ความหมายดั้งเดิมของ 奥ゆかしい มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย 日本の女性は、とても奥ゆかしくて素敵ですね!(nihon no josei ha, totemo okuyukashikute suteki desu ne!) มีใครเคยใช้คำว่า 奥ゆかしい (Okuyukashii) ในการชมสาวญี่ปุ่นบ้างไหมคะ คำนี้เป็นคำที่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้กัน แต่ก็มีที่มาที่น่าสนใจมาก ๆ เมื่อลองค้นหาคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น คำว่า 奥ゆかしい แปลว่า มีเสน่ห์, ลึกลับ, น่าค้นหา, มีแรงดึงดูด โดยทั่วไปในปัจจุบันคำนี้จะให้อิมเมจถึงผู้หญิงที่มีความสง่างาม สุภาพเรียบร้อย แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจคำจำกัดความที่แท้จริงของคำนี้ งั้นเรามาดูที่มาของคำนี้ดีกว่า คำว่า 奥ゆかしい มาจาก ゆかし และเมื่อเขียนเป็นคันจิจะกลายเป็น 行かし ซึ่งหมายถึง ไป แล้วคำว่าไป เกี่ยวอะไรกับมีเสน่ห์ ?? คำว่าไป มีความหมายโดยนัยหมายถึงความรู้สึกอยากไป หรืออยากไปมากขึ้นอีก ส่วนตัวคันจิ 奥 แปลว่า ข้างในหรือด้านใน คำว่า 奥ゆかしい ดั้งเดิมจึงหมายถึงความอยากรู้อยากเห็นในทำนองที่ว่า ไปข้างในอีก อยากเห็นมากกว่านี้ อยากรู้ อยากลอง อยากทำ หากลองจินตนาการเปรียบเทียบกับคน ความหมายดั้งเดิมจะให้ความรู้สึกเหมือนกับเด็กน้อยที่ซุกซน อยากรู้อยากเห็นไปหมดทุกอย่าง มากกว่าที่จะหมายถึงหญิงสาวที่ดูสง่างามเรียบร้อย… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน
ความหนักใจในวันรวมญาติของคนญี่ปุ่น เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เมื่อถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ หลาย ๆ คนก็คงจะได้พบปะสังสรรค์กับญาติพี่น้องกันอย่างสนุกสนาน แต่ในอีกด้านหนึ่ง บางคนก็อาจจะมีความรู้สึกเบื่อหรือไม่ชอบใช่ไหมล่ะคะ คนญี่ปุ่นเองก็เป็นเช่นกันค่ะ เมื่อถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเหนื่อยหรือหนักใจกับการที่ต้องเตรียมกับข้าวกับปลาหรือต้องคอยเก็บกวาดทุกอย่าง เราลองไปดูผลสำรวจจากเว็บไซต์ Sirabee กันค่ะ จากการสำรวจหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นในช่วงอายุ 10 – 60 ปีจำนวน 1,798 คน ในหัวข้อ “รู้สึกหนักใจหรือไม่เมื่อต้องพบปะญาติ ๆ ในช่วงปีใหม่” ซึ่งมีจำนวนถึง 55.8% ที่ตอบว่ารู้สึกหนักใจ ในจำนวนเกือบ 60% นี้แบ่งเป็นผู้ชาย 49.8% และผู้หญิง 61.1% จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงเสียมากกว่า เมื่อแบ่งตามช่วงอายุ พบว่า ช่วงอายุที่มีสัดส่วนมากที่สุดคือผู้หญิงในวัย 40 ปี 70.1% ตามด้วยผู้หญิงในวัย 50 ปี 67.1% สังเกตได้ว่าสัดส่วนของผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ในส่วนของผู้ชายนั้นจะมีสัดส่วนสูงที่สุดในวัย 30 ปี 58.2% และวัย 40 ปี 58.7% การที่บรรดาญาติ ๆ มาพบปะสังสรรค์กันที่บ้านนั้น แน่นอนว่าที่บ้านก็จะต้องวุ่นวายกับการจัดเตรียมอาหารรวมถึงการเก็บกวาดล้างจานชามหลังจากทานเสร็จ… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本
