได้เป็นอาจารย์ผู้สอนคิวโฮ (糾方) หรือวิธีการเคารพและทักษะในการฝึกคิวบะจุตสึ และลูกหลานของเขาก็ได้สืบทอดศาสตร์แขนงนี้มารุ่นต่อรุ่น จนมีการจดบันทึกและรวบรวมศาสตร์ดังกล่าวออกมาเป็นหนังสือชื่อชูชินรง (修身論) และไทโยรง (体用論) ซึ่งได้กลายเป็นพื้นฐานการฝึกฝนที่ใช้กันในปัจจุบัน ในสมัยเมจิ มีการก่อตั้งโรงฝึกวิธีการเคารพของคิวบะจุตสึ และมีการเพิ่มวิธีการเคารพเหล่านี้ลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนสตรีในญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นมารยาททางสังคมที่พึงปฏิบัติในปัจจุบัน  การฝึกฝนโอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึนั้น ขอบอกว่าไม่ง่ายเลย เพราะผู้ฝึกต้องขัดเกลาทักษะด้วยกัน… Read more »

นามะฮาเกะ ประเพณียักษ์เยี่ยมบ้านแห่งจัดหวัดอาคิตะ

      Comments Off on นามะฮาเกะ ประเพณียักษ์เยี่ยมบ้านแห่งจัดหวัดอาคิตะ

นามะฮาเกะ ประเพณียักษ์เยี่ยมบ้านแห่งจัดหวัดอาคิตะ มีความหมายว่าอย่างไรนั้นไปดูกันเลย หากพูดถึงประเพณีท้องถิ่นชื่อดังของจังหวัดอาคิตะล่ะก็ อันดับแรกที่ชาวญี่ปุ่นหลายๆ ท่านจะนึกถึงคงหนีไม่พ้น “นามะฮาเกะ” ซึ่งเป็นเป็นประเพณีอันมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ในปี 2018 ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (intangible cultural heritage) จากยูเนสโกอีกด้วย แต่เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายท่านที่ยังไม่เคยไปเยือนจังหวัดอาคิตะ อาจจะยังไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อเทศกาลนี้มาก่อน ดังนั้น ในวันนี้ เราจะไปทำความรู้จักกับเทศกาลอันมีชื่อเสียงโด่งดังนี้กันครับ นามะฮาเกะ คือประเพณีท้องถิ่นของชาวเมืองโอกะ จังหวัดอาคิตะ ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน เมื่อเข้าสู่ค่ำคืนของวันสิ้นปี เหล่านักแสดงของหมู่บ้านจะสวมชุดฟางและสวมหน้ากากยักษ์ที่มีหน้าตาดุร้ายซึ่งมีนามว่านามะฮาเกะ พร้อมทั้งควงมีดปังตอที่ทำจากไม้และตระเวนไปตามบ้านหลังต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนคนในบ้าน เริ่มแรก ผู้ทำหน้าที่ที่เรียกว่า “ซะกิดาจิ (先立)” จะเข้าไปตรวจสอบตามบ้านหลังต่างๆ ก่อนว่า สามารถให้ยักษ์นามะฮาเกะเข้าไปเยี่ยมเยียนได้หรือไม่ เนื่องจากมีธรรมเนียมว่า หากในปีนั้นบ้านหลังใดมีคนป่วย หรือประสบเคราะห์กรรมต่างๆ ก็จะไม่เข้าไปเยี่ยมเยียนบ้านหลังนั้น เมื่อทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว เหล่าบรรดายักษ์นามะฮาเกะก็จะเดินเข้าสู่ตัวบ้าน พร้อมทั้งส่งเสียงคำรามอันแสนน่าหวาดกลัว บางทีอาจตะโกนข่มขู่คนในบ้านว่า “บ้านหลังนี้มีเด็กคนไหนร้องไห้อยู่มั้ย !!!! บ้านหลังนี้มีคนขี้เกียจอยู่มั้ย !!!!” หลังจากนั้นก็จะเดินควงมีดปังตอไปตามส่วนต่างๆ ของบ้าน และเนื่องจากเครื่องแต่งกายที่ดูน่ากลัวประกอบกับการแสดงที่ดูสมจริง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กๆ ซึ่งอยู่ภายในบ้านจะร้องไห้ด้วยความหวาดกลัว แม้กระทั่งผู้ใหญ่เองก็อาจขวัญหนีดีฝ่อได้เหมือนกัน ในส่วนของเจ้าบ้านก็จะจัดเตรียมเหล้าและอาหารไว้เลี้ยงรับรองเหล่าบรรดายักษ์ที่เดินทางมาเยี่ยมเยียน หลังจากนั้นยักษ์นามะฮาเกะก็จะสนทนาถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของครอบครัว เมื่อจบการสนทนาแล้ว ยักษ์นามะฮาเกะก็จะอวยพรให้คนในบ้านพบเจอแต่สิ่งดีๆ มีสุขภาพแข็งแรง… Read more »

