ทำไมคนคันไซส่วนใหญ่กินเนื้อวัว? ส่วนคนโตถึงกินเนื้อหมู? เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ถึงประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศเกาะที่ในอดีตมีอาหารหลักเป็นเนื้อปลาและสัตว์ทะเล แต่ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นจำนวนมากก็หันมาชอบรับประทานเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลักกันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อวัวและเนื้อหมู แต่เพื่อน ๆ รู้กันรึเปล่าคะว่า วัฒนธรรมการทานเนื้อสัตว์ของชาวคันไซ หรือภูมิภาคตะวันตกของญี่ปุ่น กับชาวคันโต หรือภูมิภาคตะวันตกของญี่ปุ่นนั้นไม่เหมือนกันนะคะ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่มีโอกาสย้ายจากคันโตมาอยู่คันไซก็รู้สึกแปลกใจอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะชาวคันไซนิยมรับประทานเนื้อวัวมากกว่า แถมเนื้อวัวยังมีราคาไม่แพงมาก แตกต่างจากโซนคันโตที่ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตจะมีเนื้อวัวให้เลือกไม่มาก แถมยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมการทานเนื้อสัตว์ของ 2 ภูมิภาคนี้มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นในอดีตอย่างไม่น่าเชื่อ ประวัติศาสตร์ด้านการปกครองของญี่ปุ่นในอดีตมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการกินของคนญี่ปุ่นในปัจจุบันอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อราว 1,400 ปีก่อน ศูนย์กลางการปกครองของญี่ปุ่นอยู่ที่เมืองนาระ และเกียวโตทางภาคตัวตะวันตกของประเทศ ซึ่งในยุคนั้นเป็นสังคมที่ราชสำนักเป็นใหญ่ โดยเวลาที่คนของราชสำนักจะเดินทาง หรือทำการจัดส่งอาหารจะใช้วัวเป็นพาหนะสำคัญ แต่การจะเดินทางจากภาคตะวันตกไปภาคตะวันออกนั้นทำได้ลำบาก เนื่องจากมีเทือกเขาแอลป์ญี่ปุ่นสูง มีแม่น้ำขนาดใหญ่ในจังหวัดชิซูโอกะขวางกั้น แถมในยุคนั้นยังมีเถ้าถ่านของภูเขาไฟฟูจิปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้การเลี้ยงวัวที่จำเป็นต้องใช้ทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ทำได้ยาก ในยุคโบราณที่ศูนย์กลางการปกครองของญี่ปุ่นอยู่ที่นาระและเกียวโต ยุคนั้นเป็นยุคที่ศาสนาพุทธมีอิทธิพล และมีความเชื่อว่าห้ามทานเนื้อสัตว์ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวก็สืบทอดอยู่มานานในสังคมญี่ปุ่นกว่า 1,200 ปี จนถึงช่วงปลายยุคเอโดะที่มีการเปิดประเทศและมีชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งชาวต่างชาติก็ได้นำวัฒนธรรมการทานเนื้อสัตว์เข้ามายังประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบโยโกฮามะ ที่มีเมนูยอดนิยมเป็นเป็นเมนูหม้อไฟเนื้อวัว ในปีเมจิที่ 5 รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มนำวิธีการเลี้ยงหมูแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ยังไม่แพร่หลายเหมือนอย่างเนื้อวัว ยิ่งในช่วงยุคสงคราม ภาคตะวันออกของญี่ปุ่นขาดแคลนเนื้อวัวอย่างกะทันหัน