เหตุผล 5 ข้อ ที่คนรู้ภาษาญี่ปุ่นควรเรียนภาษาเกาหลี เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เพื่อน ๆ พี่น้องที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ มีใครเป็นติ่งเกาหลีบ้างสารภาพมาซะดี ๆ 555 ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่ากระแสเกาหลียังคงมาแรงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะบูมมาหลายปีแล้วก็ตาม โดยเฉพาะในฝั่งยุโรปอเมริกาที่ดูเหมือนว่าจะเปิดใจรับวัฒนธรรมเกาหลีผ่านดนตรีเคป็อป ซีรีส์ และภาพยนตร์มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก กระแสเกาหลีบูมทำให้หลาย ๆ คนอยากเรียนภาษาเกาหลีขึ้นมา แต่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะคนท่ีเลือกเรียนภาษาอื่นเป็นภาษาที่สามไปแล้วก็คงไม่อยากเพิ่มภาระให้ตัวเองด้วยการเริ่มเรียนภาษาใหม่เร็ว ๆ นี้ แต่รู้หรือเปล่าว่าถ้าเพื่อน ๆ มีพื้นภาษาญี่ปุ่นอยู่แล้วละก็ การเรียนภาษาเกาหลีก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด! เรามาดูเหตุผล 5 ข้อที่คนรู้ภาษาญี่ปุ่นควรเรียนภาษาเกาหลีกันดีกว่า… ภาษาญี่ปุ่นมีรูปแบบการเรียงประโยคที่ทำเอาหลายคนมึนตึ้บมาแล้ว นั่นคือ ประธาน + กรรม + กริยา ดังนั้นแทนที่จะเป็น “ฉัน กิน ข้าว” แบบภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ก็กลายเป็น “ฉัน ข้าว กิน” กว่าจะชินกับรูปประโยคแบบนี้ก็ล่อไปหลายเดือนเหมือนกัน ด้วยความที่ภาษาเกาหลีเป็นภาษาที่เรียงประโยคแบบเดียวกับญี่ปุ่นเป๊ะ แถมมี “คำช่วย” คั่นอยู่ระหว่างกลางเหมือนภาษาญี่ปุ่นอีกต่างหาก ถ้าเพื่อน ๆ คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่นจนแม่นการเรียงประโยคแบบนี้แล้ว การเรียนรู้ที่จะเรียงประโยคเป็นภาษาเกาหลีก็ไม่ใช่เรื่องวุ่นวายเลย คำช่วย (助詞;… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
คนญี่ปุ่นไม่ชอบให้เพื่อนมานอนค้างที่บ้านจริงหรือ ? เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย การมีเพื่อนสนิทมานอนค้างที่บ้านของเราก็ถือเป็นเรื่องสนุกอย่างนึงใช่ไหมคะ ได้คุยได้เล่นกันทั้งวันทั้งคืนโดยที่ไม่ต้องสนใจเวลา แต่ว่าในทางกลับกัน ก็ต้องคอยดูแลเทคแคร์เพื่อนจนรู้สึกเหนื่อยได้เหมือนกัน ทางเว็บไซต์ SIRABEE ได้จัดทำแบบสำรวจหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศในช่วงอายุระหว่าง 10 – 60 ปีจำนวน 1,733 คน ในหัวข้อ “รู้สึกเครียดหรือไม่ที่มีเพื่อนมานอนค้างที่บ้าน” และคนที่ตอบว่ารู้สึกเครียดนั้นมีถึง 50.5% เรียกได้ว่าครึ่งต่อครึ่งเลยล่ะค่ะ เมื่อแยกเป็นเพศแล้วจะพบว่า มีเพศชาย 44.5% และเพศหญิง 55.8% อีกทั้ง เมื่อลองแยกทั้งเพศและช่วงอายุออกมาแล้วก็จะพบว่า สัดส่วนที่เยอะที่สุดคือเพศหญิงในช่วงอายุ 50 ปี 72.8% รองลงมาคือเพศหญิงในช่วงอายุ 30 ปี 63.3%, เพศหญิงในช่วงอายุ 60 ปี 56% และเพศหญิงในช่วงอายุ 40 ปี 55.5% ตามลำดับ ในแต่ละช่วงอายุนั้นก็มีความแตกต่างกัน แต่สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป และในทุกช่วงอายุ สัดส่วนของเพศหญิงจะมากกว่าเพศชายเสมอ เมื่อมีเพื่อนมานอนค้างที่บ้าน ก็เป็นธรรมดาที่เจ้าบ้านอย่างเราจะมีความรู้สึกว่าต้องดูแลเทคแคร์เพื่อนอย่างเต็มที่ แต่พอต้องคอยมาเอาใจใส่มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นว่าอาจจะทำให้เรารู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจขึ้นมาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่ต้องซักหรือจานชามที่ต้องล้างมากกว่าปกติ สำหรับในหมู่เด็กวัยรุ่นนั้น เพื่อนที่มานอนค้างส่วนใหญ่แล้วก็จะช่วยทำงานบ้านเหล่านี้ซึ่งก็เป็นการช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าและความเครียดลงได้บ้าง เมื่อลองมาดูที่ปัจจัยเรื่องรายรับต่อปีนั้น… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
รู้หรือไม่ ทำไมจังหวัดโอคายามะ ถึงมีสมญานามว่า “ดินแดนแห่งความแจ่มใส” มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ประเทศญี่ปุ่นมีจังหวัดทั้งหมด 47 จังหวัดด้วยกัน และทุกๆ จังหวัดก็จะมีสมญานามเป็นของตัวเองด้วย ซึ่งสมญานามของแต่ละจังหวัดนั้นจะตั้งขึ้นตามลักษณะเด่นของจังหวัดนั้นๆ อย่างเช่น จังหวัดโออิตะเป็นจังหวัดที่มีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากจึงมีสมญานามว่า ดินแดนแห่งออนเซน (おんせん県おおいた) เป็นต้น และแน่นอนว่าจังหวัดโอคายามะก็มีสมญานามประจำจังหวัดเช่นกัน นั่นคือ “ดินแดนแห่งความแจ่มใส (晴れの国おかやま)” นั่นเอง แต่เพื่อนๆ สงสัยไหมว่าเพราะเหตุใดจังหวัดโอคายามะจึงได้รับสมญานามเช่นนั้น? วันนี้เราจะไปหาคำตอบนั้นกันครับ “โอคายามะ ดินแดนแห่งความแจ่มใส” ฉายาดังกล่าวนี้เริ่มเรียกติดปากกันมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นยุคสมัยเฮเซ ในปี ค.ศ. 1989 โดยเหตุอันเป็นที่มาของฉายาดังกล่าวนั้นว่ากันว่าอาจมาจาก 4 สาเหตุ ดังนี้ เป็นจังหวัดที่มีวันที่สภาพอากาศแจ่มใสมากกว่าจังหวัดอื่นๆเป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศอบอุ่นและเกิดภัยพิบัติน้อยเป็นจังหวัดที่เต็มไปด้วยของอร่อยเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติเนื่องจากโอคายามะเป็นจังหวัดที่มีวันที่สภาพอากาศแจ่มใสมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ทำให้พืชผลทางการเกษตรต่างๆ ที่ปลูกในจังหวัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ ต่างก็มีรสชาติหอมอร่อยถูกปากผู้คนจำนวนมาก นอกจากนี้ ด้วยสภาพอากาศที่แจ่มใส ยังส่งผลให้ต้นไม้ ดอกไม้ และทุ่งหญ้าเจริญเติบโตได้อย่างอุดมสมบูรณ์อีกด้วย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้โอคายามะเป็นจังหวัดที่เต็มไปด้วยของอร่อยและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาตินั่นเอง แต่ทว่า หากพิจารณากันตามข้อเท็จจริงในแง่สถิติของสำนักอุตุนิยมวิทยาแล้ว จังหวัดที่มีวันที่สภาพอากาศแจ่มใสมากที่สุดของประเทศญี่ปุ่นดูเหมือนจะไม่ใช่จังหวัดโอคายามะ สำนักอุตุนิยมวิทยาของประเทศญี่ปุ่นได้ให้คำนิยามของคำว่า “อากาศแจ่มใส” ไว้ 2 ความหมาย ดังนี้ 1. วันที่มีปริมาณเมฆบนท้องฟ้าน้อยกว่า 10% จะเรียกว่าสภาพอากาศแจ่มใสแบบ “ไคเซ (快晴)”2…. Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
