Tag Archives: วัฒนธรรมญี่ปุ่น

Hō-Ren-Sō คืออะไร?

      Comments Off on Hō-Ren-Sō คืออะไร?

ในบริษัทญี่ปุ่น Hō-Ren-Sō หรือ โฮเรนโซ จะเป็นสิ่งที่พนักงานได้ยินเจ้านายญี่ปุ่นพูดอยู่บ่อย ๆ แต่ถึงไม่พูดเจ้านายทุกคนก็จะรู้กันอยู่แล้ว แล้ว “โฮเรนโซ” มันคืออะไรล่ะ? โฮเรนโซ เป็นคำย่อของคำสามคำที่นำมาต่อกันค่ะ นั่นก็คือ報告(houkoku) – การรายงาน 連絡(renraku) – การติดต่อ 相談(soudan) – การปรึกษา คนญี่ปุ่นจะจริงจังกับการให้พนักงานคอยรายงานความคืบหน้าของงานมาก ไม่ว่างานนั้นจะผ่านไปได้ด้วยดี หรือเกิดปัญหาขึ้นก็ตาม จะต้องมีการสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ เรียงลำดับขั้นตอนจะเป็น 1. รายงานผลงานกับเจ้านาย 報告(houkoku) 2. มีการติดต่อสื่อสารกับคนในทีมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้งานสามารถดำเนินไปได้อย่างเป็นระบบ คนในทีมจะได้รู้ว่าควรทำอะไรต่อ 連絡(renraku) 3. หากงานมีปัญหา หรือติดขัดตรงไหน ให้สอบถามกับเจ้านาย อย่าแก้ปัญหาคนเดียว 相談(soudan)

ภาษาญี่ปุ่น-วิธียื่นนามบัตรเวลาไปพบลูกค้า

      Comments Off on ภาษาญี่ปุ่น-วิธียื่นนามบัตรเวลาไปพบลูกค้า

อย่างแรก เราต้องรู้ก่อนว่าใครจะต้องเป็นฝ่ายยื่นนามบัตรก่อน? โดยปกติแล้วชั้นผู้น้อย หรือซัพพลายเออร์ที่ไม่ใช่ลูกค้า จะเป็นฝ่ายที่ยื่นนามบัตรและเอ่ยแนะนำตัวก่อนค่ะ วิธียื่น เมื่อหยิบนามบัตรของเราขึ้นมาเตรียมเรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นนามบัตรออกไปข้างหน้า จุดสำคัญที่ห้ามลืมเลยก็คือ การหันด้านนามบัตรให้เป็นด้านที่ลูกค้าอ่านออกค่ะ โดยให้ตำแหน่งของนามบัตรอยู่ต่ำกว่ามือของลูกค้าเล็กน้อย แล้วค่อยเอ่ยแนะนำตัวเองค่ะ วิธีพูดให้เอ่ยชื่อบริษัท + ชื่อหน่วยงาน + ชื่อของเรา + と申します。(to moushimasu) เมื่อพูดจบแล้วให้ยื่นนามบัตรไปบนกระเป๋าใส่นามบัตรของลูกค้า(เราและลูกค้าจะมีอยู่แล้ว) พร้อมกล่าวว่า どうぞよろしくお願い致します。(douzo yoroshiku onegai itashimasu) หรือ どうぞよろしくお願い申し上げます。(douzo yoroshiku onegai moushiagemasu) ก็ได้ค่ะ หลังจากมอบนามบัตรของเราให้ลูกค้าเสร็จแล้ว ลูกค้าก็จะยื่นนามบัตรของเขามาให้เราต่อค่ะ ให้เรารับนามบัตรไว้ด้านบนกระเป๋าใส่นามบัตรของเรา พร้อมกล่าวว่า 頂戴いたします。(choudai itashimasu) ตามด้วย どうぞよろしくお願い申し上げます。(douzo yoroshiku onegai moushiagemasu) ค่ะ

ที่มาของคำว่า “いただきます”

      Comments Off on ที่มาของคำว่า “いただきます”

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับการพูดคำว่า “いただきます” ที่แปลว่า “จะทานแล้วนะคะ/ครับ” ก่อนกินข้าวของคนญี่ปุ่นกันเป็นอย่างดี แล้วคำว่า “いただきます” มีที่มาที่ไปยังไงกันนะ? ตั้งแต่สมัยโบราณ คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับอาหารมาตลอด จะมีความคิดที่ว่าผัก, ผลไม้ และเนื้อสัตว์ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีชีวิต การที่เราบริโภคเข้าไป ก็เหมือนการรับชีวิตของสิ่งนั้น เพื่อมาต่อชีวิตของเราเอง ดังนั้น ก่อนที่คนญี่ปุ่นจะเริ่มทานอาหาร เลยจะกล่าวคำว่า “いただきます” เพื่อแสดงถึงความรู้สึกขอบคุณ ต่อสิ่งที่เขารับประทาน อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณ ถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหารนั้นๆ ด้วย เช่น คนทำอาหาร, เกษตรกร, ชาวประมง เป็นต้น

Oni ในเกม Phasmophobia เป็นผีเหรอ?