รู้จักกับโรงเรียนสอนวิญญาณแห่งความเป็นมิโกะ

      Comments Off on รู้จักกับโรงเรียนสอนวิญญาณแห่งความเป็นมิโกะ

รู้จักกับโรงเรียนสอนวิญญาณแห่งความเป็นมิโกะ จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ญี่ปุ่นคือหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมากต้องแสวงหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยหนึ่งในอาชีพเสริมที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้หญิงก็คืออาชีพมิโกะนั่นเอง คุณโมโมยะมะ คิโยชิ ผู้สืบทอดรุ่นที่ 7 แห่งศาลเจ้าเนไกโนะมิยะ จังหวัดโอซาก้า จึงได้เปิดโรงเรียนสอนการเป็นมิโกะขึ้นที่ศาลเจ้าของตนเอง เพื่อฝึกหัดหญิงเหล่านั้นให้เป็นมิโกะที่สมบูรณ์แบบ ว่าแต่ที่โรงเรียนมิโกะแห่งนี้เค้าทำการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง และเหตุใดหญิงที่ใฝ่ฝันจะเป็นมิโกะจึงควรมาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ เราจะไปฟังคำตอบจากคุณโมโมยะมะ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้กันครับ ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับโรงเรียนแห่งนี้ ผมจะขอแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกับมิโกะสักเล็กน้อย มิโกะ คือ หญิงสาวที่สวมเครื่องแต่งกายสีขาวแดง ทำหน้าที่จำหน่ายเครื่องราง คอยต้อนรับดูแลผู้คนที่เข้ามากราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจ้าชินโต และยังทำหน้าที่แสดงระบำคากุระ หรือระบำบวงสรวงเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาชินโตอีกด้วย คุณโมโมยะมะกล่าวว่า วัตถุประสงค์ที่ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นมา ไม่ใช่แค่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นมิโกะที่สมบูรณ์แบบเพียงอย่างเดียว แต่เรามุ่งมั่นให้ผู้เรียนกลายเป็นบุคลากรอันทรงคุณค่าของสังคมด้วย โดยที่โรงเรียนแห่งนี้จะมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของศาสนาชินโต และยังมีการฝึกภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการทำพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของศาสนาชินโตอีกด้วย คุณโมโมยะมะกล่าวต่อว่า การเป็นมิโกะไม่ใช่เพียงแค่การสวมเครื่องแต่งกายของมิโกะเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้จิตวิญญาณแห่งการเป็นมิโกะให้ถ่องแท้ด้วย ซึ่งจิตวิญญาณที่ว่านั้นก็คือ หลักคำสอนสามประการของศาสนาชินโตที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ ได้แก่ การเคารพบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษการระลึกถึงชีวิตที่เทพเจ้าได้มอบให้ และการใช้ชีวิตให้มีความสุขโดยระลึกถึงคุณงามความดีของเทพเจ้าอยู่เสมอในการทำงานหรือการใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่มักพึ่งพาแต่ตัวเองโดยไม่เคยหันมองผู้คนที่อยู่รอบกาย แต่หากได้เรียนรู้จิตวิญญาณแห่งการเป็นมิโกะแล้ว ความคิดและมุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆ ก็จะกว้างขึ้น และยังส่งผลให้ตัวผู้เรียนเริ่มหันมาใส่ใจผู้คนและสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบกายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม แน่นอนว่าอาจมีคนญี่ปุ่นหลายท่านที่ไม่ได้นับถือศาสนาอะไรเลย แต่ความจริงแล้วศาสนาชินโตคือศาสนาที่กำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น หลักคำสอนต่างๆ จึงแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นทุกคนอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เรามักได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ต้องมีใครสักคนเห็นการกระทำของเราอยู่แน่ๆ ดังนั้น จงทำแต่เรื่องดีๆ เถอะ”… Read more »