ความหมายที่มาของสำนวน 一か八か ทำไมต้อง 1 กับ 8? เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย 一か八か (いちかばちか : ichika bachika) ในพจนานุกรม แปลว่า หมู่หรือจ่า, หัวหรือก้อย หรืออย่างที่เราเข้าใจกันว่าหมายถึงการวัดดวง ลองเสี่ยงดวง จริง ๆ แล้วคำนี้ใช้กันในหลากหลายรูปแบบเหมือนภาษาไทย ไม่ว่าจะเรื่องงาน การสอบ หรือการพนัน สำหรับภาษาไทย ส่วนใหญ่คงจะเข้าใจกันอยู่แล้วใช่ไหมคะว่าทำไมถึงใช้คำว่าหมู่กับจ่า หัวกับก้อย แต่ในภาษาญี่ปุ่น หากแปลตรงตัวจะแปลว่า หนึ่งหรือแปด แล้วทำไมในภาษาญี่ปุ่นถึงใช้เลข 1 กับเลข 8 ไปเรียนรู้ถึงความหมายและที่มาของสำนวนนี้กันค่ะ อันดับแรก มาดูที่ความหมายกันค่ะ 一か八か เป็นสำนวนที่หมายถึงการฝากผลลัพธ์ไว้กับโชคชะตาว่าจะออกมาเป็นแบบใด ส่วนใหญ่จะใช้เมื่อยังไม่ทราบผลของสิ่งที่กำลังจะทำ เหมือนกับในภาษาไทยเลยค่ะ สำหรับที่มาของสำนวนนี้ มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากการเล่นพนันพื้นบ้านของญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า 丁半 (ちょうはん : Jouhan) คำว่า 丁 (ちょう : Jou) หมายถึงเลขคู่ ส่วน 半 (はん : han) หมายถึงเลขคี่ วิธีการเล่นคือใช้ลูกเต๋า… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
รู้หรือไม่? สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นมีเมนูเครื่องดื่มสำหรับเด็กเล็กด้วยนะ เป็นยังไงนั้นไปดูกันเลย คุณแม่ลูกอ่อนทั้งหลายมาทางนี้ค่า….ไหนใครเคยมีประสบการณ์อยากจะไปนั่งชิล ๆ จิบเครื่องดื่มอร่อย ๆ ในร้านสตาร์บัคส์แต่แล้วต้องถอดใจเพราะกังวลว่าจะหาเครื่องดื่มให้กับเจ้าตัวเล็กไม่ได้บ้างคะ? วันนี้ขอนำเสนอเมนูลับ ๆ ของสตาร์บัคส์ญี่ปุ่นที่น้อยคนนักจะรู้ว่ามีอยู่มาบอกกัน เมนูสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่มีให้เลือกระหว่างนมและโกโก้ ทั้งร้อนและเย็นพร้อมเสิร์ฟ ในเมนูดังกล่าว จะมีให้เลือกทั้งแบบร้อนขนาด 240ml และเย็นขนาด 300ml โดยใช้นมสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หากสั่งแบบร้อนก็จะเสิร์ฟมาให้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 54℃ (ผู้ใหญ่จะเสิร์ฟที่อุณหภูมิประมาณ 66-77℃) เป็นอุณหภูมิที่เด็กดื่มได้ง่าย ส่วนแบบเย็นก็สามารถเลือกว่าจะใส่น้ำแข็งเพิ่มหรือไม่ และใช้หลอดแบบงอได้เพื่อให้เด็กดื่มได้ง่ายขึ้น ราคา 170 เยน (ไม่รวมภาษี) สำหรับเมนูโกโก้ สามารถขอเพิ่มช็อกโกแลตและคาราเมลได้ฟรี หากต้องการเปลี่ยนจากนมสดเป็นนมถั่วเหลืองเพิ่ม 50 เยน หรือถ้าอยากเพิ่มความหวานให้กับเครื่องดื่มทั้ง 2 เมนูนี้ ก็สามารถเติมน้ำผึ้งที่วางไว้ตรงเคาน์เตอร์ได้ไม่อั้นเช่นกัน be juicy! Kids เครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่เป็นสินค้าออริจินัลจากสตาร์บัคส์ญี่ปุ่นที่ผลิตโดยคาโกเมะ มีให้เลือกระหว่างน้ำส้มและน้ำแอปเปิ้ลคั้น 100% ไม่มีน้ำตาล ไม่ปรุงแต่งสีหรือรส ราคา 190 เยน (ไม่รวมภาษี) นอกจากเมนูเครื่องดื่มแล้ว ภายในร้านยังมีเมนูที่เด็ก ๆ เลือกทานได้ เช่น โดนัทและพุดดิ้ง… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
