Author Archives: wakuwaku staff

ที่มาของคำว่า “ごちそうさまでした”

      Comments Off on ที่มาของคำว่า “ごちそうさまでした”

ごちそうさまでした (gochisousamadeshita) ที่แปลว่า ขอบคุณสำหรับอาหารมื้อนี้ เป็นคำที่คนญี่ปุ่นจะพูดเมื่อทานอาหารเสร็จแล้ว ซึ่งสามารถใช้พูดกับพนักงานได้ หากไปทานอาหารที่ร้าน เพื่อเป็นการขอบคุณผู้ที่ทำอาหารให้ แล้วที่มาของคำๆ นี้มาจากไหนล่ะ? อย่างแรกต้องดูที่คันจิของคำว่า ごちそうさまでした ก่อน นั่นก็คือ ご馳走さまでした ในสมัยโบราณคันจิคำว่า 馳走 หมายถึง การ “วิ่งวุ่น” เพื่อเตรียมอาหารให้ลูกค้า สาเหตุที่มีคันจิตัว 馬 (うま-uma) เป็นเพราะพวกเขาต้องใช้ม้าในการวิ่งส่งอาหารนั่นเอง ดังนั้น ตั้งแต่ปลายยุคสมัยเอโดะ จึงมีการนำคำว่า “ごちそうさまでした” มาใช้ในการกล่าวขอบคุณผู้ที่เตรียมอาหารให้ทานในมื้อนั้น และยังใช้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน

ที่มาของคำว่า “いただきます”

      Comments Off on ที่มาของคำว่า “いただきます”

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับการพูดคำว่า “いただきます” ที่แปลว่า “จะทานแล้วนะคะ/ครับ” ก่อนกินข้าวของคนญี่ปุ่นกันเป็นอย่างดี แล้วคำว่า “いただきます” มีที่มาที่ไปยังไงกันนะ? ตั้งแต่สมัยโบราณ คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับอาหารมาตลอด จะมีความคิดที่ว่าผัก, ผลไม้ และเนื้อสัตว์ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีชีวิต การที่เราบริโภคเข้าไป ก็เหมือนการรับชีวิตของสิ่งนั้น เพื่อมาต่อชีวิตของเราเอง ดังนั้น ก่อนที่คนญี่ปุ่นจะเริ่มทานอาหาร เลยจะกล่าวคำว่า “いただきます” เพื่อแสดงถึงความรู้สึกขอบคุณ ต่อสิ่งที่เขารับประทาน อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณ ถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหารนั้นๆ ด้วย เช่น คนทำอาหาร, เกษตรกร, ชาวประมง เป็นต้น

ภาษาญี่ปุ่น-เงินราย…

      Comments Off on ภาษาญี่ปุ่น-เงินราย…

時給(じきゅう) jikyuu เงินรายชั่วโมง 日給(にっきゅう) nikkyuu เงินรายวัน 週給(しゅうきゅう) shuukyuu เงินรายสัปดาห์ 半月給(はんつききゅう) hantsukikyuu เงินรายครึ่งเดือน (15 วันจ่ายที) 月給(げっきゅう) gekkyuu เงินรายเดือน

“เล่น” ที่ไม่ใช้คำว่า “เล่น”

      Comments Off on “เล่น” ที่ไม่ใช้คำว่า “เล่น”

スマホをいじる/使う (sumaho wo ijiru / tsukau) เล่นมือถือ ゲームをやる/遊ぶ/する (geemu wo yaru / asobu / suru) เล่นเกม 感情を弄ぶ (kanjou wo moteasobu) เล่นกับความรู้สึก 勿体をつける (mottai wo tsukeru) เล่นตัว 演技する/演劇する/劇を演じる (engi suru / engeki suru / geki wo enjiru) เล่นละคร

คันจิที่อ่านว่า こうか (kouka) พร้อมความหมาย

      Comments Off on คันจิที่อ่านว่า こうか (kouka) พร้อมความหมาย

効果 : ประสิทธิผล/ผลดี/ประโยชน์ 工科 : สาขาวิศวกรรมศาสตร์ 硬化 : การแข็งตัวขึ้น/เส้นเลือดขอด/ท่าทีแข็งกร้าวขึ้น 硬貨 : เงินเหรียญ 考課 : ประเมิน(ผลงาน) 膠化 : Gelatinization (การทำให้อาหารสุก) 降下 : การลงจากที่สูง/การบินต่ำลง/อุณหภูมิต่ำลง 高価 : ราคาแพง 高架 : ทาง,สะพานยกระดับ/(รถไฟ)ลอยฟ้า

คำถามที่คนเรียนภาษาญี่ปุ่น มักจะเจอตอนสัมภาษณ์

      Comments Off on คำถามที่คนเรียนภาษาญี่ปุ่น มักจะเจอตอนสัมภาษณ์

日本について、好きな事は何ですか。( nihon ni tsuite sukina koto wa nandesuka ) ชอบอะไรเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น? 日本語が話せますか。( nihongo ga hanasemasuka ) พูดภาษาญี่ปุ่นได้ไหมคะ? どうして日本語を勉強していますか。( doushite nihongo wo benkyoushiteimasuka ) ทำไมถึงเรียนภาษาญี่ปุ่น? 日本語の勉強はどうですか。( nihongo no benkyou wa doudesuka ) เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นยังไงบ้าง? どのくらい日本語を勉強していますか。( donokurai nihongo wo benkyoushiteimasuka ) เรียนภาษาญี่ปุ่นมานานแค่ไหนแล้ว? どこで日本語を勉強していますか。( doko de nihongo wo benkyoushiteimasuka ) เรียนภาษาญี่ปุ่นที่ไหน? 日本語が難しいと思いますか。( nihongo ga muzukashii to omoimasuka ) คิดว่าภาษาญี่ปุ่นยากไหม?

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น “ร้านเสริมสวย”

      Comments Off on คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น “ร้านเสริมสวย”

髪を切る (kami wo kiru) ตัดผม 髪を洗う (kami wo arau) สระผม 髪を染める (kami wo someru) ย้อมผม パーマをかける (paama wo kakeru) ดัดผม 髪を梳かす (kami wo tokasu) หวีผม 鏡を見る (kagami wo miru) มองกระจก

คำว่า “ตื่นเต้น” ในภาษาญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง?

      Comments Off on คำว่า “ตื่นเต้น” ในภาษาญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง?

1. 楽しみ (たのしみ) looking forward to… เป็นคำที่หลายๆ คนน่าจะได้ยินบ่อยที่สุด เพราะคนส่วนใหญ่มักจะใช้พูดตอนที่ “ตั้งตารอ” ที่จะได้เจอใครสักคน หรือ “ตื่นเต้น” ที่จะได้ไปเที่ยวที่ต่างๆ 2. 興奮する (こうふんする) “รู้สึกตื่นเต้น” ขณะทำอะไรบางอย่างอยู่ 3. どきどき ใช้ในสถานการณ์ที่ “ใจเต้น” หรือ “ตื่นเต้น” เมื่อได้เจอคนที่ชอบ หรือ “รู้สึกลุ้น” ใจตุ้มๆ ต่อมๆ หรือ ใจเต้นตุบตับ 4. わくわく  คำนี้จะใช้ในสถานการณ์ที่รู้สึก “ตื่นเต้นดีใจ” หรือมีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้น ซึ่งคำนี้จะใช้ในเชิงบวก