รู้จักดวงดาว 2 ดวงซึ่งเกี่ยวข้องกับเทศกาลทานาบาตะ

      Comments Off on รู้จักดวงดาว 2 ดวงซึ่งเกี่ยวข้องกับเทศกาลทานาบาตะ

รู้จักดวงดาว 2 ดวงซึ่งเกี่ยวข้องกับเทศกาลทานาบาตะ มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย ทุกวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดของทุกปี (ปัจจุบันคือวันที่ 7 เดือนกรกฎาคม) ในญี่ปุ่นจะมีเทศกาลชื่อว่า ทานาบาตะ (七夕) หรือเทศกาลแห่งดวงดาว ซึ่งในวันนี้จะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น เขียนคำอธิฐานแล้วนำไปผูกไว้กับกิ่งไผ่ที่จัดไว้ตามสถานที่ต่างๆ การรับประทานโซเม็ง และการไปเที่ยวงานเทศกาลทานาบาตะ เป็นต้น มารู้ตำนานของเทศกาลทานาบาตะและดวงดาวที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้กัน ทานาบาตะเป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนโดยมีตำนานความเชื่อว่าดาวสองดวง ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าหญิงนักทอผ้าธิดาของเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า คือ โอริฮิเมะ (Orihime) และชายเลี้ยงวัว คือ ฮิโกโบชิ (Hikoboshi) ได้พบรักและแต่งงานอยู่กินกันอย่างมีความสุขจนลืมทำหน้าที่ของตน เจ้าหญิงละเลยหน้าที่ไม่ทอผ้าให้ผู้เป็นบิดา ส่วนฮิโกโบชิก็ไม่ยอมไปเลี้ยงวัว ทำให้วัวเดินเพ่นพ่านไปทั่ว สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนบนแดนสวรรค์ เมื่อเทพเจ้าแห่งท้องฟ้ารู้เข้าก็โกรธมากและสั่งทำโทษทั้งคู่ให้พรากจากกันตลอดกาลโดยมีแม่น้ำสวรรค์หรือทางช้างเผือกกั้นขวางทั้งคู่ไว้ อย่างไรก็ดี ด้วยความสงสารธิดา เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าทรงอนุญาตให้ทั้งคู่มาพบกันได้เพียงปีละ 1 ครั้ง คือ ค่ำคืนของวันที่เจ็ดเดือนเจ็ด ที่ทั้งคู่ต้องเดินทางข้ามแม่น้ำแห่งสวรรค์ที่ชื่ออามาโนะกาวาเพื่อมาพบกัน ทุกปีฝูงนกกางเขนอาสาใช้ปีกเป็นสะพานให้เจ้าหญิงเดินข้ามไปพบคนรัก หากปีไหนที่ฝนตกฝูงนกกางเขนไม่สามารถมาพาเจ้าหญิงข้ามแม่น้ำแห่งสวรรค์ได้ ทั้งคู่ก็จะต้องรออีกปีเพื่อพบกัน วันนี้จึงเป็นวันที่คนญี่ปุ่นอธิษฐานขอให้อากาศดีเพื่อให้ดาวทั้งคู่ได้โคจรมาพบกันอย่างสมหวังตามที่รอคอย เมื่อขอพรให้เจ้าหญิงและชายคนรักแล้ว คนญี่ปุ่นก็ถือโอกาสขอพรให้ตัวเองและครอบครัวสมหวังในเรื่องต่างๆ ไปด้วย ดาวบนท้องฟ้าที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ได้แก่ ดาวเวกา (Vega, ベガ) ตัวแทนของเจ้าหญิงโอริฮิเมะ เป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างสุกใสเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มดาวพิณและสว่างเป็นอันดับ 4 บนท้องฟ้า ดาวดวงนี้เคยเป็นดาวเหนือของโลกเมื่อ… Read more »

