5 เหตุผลทำไมของหายที่ญี่ปุ่นถึงได้คืนเสมอ เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เคยได้ยินไหมคะว่า ถ้าทำของหายที่ญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ก็มักจะได้รับคืน อาจจะมีคนที่โชคร้ายไม่ได้ของคืนบ้าง แต่ส่วนใหญ่หากแจ้งความที่ป้อมตำรวจ อาจจะต้องใช้เวลาสักเล็กน้อย แต่ก็จะได้คืนเสมอ นอกจากนี้ ในปี ๆ หนึ่งยังมีคนเก็บเงินได้แล้วนำมาส่งตามสถานีรถไฟหรือป้อมตำรวจต่าง ๆ ในจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ มาดูกันค่ะว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำของหายที่ญี่ปุ่น ก็มักจะได้คืนเสมอ เมื่อพูดถึงของหาย ก็ต้องนึกถึงตำรวจมาก่อนเลยใช่ไหมคะ ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นล่ะก็ ทุกคนจะนึกถึงป้อมตำรวจขึ้นมาก่อนเลยค่ะ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องปลอดภัยก็คือ ป้อมตำรวจค่ะ ข้อมูลจากกรมตำรวจนครบาลโตเกียวปี 2018 ภายในโตเกียวมีจำนวนสำนักงานตำรวจ 102 แห่ง จำนวนป้อมตำรวจ 824 แห่ง เมื่อมีตำรวจอยู่ใกล้ ๆ เวลาทำของหายหรือเก็บของได้ ก็ส่งคืนตำรวจได้ไม่ยาก เด็ก ๆ ที่ญี่ปุ่นจะได้รับการสอนมาตั้งแต่เล็ก ๆ ว่า ถ้าเก็บของได้ ให้เอาไปส่งคืนที่ป้อมตำรวจ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ทุกคนก็จะนึกภาพออกว่าต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง ง่าย รวดเร็ว แถมยังรู้สึกปลอดภัย อุ่นใจอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าที่ญี่ปุ่นอัตราการก่ออาชญากรรมต่ำมาก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วประเทศอื่น จากข้อมูลปี 2017 จำนวนคดีแจ้งความของหายทั่วประเทศมีถึง 1 ล้านคดี และมีจำนวนของที่เก็บได้ที่นำมาส่งกับตำรวจถึง 4 ล้านชิ้น… Read more »
ทำไมชุดจานหรือเครื่องแก้วในครัวญี่ปุ่นเป็น 5 ใบ ไม่ใช่ 6 ใบ เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย หลายครั้งที่ซื้อชุดจานหรือแก้วแล้วต้องสงสัยว่าทำไมต้องเป็นชุดจานหรือชุดแก้วที่มี 5 ใบ ไม่ใช่ 6 ใบ หรือ 12 ใบ เหมือนอย่างเมืองไทย มาดูเหตุผลกันนะคะ ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธจะมีสีและธาตุต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ สี 5 สี ( แดง ขาว ดำ เขียวและเหลือง) ทิศ 5 ทิศ (ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือและจุดศูนย์กลาง) และธาตุ 5 ชนิด (ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ) เป็นต้น หลัก 5 ของการปรุงอาหารคือการปรุงอาหารให้อร่อยและมีคุณค่าครบถ้วนทางโภชนาการต้องมีองค์ประกอบ 5 ได้แก่ สี 5 สี (ขาว แดง เหลือง เขียว ดำ หรือสีทึบ) ซึ่งบ่งบอกว่าอาหารที่รับประทานมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วย… Read more »
