ถ้าพูดถึงเมนู “แกง” ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว แอดมินเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะต้องนึกถึงแกงกะหรี่ (カレー karee) เป็นอันดับแรกอย่างแน่นอน หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้ว ว่าแกงกะหรี่ไม่ใช่อาหารของประเทศญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เกิดจากการนำเข้ามาจากประเทศอื่น แต่จะเป็นประเทศอะไรล่ะ? บางท่านอาจคิดว่าต้องมาจากประเทศอินเดียแน่นอน เพราะแกงกะหรี่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสมหลัก และถ้าพูดถึงเรื่องเครื่องเทศ ก็ต้องเป็นประเทศอินเดียที่ขึ้นชื่อในเรื่องเครื่องเทศอยู่แล้วสิ แต่จริงๆ แล้วแกงกะหรี่ญี่ปุ่นไม่ได้รับมาจากประเทศอินเดีย แต่มาจาก “ประเทศอังกฤษ” ต่างหาก ย้อนกลับไปในช่วงปี 1700 ชาวอังกฤษที่เดินทางมายังประเทศอินเดียได้นำเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “มาซาลา” กลับไปยังประเทศอังกฤษ และนำไปปรับสูตรเป็นของตัวเอง ซึ่งคำว่า “Curry” ในภาษาอังกฤษ ก็มาจากคำว่า “Kari” ที่เป็นภาษาพื้นเมืองของอินเดียทางตอนใต้ ซึ่งมีความหมายว่า “น้ำซุป, น้ำซอส” หลังจากนั้นในช่วงปี 1800-1900 แกงกะหรี่ก็กลายเป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่น จึงเกิดเมนูที่เรารู้จักกันดีอย่างข้าวแกงกะหรี่ (カレーライス kareeraisu) ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา แล้วนำมาประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นเมนูใหม่ๆ เช่น อุด้งแกงกะหรี่ ขนมปังไส้แกงกะหรี่ เป็นต้น
สวัสดีเพื่อนๆ ชาว WakuWaku ทุกคนนะคะ😄 วันนี้แอดมินจะมาแนะนำคันจิที่มีจำนวนเส้นเยอะและเขียนยากที่สุดค่ะ คันจิตัวนี้ อ่านว่า 煩悩 (ぼんのう-bonnou) เป็นคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา แปลว่า กิเลสตัณหาที่ทำให้เกิดความทุกข์ค่ะ คันจิตัวนี้ มีจำนวนเส้นทั้งหมด 108 เส้น และตรงกับคำกล่าวของคนญี่ปุ่นที่ว่า ความทุกข์ของคนเรา มี 108 อย่างนั่นเองค่ะ ซึ่งคันจิตัวนี้ต้องเขียนมือเท่านั้นนะคะ พิมพ์หายังไงก็ไม่มีขึ้นให้แน่นอนค่ะ ใครอยากลองเขียนดูก็อาจจะตาลายนิดหน่อยนะคะ เพราะเส้นเยอะเกิน🤣
ใครที่เคยเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นแล้วเลือกเดินทางโดยรถไฟ อาจจะสังเกตเห็นป้ายที่มีข้อความลักษณะนี้ (マナーモード mana-mo-do) ข้อความบนป้ายนี้มีความหมายว่า “ขอความกรุณาเปิดโหมดเงียบ(โหมดสั่น) และงดการพูดคุยทางโทรศัพท์” แต่คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า “โหมดมารยาท” แทนคำว่า “โหมดเงียบ” แล้วคำว่า マナーモード มีที่มาอย่างไร ทำไมคนญี่ปุ่นถึงได้เลือกใช้คำนี้ マナーモード เป็นหนึ่งในคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากภาษาอังกฤษ เป็นคำศัพท์ที่ไม่ได้มีอยู่ในภาษาอังกฤษแต่แรก แต่เป็นคนญี่ปุ่นที่คิดขึ้นมาเอง การที่เรียก “โหมดเงียบ” ว่า “โหมดมารยาท” เพราะคนญี่ปุ่นมองว่า การปิดเสียงโทรศัพท์ถือเป็นการไม่รบกวนผู้คนรอบข้าง และเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ซึ่งก็ถือเป็นมารยาททางสังคมอย่างหนึ่ง