รู้จักสาเกต่างๆ ในวัฒนธรรมการดื่มของญี่ปุ่น

      Comments Off on รู้จักสาเกต่างๆ ในวัฒนธรรมการดื่มของญี่ปุ่น

รู้จักสาเกต่างๆ ในวัฒนธรรมการดื่มของญี่ปุ่น มีอะไรบ้างไปดูกันเลย หลาย ๆ ท่านที่รับชมสื่อจากญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ละคร หรือการ์ตูน อาจจะคุ้นชินกับฉากร้านอาหารที่จะต้องมีเหล้าเบียร์เครื่องดื่มมึนเมาต่าง ๆ ประกอบอยู่ในฉากอยู่บ่อย ๆ ราวกับเป็นวิถีชีวิตประจำวันปกติของชาวญี่ปุ่น ซึ่งก็ต้องขอยืนยันว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบนี้เป็นวิถีชีวิตหนึ่งของญี่ปุ่นจริง ๆ ถึงขั้นมีคำศัพท์ว่า “โนะมินิเกชั่น (飲みニケーション)” ที่แปลว่า การสื่อสารโดยการดื่ม กันเลยทีเดียว โนะมินิเกชั่นมีรากศัพท์จาก โนะมุ (飲む) ที่แปลว่าดื่ม และ นิเกชั่น จากคำว่า คอมมิวนิเกชั่น (Communication) ที่มีความหมายว่าการสื่อสาร เนื่องจากสังคมญี่ปุ่นมีความผูกมัดและระเบียบเคร่งครัด เมื่อเลิกงานแล้วการไปดื่มให้มึนเมาจึงทำให้เปิดอกคุยกันได้มากขึ้นกว่าสถานที่ที่เป็นทางการอย่างในบริษัท การโนะมินิเกชั่นจึงเป็นพื้นที่สำหรับสร้างสัมพันธภาพที่ดีขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน และเปิดอกคุยกันในหลายเรื่อง ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า สาเก (ออกเสียงญี่ปุ่นว่า ซะเกะ: 酒) ที่จริงคำนี้มี 2 ความหมาย ความหมายกว้าง ๆ หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่ถ้าความหมายแคบจะหมายถึงเหล้าญี่ปุ่น หรือที่เรียกอีกอย่างว่า นิฮนชุ (日本酒) ปรากฏการณ์คล้ายกับคำว่า “เนื้อ” ในภาษาไทย ถ้าเป็นคนกินเจหรือมังสวิรัติ เนื้อจะมีความหมายกว้าง ๆ ว่าเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่ถ้าความหมายแคบจะหมายถึงเนื้อวัวนั่นเอง การจะเข้าใจสังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะสังคมคนทำงาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์จึงจำเป็นมาก เรามาดูชนิดของเครื่องดื่มที่ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มกัน… Read more »