รู้หรือไม่? เมื่อฝนตกเพลงในห้างญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไป เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วเจอฝนตก มีใครเคยวิ่งเข้าไปหลบในห้างกันไหมคะ แล้วทราบไหมคะว่า เมื่อฝนเริ่มตก ภายห้างญี่ปุ่นจะมีการเปลี่ยนเป็นเพลงที่เข้ากับบรรยากาศฝนตกด้วย! แต่ละห้างในญี่ปุ่นจะใช้เพลงที่หลากหลายค่ะ แต่ที่ใช้กันเยอะ มีอยู่ 2 เพลง นั่นก็คือเพลง Raindrops Keep Fallin’ on My Head และ Singin’ in the Rain นั่นเอง เพลง Raindrops Keep Fallin’ on My Head เป็นเพลงประกอบหนังเรื่อง Butch Cassidy and the Sundance Kid หรือชื่อภาษาไทยว่า สองสิงห์ชาติไอ้เสือ ห้างที่เปิดเพลงนี้ก็มีหลายห้างเลยทีเดียวค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ห้างไดมารู สาขาโตเกียว ห้างโอดะคิว ห้างฮันคิว สาขาอุเมดะ ห้างฮันชิน สาขาอุเมดะ เป็นต้น ส่วนอีกเพลงที่ชื่อคุ้นหูไม่แพ้กันคือ เพลง Singin’ in the Rain ซึ่งเป็นเพลงหลักของมิวสิเคิลชื่อเดียวกัน เปิดในห้างไดมารู… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
รู้ไว้ใช่ว่า ภาษาญี่ปุ่น 6 คำ ที่ผู้ชายญี่ปุ่นใช้เรียนภรรยา เวลาคุยกับคนอื่น มีคำว่าอะไรบ้างไปดูกันเลย สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน โดยเฉพาะท่านที่เป็นผู้ชาย (อะแฮ่ม) ท่านเคยสังเกตไหมครับว่าเวลาที่ท่านพูดถึงคู่ครอง พูดถึงคนที่บ้านของท่านให้คนอื่นฟัง ท่านใช้คำนามเรียกขานคู่ครองของท่านว่าอะไร? สำหรับคนไทย เรามีคำอยู่หลักๆ สามคำสามระดับ “เมีย” เป็นคำไทย ที่ฟังดูบ้านๆ แต่บางครั้งด้วยความที่คำนี้ถูกใช้สื่อความหมายในทางหยาบโลน (เกี่ยวกับเซ็กซ์ เพศสัมพันธ์) ชายไทยหลายคนจึงหันมาใช้คำยืมภาษาอังกฤษคือคำว่า “แฟน” เพื่อสื่อความแบบเป็นคำกลางๆ คือไม่หยาบหรือดูชาวบ้านมากไป และไม่ฟังเป็นทางการมากเกินไปเหมือนคำว่า “ภรรยา” ซึ่งจริงๆ แล้วมาจากภาษาสันสกฤตว่า ภารฺยา (ซึ่งเมื่อบิดเสียงไปตามสำเนียงภาษาบาลีว่า “ภริยา” จะกลายเป็นคำยกย่องหมายถึงภรรยาของคนใหญ่คนโตหรือคนที่ต้องให้ความเคารพไปเสีย ทั้งที่จะว่าไปแล้ว ภรรยา ก็ดี ภริยา ก็ดี ล้วนเป็นคำเดียวกัน เพียงแต่ต่างสำเนียงภาษาเท่านั้นเอง) แต่ผู้ชายญี่ปุ่นสมัยนี้ มีคำนามเรียกขาน “คู่ครอง” ให้ใช้ตั้ง 6 คำแน่ะครับ! แต่ก็นะครับ เช่นเดียวกับภาษาไทย คำต่างๆ มันก็มีความหมาย (ทั้งในทางคำศัพท์และในทางสังคม) ต่างๆ กันไป มาดูกันเลยดีกว่าครับ คำนี้ถือว่าเป็นคำสามัญที่สุดที่สามีใช้เรียกภรรยาของตัวเอง ซึ่งถูกใช้มานานแล้วตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีระบบการจดทะเบียนสมรส โดยช่วงก่อนสมัยเมจิ ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ไซ”… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