กาลเวลาที่เปลี่ยนไปกับวัฒนธรรมวาเลนไทน์ของญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย อีกไม่ถึง 1 สัปดาห์ ก็จะถึงวันแห่งความรัก 14 กุมภาวันวาเลนไทน์แล้วนะคะ สิ่งนึงที่หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นเขานิยมให้กันก็คือช็อคโกแลตแสนอร่อย เท่าที่เคยเห็นกันตามสื่อต่าง ๆ ก็มักจะเห็นว่าสาว ๆ จะเป็นคนทำช็อคโกแลตไปให้คนที่ชอบด้วยตัวเองกัน แต่จากผลการสำรวจพบว่า สมัยนี้เขาไม่นิยมทำช็อคโกแลตเองกันแล้วค่ะ! ผลการสำรวจหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศจำนวน 2,276 คน จากเว็บไซต์ Hikkoshizamurai เกี่ยวกับวันวาเลนไทน์พบว่า สาว ๆ ส่วนใหญ่มองว่าไปซื้อดีกว่า ส่วนหนุ่ม ๆ ส่วนใหญ่ก็มองว่าให้ซื้อมาดีกว่า แหม เข้ากันพอดีเลยนะคะ ที่ส่วนใหญ่มองว่าของซื้อดีกว่าของทำเอง อาจจะเป็นเพราะว่าในยุคสมัยนี้มีช็อคโกแลตสวย ๆ ให้เลือกซื้อเยอะแยะมากมาย แถมยังมีของขวัญวาเลนไทน์ที่หลากหลาย สาว ๆ ก็สามารถเลือกซื้อของที่เข้ากับหนุ่ม ๆ ได้ทันที ไม่เหมือนในอดีตที่ยังมีตัวเลือกไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม ของที่ทำเองก็อาจจะมีคุณค่ามากกว่าก็ได้นะคะ อยู่ที่เราจะมอง อีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจเหมือนกันก็คือเรื่องของการสารภาพรักในวันวาเลนไทน์ เมื่อลองถามทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย พบว่า สาว ๆ ที่เคยสารภาพรักในวันวาเลนไทน์มีเพียง 13% แต่หนุ่ม ๆ ที่เคยถูกสารภาพรักในวันวาเลนไทน์กลับมีถึง 40% ! ดูไม่เข้ากันเลยใช่มั้ยล่ะคะ เป็นไปได้ว่า ในวันวาเลนไทน์แต่ละปี ผู้หญิง… Read more »
ทำไมคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ของอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นมากกว่าบ้านเดี่ยว เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย ทำไมหนอ ทำไมคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นมากกว่าบ้านเดี่ยว… เหตุผลไม่ใช่เพียงเพราะว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศเล็กแต่มีจำนวนประชากรมากถึงร้อยกว่าล้าน แต่เหตุผลสำคัญของการเลือกอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์มากกว่าบ้านเดี่ยวมีดังนี้คือ 1. อพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นส่วนใหญ่ถูกสร้างและออกแบบเพื่อให้ครอบครัวพ่อแม่ลูกอาศัยอยู่ได้อย่างสบาย ๆ ซึ่งมีห้องต่าง ๆ ที่แยกเป็นสัดส่วนและมีห้องนอน 2-3 ห้อง โดยมีขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 42 ตารางเมตรถึง 100 กว่าตารางเมตร 2. อพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นส่วนใหญ่มักอยู่ติดถนนใหญ่ ไม่ไกลจากสถานีรถไฟ ใกล้โรงเรียน และใกล้กับแหล่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตและศูนย์การค้า เป็นต้น 3. มีระบบเก็บสะสมเงินค่าซ่อมแซมและดูแลอาคาร ซึ่งมักจะมีการดูแลซ่อมแซมระบบต่าง ๆ เช่นระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ ระบบท่อน้ำไหลอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดซ่อมบำรุงทุก 10 ปี เป็นต้น ทั้งนี้หากอาศัยอยู่บ้านเดี่ยวนั้นต้องควบคุมและจัดสรรเงินเพื่อซ่อมบ้านและดูแลบ้านเอง ซึ่งค่าซ่อมและดูแลบ้านในญี่ปุ่นนั้นแพงมาก 4. ฤดูหนาวจะอุ่นมากกว่าบ้านเดี่ยว