      Comments Off on Oni ในเกม Phasmophobia เป็นผีเหรอ?

Phasmophobia คือเกมที่จะให้ผู้เล่นทุกคนสวมบทบาทเป็นทีมล่าท้าผี ที่จะเข้าไปสำรวจสถานที่ต่างๆ ที่มีวิญญาณสิงสถิตอยู่ และผู้เล่นจะต้องเดินสำรวจเพื่อหาร่องรอย และทำการวิเคราะห์ออกมาให้ได้ ว่าวิญญาณที่อยู่ ณ ที่แห่งนั้นคือวิญญาณชนิดไหนกันแน่ ในเกมนี้จะมีผีหลายชนิดมากๆ ซึ่ง Oni ก็เป็นหนึ่งในนั้น จริงๆ แล้ว 鬼 (おに oni) ยักษ์ เป็นอสูรประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ภูติผีปีศาจ โดยภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า Yokai Oni เป็นยักษ์ตัวสูงใหญ่คล้ายมนุษย์ แต่มีหน้าตาที่น่ากลัว มีเขี้ยวเล็บ ผิวหนังสีแดง ส้ม หรือน้ำเงิน นุ่งเสื้อผ้าที่ทำจากหนังเสือ และมีอาวุธประจำตัวคือกระบองเหล็กขนาดใหญ่ ซึ่งชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า Oni จะนำพามาซึ่งโชคร้าย โรคภัย และความหายนะ

ตัวเลขเหล่านี้มีความหมายว่าอะไรในภาษาญี่ปุ่น?

      Comments Off on ตัวเลขเหล่านี้มีความหมายว่าอะไรในภาษาญี่ปุ่น?

Katana กับ Tachi ต่างกันอย่างไร?

      Comments Off on Katana กับ Tachi ต่างกันอย่างไร?

ดาบญี่ปุ่นมีการแบ่งประเภทเยอะแยะมากมาย แต่ดาบที่หลายคนอาจจะแยกไม่ออก หรือไม่รู้ว่ามันต่างกันยังไง แอดมินคิดว่าเป็น Katana กับ Tachi นี่แหละค่ะ 刀 (かたな) หรือ “ดาบคาตานะ” คำว่า “คาตานะ” เป็นการเรียกดาบที่มีคมดาบเพียงด้านเดียว ซึ่งมีการแยกประเภทออกไปอีกหลายชนิด ตามขนาดและลักษณะการใช้งานของแต่ละอัน ดาบคาตานะที่มีความยาวน้อยกว่าดาบ Tachi ไม่มากนัก จะเรียกว่า 打刀 (うちがたな) Uchigatana โดยความยาวจะอยู่ที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร (นับเฉพาะใบดาบ ไม่รวมด้ามดาบ) จุดเด่นของ Uchigatana คือเน้นความคล่องตัว ความโค้งของตัวดาบจะน้อยกว่า Tachi Uchigatana เป็นดาบที่พัฒนามาจากดาบ Tachi และได้มาแทนที่ Tachi ในช่วงกลางยุคมูโรมาจิ (ประมาณ ค.ศ. 1400) ส่วน 太刀 (たち) หรือ “ดาบทาจิ” เป็นดาบญี่ปุ่นในช่วงยุคแรกๆ ตัวดาบจะเน้นความยาว และมีความโค้งของใบดาบที่มากกว่า Uchigatana ดาบ Tachi จะถูกใช้มากในกองทหารม้า เพราะใบดาบที่ยาว จึงเหมาะสำหรับใช้ฟันศัตรูจากบนหลังม้า เพื่อเน้นระยะการโจมตี ความยาวของใบดาบจะอยู่ที่ประมาณ 70-80… Read more »

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น-การเลิกจ้าง

      Comments Off on คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น-การเลิกจ้าง