3 สิ่งที่แตกต่างระหว่างพระไทยกับพระญี่ปุ่น

      Comments Off on 3 สิ่งที่แตกต่างระหว่างพระไทยกับพระญี่ปุ่น

3 สิ่งที่แตกต่างระหว่างพระไทยกับพระญี่ปุ่น มีอะไรบ้างไปดูกันเลย เนื่องจากต่างนิกายกัน หลักคำสอนหรือการปฏิบัติตนก็ย่อมต้องมีข้อที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน อย่างพระสงฆ์ของไทยกับพระสงฆ์ญี่ปุ่นนั้นถ้านอกจากเรื่องการแต่งกายแล้ว หลักปฏิบัติบางข้อยังแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอีกด้วย เนื้อหาบทความที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะช่วยให้ทุกคนได้เห็นภาพมากขึ้นด้วย โดยแบ่งเป็น 3 เรื่องหลักๆ ได้ดังนี้ เมื่อครั้งหนึ่งผู้เขียนได้เคยดูจากเอนิเมะและเห็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเรียกพระสงฆ์ว่าพ่อ ตอนนั้นก็นึกว่าเป็นสรรพนามเรียกทั่วไปเหมือนกับวิธีเรียกบาทหลวงของศาสนาคริสต์เสียอีกค่ะ (^-^”) พอดูไปดูมาถึงรู้ว่าพระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นเขาแต่งงานมีลูกและสามารถใช้ชีวิตอยู่บ้านเดียวกันกับครอบครัวได้! ต่างจากพระสงฆ์ไทยที่ไม่เพียงแค่แต่งงานไม่ได้ แต่การถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิงนั้นยังถือเป็นเรื่องต้องห้าม ตอนเรียนมัธยมปลายผู้เขียนเคยพาคุณครูหนุ่มญี่ปุ่นขี้สงสัยคนหนึ่งไปเที่ยว เมื่อพาขึ้นรถไฟใต้ดิน เขาก็เอะใจกับป้าย Priority Seat หรือที่นั่งพิเศษ ซึ่งเขาสงสัยมากๆ ว่าทำไมต้องจัดที่นั่งให้พระสงฆ์ด้วยล่ะ?? เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ แต่มีวัตถุประสงค์อื่นแฝงอยู่ด้วยหรือเปล่านะ..? แน่นอนว่าผู้หญิงไทยก็แทบจะไม่เข้าใกล้ที่นั่งพิเศษตรงนั้นเลย ซึ่งก็ช่วยกำหนดระยะห่างระหว่างพระสงฆ์กับผู้หญิงได้ด้วย ดังนั้นอีกวัตถุประสงค์ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หญิงถูกตัวพระสงฆ์โดยไม่ได้ตั้งใจในพื้นที่แออัดอย่างบนรถไฟนั่นเองค่ะ ย้อนไปในสมัยคามาคุระ มีพระรูปหนึ่งชื่อว่าชินรัน (ค.ศ. 1173-262) ผู้ก่อตั้งนิกายขึ้นใหม่ในชื่อ “นิกายโจโดะ” ซึ่งหลักคำสอนคือ เพียงเชื่อในพระอามิตาพุทธก็สามารถขึ้นสวรรค์ได้ และเนื่องจากพระชินรันผู้ก่อตั้งนิกายใหม่ได้แต่งงาน ดังนั้นในนิกายโจโดะจึงยอมรับเรื่องการแต่งงานมาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้วค่ะ พระชินรันได้ใช้ชีวิตในแบบที่ไม่ใช่พระสงฆ์เสียทีเดียว แต่ก็ไม่ใช่ฆราวาสเช่นกัน ซึ่งว่ากันว่าพระชินรันมีบุตรถึง 7 คนเลยด้วยค่ะ พระชินรันมีความคิดที่ว่า “หากมีความศรัทธาและอุทิศตัวตนทั้งหมดให้แก่พระอามิตาพุทธก็จะสามารถไปสู่สวรรค์ได้ หากปฏิบัติความดีด้วยตัวเองหรือด้วยการปฏิบัติธรรมก็ตาม ถือว่าการกระทำเหล่านั้นเป็นข้อพิสูจน์ว่าไม่ได้มีความเชื่อในพระอามิตาพุทธค่ะ ดังนั้นพระชินรันจึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องการถือศีลด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ในพุทธศาสนาของญี่ปุ่นเลยทีเดียวล่ะ” (Akira Ikegami นักข่าวและนักเขียนชาวญี่ปุ่นคิดว่า ถ้าเช่นนั้นพุทธศาสนาคืออะไรกัน? สำนักพิมพ์ Asukashinsha) ด้วยเหตุนี้เอง ช่วงสมัยเอโดะจึงเพียงพระของนิกายโจโดะเท่านั้นที่สามารถแต่งงานได้ ส่วนการที่พระทุกรูปทั่วประเทศญี่ปุ่นสามารถแต่งงานได้นั้นเพิ่งเริ่มในสมัยเมจิค่ะ ทางรัฐบาลเมจิยอมรับการแต่งงานของพระสงฆ์… Read more »