เนื่องจากอพาร์ทเมนท์และแมนชั่นส่วนใหญ่สร้างด้วยอิฐและปูนซึ่งต่างจากบ้านเดี่ยวที่มักสร้างด้วยโครงสร้างที่เป็นไม้ อีกทั้งอพาร์ทเมนท์และแมนชั่นนั้นมีระบบท่อส่งแก๊สเพื่อใช้ปรุงอาหารและทำน้ำอุ่น (อพาร์ทเมนท์และแมนชั่นสมัยใหม่จำนวนมากใช้ระบบแก๊สเพื่อให้ความอบอุ่นของพื้นบ้าน) ดังนั้นในฤดูหนาวคนที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นจะอุ่นกว่าคนที่อยู่บ้านเดี่ยว 5. การจัดการเรื่องการทิ้งขยะที่สะดวก ในญี่ปุ่นจะมีการกำหนดวันจัดเก็บขยะที่ชัดเจน เช่น วันจัดเก็บขยะทั่วไปนั้นจะเป็นช่วงเช้าของวันจันทร์และวันพฤหัสบดี วันจัดเก็บขยะสำหรับรีไซเคิลและขยะเผาไม่ได้ก็จะแตกต่างกันไป คนที่อาศัยอยู่บ้านเดี่ยวจำเป็นต้องมีถังขยะหลายถังเพื่อแยกทิ้งขยะและนำไปวางรวมเฉพาะวันที่เก็บขยะ แต่คนที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์และแมนชั่นนั้นสามารถนำขยะไปทิ้งแยกชนิดกันที่ห้องเก็บขยะที่จัดไว้เป็นสัดส่วนได้ทุกวัน และเมื่อถึงวันเก็บขยะก็จะมีผู้ดูมาจัดการรวบรวมและทิ้งให้ จริง ๆ แล้วเรื่องจัดการขยะถือเป็นเหตุผลหลักที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่นมากกว่าบ้านเดี่ยวเลยทีเดียว หากมาญี่ปุ่นคงเข้าใจแล้วนะคะว่าทำไมเมืองใหญ่จึงมีอพาร์ทเมนท์มากมาย นอกจากปัจจัยเรื่องที่ดินแพงแล้วก็คงเป็นเพราะสาเหตุดังข้างต้นนั่นแหละค่ะ… Read more »
คำศัพที่ที่ใช้ในการสมัครงาน มีคำอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
ความหมายดั้งเดิมของ 奥ゆかしい มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย 日本の女性は、とても奥ゆかしくて素敵ですね!(nihon no josei ha, totemo okuyukashikute suteki desu ne!) มีใครเคยใช้คำว่า 奥ゆかしい (Okuyukashii) ในการชมสาวญี่ปุ่นบ้างไหมคะ คำนี้เป็นคำที่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้กัน แต่ก็มีที่มาที่น่าสนใจมาก ๆ เมื่อลองค้นหาคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น คำว่า 奥ゆかしい แปลว่า มีเสน่ห์, ลึกลับ, น่าค้นหา, มีแรงดึงดูด โดยทั่วไปในปัจจุบันคำนี้จะให้อิมเมจถึงผู้หญิงที่มีความสง่างาม สุภาพเรียบร้อย แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจคำจำกัดความที่แท้จริงของคำนี้ งั้นเรามาดูที่มาของคำนี้ดีกว่า คำว่า 奥ゆかしい มาจาก ゆかし และเมื่อเขียนเป็นคันจิจะกลายเป็น 行かし ซึ่งหมายถึง ไป แล้วคำว่าไป เกี่ยวอะไรกับมีเสน่ห์ ?? คำว่าไป มีความหมายโดยนัยหมายถึงความรู้สึกอยากไป หรืออยากไปมากขึ้นอีก ส่วนตัวคันจิ 奥 แปลว่า ข้างในหรือด้านใน คำว่า 奥ゆかしい ดั้งเดิมจึงหมายถึงความอยากรู้อยากเห็นในทำนองที่ว่า ไปข้างในอีก อยากเห็นมากกว่านี้ อยากรู้ อยากลอง อยากทำ หากลองจินตนาการเปรียบเทียบกับคน ความหมายดั้งเดิมจะให้ความรู้สึกเหมือนกับเด็กน้อยที่ซุกซน อยากรู้อยากเห็นไปหมดทุกอย่าง มากกว่าที่จะหมายถึงหญิงสาวที่ดูสง่างามเรียบร้อย… Read more »