รู้หรือไม่? เหตุใดคนญี่ปุ่นถึงพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ เป็นเพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย ภาษาอังกฤษ ภาษากลางที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลกในแทบทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การเจรจาทางธุรกิจ หรือการดำเนินกิจการระหว่างประเทศก็มักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารเสมอ ประเทศญี่ปุ่นแม้จะเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการท่องเที่ยว แต่กลับมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงสงสัยใช่ไหมครับว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ดังนั้นวันนี้ เราจะไปหาคำตอบนั้นกันครับ แต่เดิมคนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ช่วงมัธยมตั้น แต่พอเข้าสู่ปี 2011 ทางรัฐบาลก็ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใหม่ โดยบังคับให้โรงเรียนต้องมีการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 5 แต่หลังจากนั้น พอเข้าสู่ปี 2020 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายอีกครั้ง โดยบังคับให้ต้องมีการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 3 โดยจะเน้นไปที่การเรียนการสอนผ่านเกมหรือเพลงเป็นหลัก เพื่อให้เด็กๆ คุ้นชินกับภาษาอังกฤษไปทีละนิด โดยไม่เน้นการสอบวัดผลการเรียน หลังจากนั้นตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 5 เป็นต้นไป จะเริ่มมีการเรียนการสอนที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยแต่ละโรงเรียนต้องใช้ตำราเรียนตามที่รัฐบาลกำหนดไว้และจะมีการสอบวัดผลการเรียนด้วย 1. เพราะคนญี่ปุ่นเน้นความสมบูรณ์แบบคนญี่ปุ่นจำนวนมากจะมีคติว่าไม่ว่าเรื่องอะไรก็ต้องทำให้สมบูรณ์แบบและห้ามผิดพลาด ดังนั้น หากเจ้าตัวรู้สึกว่าสำเนียงการออกเสียงยังไม่ค่อยชัดเจน หรือไม่แม่นยำในเรื่องการใช้ไวยากรณ์ ก็ไม่ค่อยอยากจะสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ เพราะการให้คู่สนทนาฟังการพูดภาษาอังกฤษที่อาจเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดและขาดความสมบูรณ์แบบนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ 2. เพราะการพูดผิดมันเป็นเรื่องน่าอายคนญี่ปุ่นจำนวนมากคิดว่าถ้าออกเสียงหรือเรียบเรียงโครงสร้างประโยคผิด คงจะถูกหัวเราะเยาะหรือถูกล้อเลียนแน่ๆ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่น่าอายมากๆ หรือหากกล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือใส่ใจความรู้สึกของคู่สนทนามากจนเกินไปนั่นเอง ไม่ใช่แค่กับคนญี่ปุ่นด้วยกันเท่านั้น กับคนต่างชาติก็เช่นกัน สุดท้ายจึงขาดความกล้าที่จะสนทนาแม้กระทั่งประโยคพื้นฐาน และทำให้สูญเสียโอกาสในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตนด้วย 3. เพราะความแตกต่างของไวยากรณ์โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาญี่ปุ่นจะเรียงโครงสร้างประโยคแบบ ประธาน กรรม กริยา แต่สำหรับภาษาอังกฤษจะเรียงโครงสร้างประโยคแบบ… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語