ทำให้เนื้อหมูเข้ามามีบทบาททดแทนที่สำคัญ เกิดเมนูข้าวหมูทอดทงคัตสึขึ้นซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในทันที และเมื่อถึงยุคสิ้นสุดสงครามเนื้อหมูก็กลายเป็นอาหารสำคัญที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงในยุคนั้น นอกจากนี้การเลี้ยงหมูยังใช้เวลาเพียงราว 6 เดือนซึ่งถือว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับการเลี้ยงวัว และหมูยังแพร่พันธุ์ได้ดีอีกด้วย จึงทำให้การเลี้ยงหมูเป็นที่นิยมในภูมิภาคคันโตมากขึ้นเรื่อย ๆ… Read more »
ทำไมกาสามขาถึงเป็นโลโก้ของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย ใครที่เป็นคอบอลเจลีคหรือแฟนซามูไรสีน้ำเงินก็จะคุ้นตากับโลโก้น้องกาของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นหรือ JFA กันเป็นอย่างดี ถ้าพูดถึงอีกาคงหนีไม่พ้นภาพลักษณ์ด้านลบ แต่ถ้าลองมองดีๆ จะเห็นว่าน้องไม่ใช่กาธรรมดา เพราะน้องเป็นกาสามขาค่ะ! น้องพิเศษอย่างไร ทำไมสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นถึงเลือกน้องมาเป็นโลโก้ หาคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ สาเหตุที่สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นเลือกกาสามขาเป็นสัญลักษณ์สมาคม ก็เพื่อเป็นเกียรติให้กับคุณ “คาคุโนะสุเกะ นากามูระ” (Kakunosuke Nakamura) บิดาแห่งวงการลูกหนังญี่ปุ่นนั่นเอง คุณคาคุโนะสุเกะมีชีวิตระหว่างค.ศ. 1878 – 1906 เกิดที่เมืองนาชิ (ปัจจุบันคือเมืองนาชิคัตสึอุระ) จังหวัดวาคายามะ ต่อมาได้เข้ามาศึกษาในกรุงโตเกียว และในค.ศ. 1902 และได้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นตอนอยู่ปีสี่ ที่ Tokyo Higher Normal School ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฟุตบอลญี่ปุ่น ค.ศ. 1931 สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นกำหนดให้มีสัญลักษณ์ของสมาคมและได้ข้อสรุปว่า “จะเลือกจากสิ่งที่มีความเกี่ยวพันกับคุณคาคุโนะสุเกะ” ซึ่งบ้านเกิดของคุณคาคุโนะสุเกะมีตำนานเกี่ยวกับ “จักรพรรดิจิมมุ” ปฐมจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ตำนานระบุว่าหลังจากจิมมุได้รับชัยชนะที่คุมาโนะ (ตั้งอยู่ในจังหวัดวากายามะ) เทวีสุริยา “อามาเทราสึ” เทพหลักของศาสนาชินโตได้ส่ง “ยาตาการะสุ” (Yatagarasu) กาสามขาผู้รับใช้ลงมาช่วยชี้ทางให้จิมมุไปยังดินแดนยามาโตะ (แถบจังหวัดนาราในปัจจุบัน) เพื่อสร้างอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นและเป็นจุดกำเนิดของญี่ปุ่นอีกด้วย ทำให้คนญี่ปุ่นมองว่ากาสามขาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญในการสร้างชาติญี่ปุ่น ยาตาการะสึเป็นเทพผู้นำทาง แปลชื่อเป็นไทยได้ว่า “กาแปดช่วง” โดยหนึ่งช่วงนับจากนิ้วโป้งถึงนิ้วกลาง (ประมาณ 18… Read more »