หากพูดถึงอาหารญี่ปุ่น เมนูแรกที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงก็คือ “ซูชิ” นั่นเอง ซึ่งร้านซูชิก็จะมีหลากหลายราคาแตกต่างกันไป ตั้งแต่ร้านที่คนทั่วไปสามารถเอื้อมถึง ไปจนถึงร้านโอมากาเสะราคาแพง โดยร้านซูชิสายพาน (回転寿司 kaitenzushi) ถือเป็นร้านซูชิที่ได้รับความนิยมทั้งกับคนญี่ปุ่น และคนต่างประเทศที่เดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาต่อจานไม่แพงมาก แถมอร่อยด้วย แล้ว ”ซูชิสายพาน” มีที่มาอย่างไร? ย้อนไปช่วงหลังสงครามโลก ปี 1958 คุณ Shiraishi Yoshiaki ได้เปิดร้านซูชิเล็กๆ ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ชื่อร้านว่า 元禄寿司 (Genrokuzushi) หลังเปิดร้านได้ไม่นาน ร้านก็ขายดีมาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ วัตถุดิบที่นำมาทำซูชินั้นมีการปรับราคาขึ้นลงตามฤดูกาลอยู่ตลอด ดังนั้นราคาขายของซูชิก็ต้องปรับขึ้นลงตามเช่นกัน ทางร้านจึงไม่ได้กำหนดราคาของแต่ละเมนูอย่างชัดเจน ลูกค้าที่เข้ามาทาน ก็จะไม่ทราบว่าตัวเองทานไปเท่าไหร่แล้ว เมื่อถึงตอนชำระเงินจึงเกิดปัญหาขึ้นตลอด หลังจากนั้นคุณ Shiraishi ก็ได้กำหนดราคาของแต่ละเมนูอย่างชัดเจน ทำให้ทางร้านมียอดขายดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีกครั้ง คือพนักงานทำงานกันไม่ไหว จนพากันลาออก คุณ Shiraishi ก็ยังไม่ยอมแพ้ พยายามหาทางแก้ปัญหา จนได้ไปดูงานที่โรงงานผลิตเบียร์แห่งหนึ่ง และได้สังเกตเห็นสายพานสำหรับขนส่งขวดเบียร์ จึงเกิดความคิดเรื่องซูชิสายพานขึ้นมา เป็นเวลาเกือบ 10 ปี ที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบนับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดซูชิสายพานก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ระบบสายพานช่วยให้รองรับลูกค้าได้มากขึ้น แถมยังช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานด้วย พอต้นทุนลดลง… Read more »
อาหารป้ายเหลืองที่เห็นในร้านค้าทุกวันคืออะไร ยังทานได้ไหม จะเสียรึเปล่า มาดูความหมายที่แท้จริงกันค่ะ หลายคนเมื่อเห็นอาหารป้ายเหลือง คนที่ไม่รู้ก็คงมีคิดกันบ้าง ว่าคุณภาพอาหารอาจจะไม่ดีแล้ว ทางร้านจึงนำมาขายลดราคา แต่จริงๆ แล้ว อาหารป้ายเหลือง คืออาหารประเภทของสด ผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป ขนมปัง เบเกอรี่ ฯลฯ ที่ถูกเอามาลดราคาเพราะส่วนใหญ่จะเป็นของที่ต้องถูกเคลียร์ทิ้งวันต่อวัน ไม่สามารถเก็บค้างคืนได้ทั้งๆ ที่คุณภาพยังดีอยู่ หากไม่มีคนซื้อ อาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมดก็จะกลายเป็น Food Waste ต่อไป ดังนั้น หากทุกคนพบเห็นอาหารที่ติดป้ายเหลือง ทุกคนสามารถเลือกซื้อได้ตามใจชอบ ไม่ต้องกลัวว่าคุณภาพอาหารจะไม่ดี เหล่านักช้อป และคนที่อยากประหยัดเงินจะซื้อกันเป็นประจำ เพราะได้ของคุณภาพดี ราคาถูก แถมยังช่วยลด Food Waste ได้อีกด้วย หากใครไม่สะดวกเดินทางไปซื้อ ในปัจจุบันก็จะมีแอปพลิเคชันสำหรับซื้ออาหารป้ายเหลืองโดยเฉพาะอยู่ค่ะ
พนักงานแคชเชียร์ญี่ปุ่นทอนเงินให้ลูกค้าอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