คำศัพท์เกี่ยวกับการจ้างงานทั้งหมด 8 คำ ได้แก่ 解雇する(kaikosuru) เลิกจ้าง 解約する(kaiyakusuru) ยกเลิกสัญญา 首する(kubisuru) ไล่ออก 解雇通知書(kaiko tsuuchisho) จดหมายแจ้งการเลิกจ้าง 解雇補償金(kaiko hoshoukin) เงินชดเชยการเลิกจ้าง 再雇用(saikoyou) การว่าจ้างใหม่ 雇い止め(yatoidome) การไม่ต่อสัญญาจ้าง 早期退職(soukitaishoku) การเกษียณก่อนกำหนด

สุนัขจิ้งจอกในเกม Ghost of Tsushima เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

      Comments Off on สุนัขจิ้งจอกในเกม Ghost of Tsushima เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ในเกม Ghost of Tsushima จะมีหลายครั้งที่เจ้าสุนัขจิ้งจอกขนฟูแสนน่ารักได้โผล่ออกมานำทางเราไปนู่นไปนี่อยู่ตลอด แต่…สุนัขจิ้งจอกมันเกี่ยวอะไรกับเกมนี้กันล่ะ? ถ้ากล่าวถึงในเนื้อเรื่องของเกมนี้ จะมีการพูดถึง “ข้าว” อยู่หลายครั้ง ทั้งในเควสหลักและเควสรอง เนื่องจากฉากในเกมเป็นช่วงสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับมองโกล (ค.ศ. 1274) สงครามที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการขาดแคลนอาหาร “ข้าว” จึงเป็นสิ่งมีค่าและหาได้ยากในช่วงนั้น “ข้าว” เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทพอินาริ “稲荷神 (いなりのかみ inarinokami、いなりしん inarishin)” เทพอินาริ เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ การเก็บเกี่ยวข้าว รวมไปถึงพืชผลไร่นาต่างๆ คอยมอบความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ไร่นาในสมัยโบราณ และมักจะมีสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์คู่กาย เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นปลูกข้าวเป็นหลัก เป็นผลให้เกษตรกรญี่ปุ่นในสมัยนั้นให้ความเคารพนับถือเทพอินาริเป็นอย่างมาก จึงมีศาลเจ้าที่เกี่ยวข้องกับเทพอินาริอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น และรูปปั้นสุนัขจิ้งจอกก็เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของศาลเจ้าอินาริด้วย แล้ว…สุนัขจิ้งจอกมีความเกี่ยวข้องกับเทพอินาริอย่างไรล่ะ? ในสมัยโบราณ สุนัขจิ้งจอก “狐 (きつね kitsune)” จะปรากฏตัวให้เห็นบริเวณหมู่บ้าน คอยจัดการหนูที่เป็นศัตรูพืชและข้าวในไร่นาของชาวบ้าน และการที่สีสันและรูปร่างของหางสุนัขจิ้งจอกมีความคล้ายคลึงกับรวงข้าว ชาวบ้านเลยพากันคิดว่า สุนัขจิ้งจอกเป็น “ผู้รับใช้” ของ เทพอินาริ บ้างก็เชื่อว่าสุนัขจิ้งจอกเป็น “ผู้ส่งสารและเป็นผู้นำทาง” ไปพบกับเทพอินาริ

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น-การจ้างงาน

      Comments Off on คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น-การจ้างงาน

คำศัพท์เกี่ยวกับการจ้างงานทั้งหมด 10 คำ ได้แก่ 雇う(yatou) จ้าง 雇用(koyou) การจ้างงาน 採用(saiyou) การรับเข้าทำงาน 仮採用(karisaiyou) การทดลองงาน 雇用契約(koyoukeiyaku) สัญญาจ้างงาน 募集する(boshuusuru) รับสมัครงาน 派遣社員(hakenshain) ลูกจ้างชั่วคราว 契約社員(keiyakushain) พนักงานสัญญาจ้าง 正社員(seishain) พนักงานประจำ 希望退職(kiboutaishoku) การเกษียณโดยสมัครใจ

ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับ ระดับความสนิทของเพื่อน

      Comments Off on ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับ ระดับความสนิทของเพื่อน

แอดมินแบ่งระดับความสนิทของเพื่อนเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 5 ที่มีความสนิทน้อยที่สุด ไปจนถึงระดับที่ 1 คือสนิทที่สุดค่ะ ระดับที่ 5 คือ 他人(tanin) คนอื่น ระดับที่ 4 คือ 知人(chijin) คนรู้จัก ระดับที่ 3 คือ 友達(tomodachi) เพื่อน ระดับที่ 2 คือ 友人(yuujin) เพื่อน(เป็นทางการมากกว่า 友達) ระดับที่ 1 คือ 親友(shinyuu) เพื่อนสนิท