รู้จักกับคุราตะกับการเล่นดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ถ้าพูดถึงการละเล่นดั้งเดิมเพื่อน ๆ นึกถึงอะไรกันบ้างคะ โดดยาง หมากเก็บ เป่ากบ อยากบอกว่าที่ญี่ปุ่นเขาก็มีการละเล่นดั้งเดิมเหมือนกันนะคะ วันนี้เราจะพาไปรู้จักการละเล่นดั้งเดิมของญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังคงเล่นกันแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ อีกทั้งยังมีการแข่งขันระดับประเทศอีกด้วย การละเล่นที่ว่าก็คือ “คารุตะ” (かるた) เราไปรู้จักที่มาและวิธีการเล่นคารุตะคร่าวๆกัน คารุตะที่คนญี่ปุ่นนิยมเล่นกันในปัจจุบันเรียกว่า “เฮียะคุนินอิชชุ คารุตะ” ซึ่งเฮียะคุนินอิชชุคือหนังสือที่รวบรวมบทกลอน 100 บทจากกวีผู้โด่งดัง 100 คนในช่วงสมัยอะซึกะถึงต้นสมัยคามาคุระ โดยกลอน 1 บทจะแบ่งออกเป็น 2 วรรคด้วยกัน ได้แก่ วรรคบน หรือ คามิโนะคุ (上の句) และวรรคล่าง หรือ ชิโมะโนะคุ (下の句) ส่วนคำว่า คารุตะ นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกส แปลว่ากระดาษสี่เหลี่ยม หรือไพ่ในปัจจุบันนั่นเอง ในการเล่นคารุตะ จะมีไพ่ 100 ใบ แต่ละใบเขียนบทกลอนเฮียะคุนินอิชชุไว้หนึ่งบท ในกรณีที่มีผู้เล่น 2 คน ก่อนอื่นให้คว่ำไพ่ทั้งหมด แล้วเอามากองตรงกลาง ผู้เล่นแต่ละคนจะเลือกไพ่คนละ 25 ใบ เปิดไพ่และเรียงเป็นสามแถวตรงหน้าตัวเอง… Read more »
ไมโกะและเกอิชาต่างกันอย่างไร? ไปดูกันเลย ถ้าพูดถึงเกียวโต หลายคนคงนึกถึงคำว่า “ไมโกะ” (舞妓) และคำว่า “เกอิชา”(芸者) หรือ เกโกะ (芸妓) พวกเธอทำหน้าที่มอบความบันเทิงทางด้วยศิลปะการแสดงให้กับแขก แล้ว “ไมโกะ” กับ “เกอิชา” ต่างกันอย่างไร? ไมโกะเปรียบเสมือนพริตตี้ในงานสังสรรค์หรือเปล่า? และเกอิชาคือนักดนตรีที่คอยบรรเลงเพลงในงานเลี้ยงนั้นใช่หรือไม่? วันนี้เราพาไปทำความรู้จักพวกเธอกัน! ไมโกะ มักจะพบเห็นได้ตาม 5 สถานที่ที่เรียกชื่อรวม ๆ ว่า “โกะคาไง” (五花街) ในเมืองเกียวโต ประกอบไปด้วย เมืองปนโตะ-โจ (先斗町), คามิชิจิ-เค็น (上七軒), เมืองมิยางะว่า-โจ(宮川町), กิออน-โคบุ (祇園甲部), และ กิออน-ฮิกาชิ (祇園東) เป็นอาชีพของผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงศิลปะร้องรำทำเพลง มอบความบันเทิงให้กับผู้ใช้บริการ ชาวญี่ปุ่นในแถบคันโตจะเรียกกันว่า “ฮังเกียวคุ” (半玉) ซึ่งหมายถึง “ไมโกะ” เช่นเดียวกัน ไมโกะ คือเด็กฝึกหัด ที่จะสามารถเข้าฝึกได้ตั้งแต่หลังเรียนจบการศึกษาชั้นมัธยมต้น ไปจนถึงช่วงก่อนอายุครบ 20 ปี นอกจากการร้องเพลง, ร่ายรำ และฝึกเล่นเครื่องดนตรีชามิเซ็นแล้ว พวกเธอยังจะต้องเรียนรู้เกี่1ยวกับการชงชา, การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น, มารยาทและวิธีการดูแลลูกค้า… Read more »
รู้จักกับไอคิโดศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น ที่ตัวละครในอนิเมะใช้ แต่ไม่ค่อยมีใครรู้ ไปดูกันเลย เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าในการ์ตูนเรื่อง Kimetsu no Yaiba หรือดาบพิฆาตอสูรนั้น ไม่ได้มีแค่ศิลปะการใช้ดาบของญี่ปุ่นอย่างเคนโด (剣道) สอดแทรกอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นอีกแขนงหนึ่งที่เรียกว่า “ไอคิโด” (合気道) แฝงอยู่ด้วย โดยตัวละครที่มีทักษะการต่อสู้นี้ก็คือ ยูชิโร อสูรหนุ่มผู้ติดตามทามาโยะ ที่คอยช่วยเหลือคามาโดะ ทันจิโร