ทะคุอัน ไชเท้าดองที่เขาว่าพระญี่ปุ่นเป็นผู้คิดประดิษฐ์ทำ

      Comments Off on ทะคุอัน ไชเท้าดองที่เขาว่าพระญี่ปุ่นเป็นผู้คิดประดิษฐ์ทำ

ทะคุอัน ไชเท้าดองที่เขาว่าพระญี่ปุ่นเป็นผู้คิดประดิษฐ์ทำ มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย หัวไชเท้าดองสีเหลือง ญี่ปุ่นเรียกว่า “ทะคุอัน” ที่ญี่ปุ่นนั้นร้านข้าวกล่องหลายๆ ร้านเขาก็เอาเจ้าทะคุอันเนี่ยมาหั่นเป็นแผ่นๆ ใส่เป็นเครื่องเคียงก็มี แล้วก็บางทีเวลาที่ผู้เขียนได้ไปกินร้านอาหารเกาหลีบางร้านเขาก็ยกหัวไชเท้าดองสีเหลืองๆ อย่างทะคุอันมาเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียงด้วยเหมือนกัน วันนี้ก็เลยอยากจะขอพูดถึงเรื่องราวของมันหน่อยนะครับ “ทะคุอัน” (たくあん หรือ ทะคุวัน たくわん) หรือจริงๆ แล้วอาจเรียกชื่อเต็มๆ ว่า ทะคุอันซึเคะ (沢庵漬け) นั้น เรื่องเล่าหนึ่งซึ่งมีคนพูดถึงกันมากก็คือเรื่องที่ว่าพระที่ชื่อ ทะคุอัน โซโฮ (沢庵宗彭) ซึ่งเป็นพระในนิกายรินไซ เป็นผู้คิดขึ้นในต้นสมัยเอโดะ แต่คนที่ตั้งชื่อผักดองนี้ว่า “ทะคุอันซึเคะ” นั้น กลับเป็นโทคุกาวะ อิเอมิตสึ โชกุนคนที่สามแห่งตระกูลโทคุกาวะ แต่บางตำนานก็บอกว่าชื่อ “ทะคุอันซึเคะ” นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า “จาคุอันซึเกะ” ที่แปลว่า “ของที่ไม่ตั้งใจจะประสม” ก็มี ซึ่งต่อมาผักดองแบบนี้ก็เป็นที่แพร่หลายจากเอโดะไปถึงเกียวโตและคิวชูด้วย กรรมวิธีแบบดั้งเดิมคือเอาหัวไชเท้าตากแดดสักหลายวันหรือหลายสัปดาห์ จากนั้นจึงเอาหัวไชเท้าที่ตากแล้วมาหมักในรำข้าวและเกลือสักหนึ่งเดือนหรือหลายๆ เดือน อาจเติมสาหร่ายคอมบุ พริกป่น หรือเปลือกลูกพลับเพื่อปรุงรสด้วยก็ได้ การหมักด้วยรำข้าวนี่แหละที่ทำให้หัวไชเท้ากลายเป็นสีออกเหลือง แต่ทะคุอันที่ขายในท้องตลาดทุกวันนี้ทำโดยการเอาไชเท้ามาขยำเกลือเพื่อไล่น้ำในเนื้อไชเท้าแทนการตากแดด อันนั้นรสชาติและรสสัมผัสจึงไม่เหมือนกับทะคุอันแบบดั้งเดิม แถมบางทีก็ใส่เครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มรสหวานหรือรสอูมามิ หรือเจือสีสังเคราะห์อีกด้วย ตามรสนิยมของคนสมัยใหม่ที่ชอบกินหวานไม่ชอบกินเค็ม แต่ทั้งนี้ ในคาบสมุทรมิอุระ หรือภูมิภาคอิเสะของจังหวัดมิเอะ จังหวัดโทคุชิมะ ยังคงผลิตทะคุอันด้วยกรรมวิธีดั้งเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งกลายเป็นสินค้ามีชื่อที่คนต้องการ… Read more »