ความหนักใจในวันรวมญาติของคนญี่ปุ่น เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เมื่อถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ หลาย ๆ คนก็คงจะได้พบปะสังสรรค์กับญาติพี่น้องกันอย่างสนุกสนาน แต่ในอีกด้านหนึ่ง บางคนก็อาจจะมีความรู้สึกเบื่อหรือไม่ชอบใช่ไหมล่ะคะ คนญี่ปุ่นเองก็เป็นเช่นกันค่ะ เมื่อถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเหนื่อยหรือหนักใจกับการที่ต้องเตรียมกับข้าวกับปลาหรือต้องคอยเก็บกวาดทุกอย่าง เราลองไปดูผลสำรวจจากเว็บไซต์ Sirabee กันค่ะ จากการสำรวจหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นในช่วงอายุ 10 – 60 ปีจำนวน 1,798 คน ในหัวข้อ “รู้สึกหนักใจหรือไม่เมื่อต้องพบปะญาติ ๆ ในช่วงปีใหม่” ซึ่งมีจำนวนถึง 55.8% ที่ตอบว่ารู้สึกหนักใจ ในจำนวนเกือบ 60% นี้แบ่งเป็นผู้ชาย 49.8% และผู้หญิง 61.1% จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงเสียมากกว่า เมื่อแบ่งตามช่วงอายุ พบว่า ช่วงอายุที่มีสัดส่วนมากที่สุดคือผู้หญิงในวัย 40 ปี 70.1% ตามด้วยผู้หญิงในวัย 50 ปี 67.1% สังเกตได้ว่าสัดส่วนของผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ในส่วนของผู้ชายนั้นจะมีสัดส่วนสูงที่สุดในวัย 30 ปี 58.2% และวัย 40 ปี 58.7% การที่บรรดาญาติ ๆ มาพบปะสังสรรค์กันที่บ้านนั้น แน่นอนว่าที่บ้านก็จะต้องวุ่นวายกับการจัดเตรียมอาหารรวมถึงการเก็บกวาดล้างจานชามหลังจากทานเสร็จ… Read more »
เหตุผล 5 ข้อ ที่คนรู้ภาษาญี่ปุ่นควรเรียนภาษาเกาหลี เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เพื่อน ๆ พี่น้องที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ มีใครเป็นติ่งเกาหลีบ้างสารภาพมาซะดี ๆ 555 ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่ากระแสเกาหลียังคงมาแรงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะบูมมาหลายปีแล้วก็ตาม โดยเฉพาะในฝั่งยุโรปอเมริกาที่ดูเหมือนว่าจะเปิดใจรับวัฒนธรรมเกาหลีผ่านดนตรีเคป็อป ซีรีส์ และภาพยนตร์มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก กระแสเกาหลีบูมทำให้หลาย ๆ คนอยากเรียนภาษาเกาหลีขึ้นมา แต่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะคนท่ีเลือกเรียนภาษาอื่นเป็นภาษาที่สามไปแล้วก็คงไม่อยากเพิ่มภาระให้ตัวเองด้วยการเริ่มเรียนภาษาใหม่เร็ว ๆ นี้ แต่รู้หรือเปล่าว่าถ้าเพื่อน ๆ มีพื้นภาษาญี่ปุ่นอยู่แล้วละก็ การเรียนภาษาเกาหลีก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด! เรามาดูเหตุผล 5 ข้อที่คนรู้ภาษาญี่ปุ่นควรเรียนภาษาเกาหลีกันดีกว่า… ภาษาญี่ปุ่นมีรูปแบบการเรียงประโยคที่ทำเอาหลายคนมึนตึ้บมาแล้ว นั่นคือ ประธาน + กรรม + กริยา ดังนั้นแทนที่จะเป็น “ฉัน กิน ข้าว” แบบภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ก็กลายเป็น “ฉัน ข้าว กิน” กว่าจะชินกับรูปประโยคแบบนี้ก็ล่อไปหลายเดือนเหมือนกัน ด้วยความที่ภาษาเกาหลีเป็นภาษาที่เรียงประโยคแบบเดียวกับญี่ปุ่นเป๊ะ แถมมี “คำช่วย” คั่นอยู่ระหว่างกลางเหมือนภาษาญี่ปุ่นอีกต่างหาก ถ้าเพื่อน ๆ คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่นจนแม่นการเรียงประโยคแบบนี้แล้ว การเรียนรู้ที่จะเรียงประโยคเป็นภาษาเกาหลีก็ไม่ใช่เรื่องวุ่นวายเลย คำช่วย (助詞;… Read more »