ต้นกำเนิดของยากินิคุหรือเนื้อย่างในประเทศญี่ปุ่น

      Comments Off on ต้นกำเนิดของยากินิคุหรือเนื้อย่างในประเทศญี่ปุ่น

ต้นกำเนิดของยากินิคุหรือเนื้อย่างในประเทศญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ยากินิคุ หรือ เนื้อย่าง เป็นหนึ่งเมนูชื่อดังของญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าใครที่เคยไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นต้องเคยลองแน่นอน และยังเป็นเมนูสุดโปรดของผู้เขียนที่ไปญี่ปุ่นทีไร ต้องมีเข้าร้านเนื้อย่างอย่างน้อย 1 ครั้ง ว่าแต่เมนูแสนอร่อยนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่นหรือเกาหลีกันแน่? ไปหาคำตอบกันเลยดีกว่า มีเรื่องเล่าว่าคนญี่ปุ่นสมัยโบราณไม่นิยมทานเนื้อสักเท่าไหร่ ในช่วงก่อนสมัยเอโดะ คนญี่ปุ่นจะทานเนื้อเป็นยามากกว่าที่จะทานเป็นอาหาร พอเข้าสู่สมัยเมจิ วัฒนธรรมการทานเนื้อจากตะวันตกจึงได้เข้ามาในญี่ปุ่น แต่ว่าผู้คนสมัยนั้นก็ยังต่อต้านการทานเนื้ออยู่ดี ตั้งแต่สมัยเมจิจนถึงปัจจุบัน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สุกิยากิ ชาบูชาบู ทงคัตสึ และนิคุจากะ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่พัฒนามาจากอาหารหม้อไฟเนื้อ แต่ถ้าลองสังเกตดูดีๆ เมนูเหล่านี้ล้วนเป็นเมนูต้มทั้งนั้น ไม่มีเมนูไหนที่ปรุงด้วยการย่างเลย ซึ่งดูเหมือนว่าวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นจะนิยมนำเนื้อมาต้มมากกว่าย่าง แต่แล้วในช่วงหลังสงคราม “ยากินิคุ” ก็กลายเป็นเมนูที่ชาวญี่ปุ่นนิยมมากขึ้น สำหรับการปรุงเนื้อสัตว์แบบย่างนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดมาพร้อมกับช่วงที่มนุษย์ค้นพบไฟในช่วงแรกๆ ซึ่งผู้คนทั่วโลกต่างก็ทานเมนูที่ปรุงเนื้อสัตว์ด้วยการย่าง โดยเฉพาะชาติตะวันตกที่มีทั้งเมนูเนื้อสเต๊กหรือเนื้อบาร์บีคิวที่ปรุงอาหารด้วยการย่าง ส่วนเนื้อย่างที่เราเห็นในญี่ปุ่นปัจจุบันนั้นได้แพร่หลายหลังสงคราม ซึ่งผู้ที่นำวัฒนธรรมอาหารนี้เข้ามาก็คือคนเกาหลีที่เข้ามาที่ญี่ปุ่นช่วงก่อนและหลังสงครามนั่นเอง แต่ทั้งนี้ดูเหมือนว่ายากินิคุที่ทานคู่กับซอสนั้นจะไม่มีในเกาหลี แต่เดิม “ยากินิคุ” เป็นอาหารที่ผู้คนในคาบสมุทรเกาหลีเรียกว่า “โบนิอานิ” ซึ่งหมายถึงการนำเนื้อสัตว์ลงไปจุ่มในซอสที่ผสมด้วยซอสถั่วเหลือง น้ำมันงา น้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆ จากนั้นจึงนำไปย่างบนไฟ ตั้งแต่สมัยโบราณบนคาบสมุทรเกาหลี เนื้อสัตว์ที่จุ่มในซอสนี้จะถูกย่างในห้องครัวและนำเสิร์ฟบนจานให้ลูกค้า แต่ทว่าในปัจจุบันการทานเนื้อย่างได้เปลี่ยนไปเป็นการนำเนื้อไปย่างบนเตา จากนั้นค่อยจุ่มซอสแล้วรับประทานอย่างที่พวกเราทานกันในสมัยนี้ ส่วนยากินิคุในคาบสมุทรเกาหลีปัจจุบัน จะไม่เรียกว่า “โนบิอานิ” แต่จะเป็นคำว่า “บุลโกกิ” (ในภาษาเกาหลีแปลว่าเนื้อย่าง)… Read more »