คนญี่ปุ่นไม่ชอบให้เพื่อนมานอนค้างที่บ้านจริงหรือ ? เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย การมีเพื่อนสนิทมานอนค้างที่บ้านของเราก็ถือเป็นเรื่องสนุกอย่างนึงใช่ไหมคะ ได้คุยได้เล่นกันทั้งวันทั้งคืนโดยที่ไม่ต้องสนใจเวลา แต่ว่าในทางกลับกัน ก็ต้องคอยดูแลเทคแคร์เพื่อนจนรู้สึกเหนื่อยได้เหมือนกัน ทางเว็บไซต์ SIRABEE ได้จัดทำแบบสำรวจหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศในช่วงอายุระหว่าง 10 – 60 ปีจำนวน 1,733 คน ในหัวข้อ “รู้สึกเครียดหรือไม่ที่มีเพื่อนมานอนค้างที่บ้าน” และคนที่ตอบว่ารู้สึกเครียดนั้นมีถึง 50.5% เรียกได้ว่าครึ่งต่อครึ่งเลยล่ะค่ะ เมื่อแยกเป็นเพศแล้วจะพบว่า มีเพศชาย 44.5% และเพศหญิง 55.8% อีกทั้ง เมื่อลองแยกทั้งเพศและช่วงอายุออกมาแล้วก็จะพบว่า สัดส่วนที่เยอะที่สุดคือเพศหญิงในช่วงอายุ 50 ปี 72.8% รองลงมาคือเพศหญิงในช่วงอายุ 30 ปี 63.3%, เพศหญิงในช่วงอายุ 60 ปี 56% และเพศหญิงในช่วงอายุ 40 ปี 55.5% ตามลำดับ ในแต่ละช่วงอายุนั้นก็มีความแตกต่างกัน แต่สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป และในทุกช่วงอายุ สัดส่วนของเพศหญิงจะมากกว่าเพศชายเสมอ เมื่อมีเพื่อนมานอนค้างที่บ้าน ก็เป็นธรรมดาที่เจ้าบ้านอย่างเราจะมีความรู้สึกว่าต้องดูแลเทคแคร์เพื่อนอย่างเต็มที่ แต่พอต้องคอยมาเอาใจใส่มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นว่าอาจจะทำให้เรารู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจขึ้นมาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่ต้องซักหรือจานชามที่ต้องล้างมากกว่าปกติ สำหรับในหมู่เด็กวัยรุ่นนั้น เพื่อนที่มานอนค้างส่วนใหญ่แล้วก็จะช่วยทำงานบ้านเหล่านี้ซึ่งก็เป็นการช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าและความเครียดลงได้บ้าง เมื่อลองมาดูที่ปัจจัยเรื่องรายรับต่อปีนั้น… Read more »
ความหมายที่มาของสำนวน 一か八か ทำไมต้อง 1 กับ 8? เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย 一か八か (いちかばちか : ichika bachika) ในพจนานุกรม แปลว่า หมู่หรือจ่า, หัวหรือก้อย หรืออย่างที่เราเข้าใจกันว่าหมายถึงการวัดดวง ลองเสี่ยงดวง จริง ๆ แล้วคำนี้ใช้กันในหลากหลายรูปแบบเหมือนภาษาไทย ไม่ว่าจะเรื่องงาน การสอบ หรือการพนัน สำหรับภาษาไทย ส่วนใหญ่คงจะเข้าใจกันอยู่แล้วใช่ไหมคะว่าทำไมถึงใช้คำว่าหมู่กับจ่า หัวกับก้อย แต่ในภาษาญี่ปุ่น หากแปลตรงตัวจะแปลว่า หนึ่งหรือแปด แล้วทำไมในภาษาญี่ปุ่นถึงใช้เลข 1 กับเลข 8 ไปเรียนรู้ถึงความหมายและที่มาของสำนวนนี้กันค่ะ อันดับแรก มาดูที่ความหมายกันค่ะ 一か八か เป็นสำนวนที่หมายถึงการฝากผลลัพธ์ไว้กับโชคชะตาว่าจะออกมาเป็นแบบใด ส่วนใหญ่จะใช้เมื่อยังไม่ทราบผลของสิ่งที่กำลังจะทำ เหมือนกับในภาษาไทยเลยค่ะ สำหรับที่มาของสำนวนนี้ มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากการเล่นพนันพื้นบ้านของญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า 丁半 (ちょうはん : Jouhan) คำว่า 丁 (ちょう : Jou) หมายถึงเลขคู่ ส่วน 半 (はん : han) หมายถึงเลขคี่ วิธีการเล่นคือใช้ลูกเต๋า… Read more »