ความเป็นมาของขนมดังโงะและเรื่องที่ว่าทำไมต้องกลมๆ แล้วเสียบไม้เหมือนลูกชิ้น

      Comments Off on ความเป็นมาของขนมดังโงะและเรื่องที่ว่าทำไมต้องกลมๆ แล้วเสียบไม้เหมือนลูกชิ้น

ความเป็นมาของขนมดังโงะและเรื่องที่ว่าทำไมต้องกลมๆ แล้วเสียบไม้เหมือนลูกชิ้น ความเป็นมาของขนมดังโงะและเรื่องที่ว่าทำไมต้องกลมๆ แล้วเสียบไม้เหมือนลูกชิ้น มีที่มาอย่างไรไปดูกันเลย นิยามของขนมดังโงะคืออะไร? ขนมดังโงะหมายถึง ขนมที่ทำจากการเอาแป้งมาใส่น้ำหรือน้ำร้อนแล้วก็เอามานวดๆ คลึงๆ แล้วเอาไปนึ่งหรือลวกน้ำร้อนให้คงรูป สมัยโบราณธัญพืชชนิดไหนที่เอามาหุงกินเป็นเมล็ดไม่ได้เขาก็จะเอามาทำเป็นแป้งใส่น้ำแล้วนวด เอาไปปิ้งไปต้มกินเป็นอาหารหลักต่างข้าว เชื่อว่าคำว่าดังโงะ (団子) มีปรากฏมาตั้งแต่ยุคเฮอัน ในนิยาย “ชินซารุงาคุกิ” (新猿楽記) (แต่ยุคเฮอัน อ่านว่า ดันซุ คืออ่านเลียนเสียงจีน) ต่อมาคนที่ถูกส่งไปเรียนเมืองถัง (เมืองจีน) กลับมาก็เอาขนมเซ่นไหว้ที่เรียกว่า “ดังกิ” (団喜 ซึ่งเป็นการคลี่คลายมาจาก “ขนมโมทกะ” ของอินเดียมาอีกที) พอคนญี่ปุ่นเห็นมันเป็นแป้งกลมๆ เลยได้ทีเรียกว่า 団子 ซึ่งพอเข้ายุคมุโรมาจิ คำว่า 団子 คนก็อ่านเป็น “ดังโงะ” (คืออ่านอย่างครึ่งจีนครึ่งญี่ปุ่น) แล้วก็เริ่มมีการเอาขนมดังกิมาเสียบไม้ ยุคมุโรมาจินี่แหละที่เกิดมีดังโงะเสียบไม้ “รสโชยุ” ที่เรียกว่า “มิตาราชิดังโงะ” ขึ้นมา ขนมดังโงะแบบที่ไม่ได้เสียบไม้ จัดเป็นกองเอาไว้เซ่นไหว้เนี่ย ของญี่ปุ่นก็มีอย่าง ทสึคิมิดังโงะ (ดังโงะชมจันทร์ 月見団子) นะครับ มิตาราชิดังโงะนั้น ว่ากันว่าเริ่มจากการเป็นขนมเซ่นไหว้หน้าศาลเจ้าในช่วงเทศกาลศาลเจ้าชิโมกาโมะ (下鴨神社) ในเกียวโต มีเรื่องเล่าขานว่าเมื่อจักรพรรดิโกไดโกะ (後醍醐天皇) ตักน้ำในสระมิตาไร (御手洗池)… Read more »