ตัวเอกของเรื่องและพวกพ้องนั่นเอง ซึ่งฉากที่ยูชิโรได้แสดงฝีมือทักษะไอคิโดก็คือฉากแรก ๆ ที่ตัวยูชิโรและทามาโยะได้เจอกับคามาโดะ ทันจิโร และน้องสาวในอนิเมะ แต่ในฉากนั้นยูชิโรไม่ได้ใช้ไอคิโดเพื่อต่อต้านอสูรร้ายที่ไหน แต่กลับใช้ฟัดกับคามาโดะ ทันจิโร ด้วยความหมั่นไส้นั่นเอง นอกจากยูชิโรแล้ว ตัวละครที่โด่งดังเรื่องทักษะไอคิโดอีกคนก็คือ โทยามะ คาซุฮะ เพื่อนสาวคนสนิทของ ฮัตโตริ เฮจิ ในการ์ตูนยอดนิยมตลอดกาลอย่างเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน หากมองเผิน ๆ แล้ว ฉากการต่อสู้ของโทยามะ คะซุฮะ ที่ใช้ไอคิโดกับฉากการต่อสู้ของ โมริ รัน ตัวละครเอกอีกตัวในเรื่องที่ใช้คาราเต้แล้ว อาจจะดูคล้ายคลึงกัน แต่ความจริงแล้ว หลักการคิดและท่าทางการฝึกฝนนั้นแตกต่างกันมาก วันนี้เราจะมาพารู้จักกับ “ไอคิโด” ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นอีกแขนงหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ไอคิโด เป็นศิลปะการต่อสู้ร่วมสมัยของญี่ปุ่นที่ยังมีประวัติศาสตร์ไม่ยาวนานนัก คิดค้นขึ้นโดยอุเอะชิบะ โมริเฮ… Read more »
ความหมายอันน่าสะพรึงของ Yubikiri Genman มีความหมายอย่างไรนั้นไปดูกันเลย “ゆびきりげんまん♪ 嘘ついたらはりせんぼん飲〜ますっ♪ 指きったっ♪”“Yubikiri Genman♪ Uso Tsuitara Hari Senbon Nomasu♪ Yubi Kitta♪” คือเนื้อเพลงเกี่ยวก้อยสัญญา “ยูบิคิริ เก็นมัง” ของเด็กญี่ปุ่นที่คุณอาจเคยได้ยินมาจากในซีรีส์ละครหรือการ์ตูนอนิเมะ ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เมื่อเด็ก ๆ จะสัญญาบางสิ่งกับเพื่อนหรือพ่อแม่ก็มักจะร้องเพลงนี้ในระหว่างเกี่ยวนิ้วก้อยกัน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายรักษาคำสัญญาที่ตกลงกันเอาไว้เป็นอย่างดี แต่ความจริงนั้น ใครจะรู้ว่าความหมายของเนื้อเพลงและการเกี่ยวก้อยสัญญา “ยูบิคิริ เก็นมัง” มันน่ากลัวเพียงใด ย้อนกลับไปในสมัยเอโดะ หญิงขายบริการในย่านนางโลมยุคนั้นมักนิยมส่งจดหมายถึงชายผู้ซื้อบริการที่เธอรักและคิดถึงมากเป็นพิเศษ เพื่อเป็นหลักฐานแทนใจแสดงความคิดถึงต่อชายคนนั้น ยิ่งไปกว่านั้น พวกเธอบางคนยังยอมตัดปลายนิ้วก้อยของตนเองแนบส่งไปด้วย เพื่อแสดงออกถึงความรักและเป็นเครื่องยืนยันว่ารักนั้นจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง โดยแฝงความหมายไว้ว่า “แม้มันจะเจ็บปวด แต่ขอให้รู้ว่าฉันรักคุณมากขนาดไหน” แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมดังกล่าวเป็นเพียงเทคนิคการเรียกลูกค้าให้กลับมาใช้บริการพวกเธออีกครั้งเพียงเท่านั้น มีหญิงขายบริการน้อยคนนักที่จะยอมตัดปลายนิ้วก้อยของเธอออกจริง ๆ ส่วนใหญ่มักจะส่งนิ้วปลอมให้แทน และจากนั้นมา “ยูบิคิริ” (指切) หรือการตัดนิ้ว ก็แพร่หลายสู่คนทั่วไปมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงเป็นขนมธรรมเนียมการเกี่ยวนิ้วก้อยสัญญา หรือ “ยูบิคิริ” (ゆびきり) เพื่อแสดงออกถึงการรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อกัน ส่วนความหมายของคำว่า “เก็นมัง” (げんまん) มาจากอักษรคันจิที่เขียนว่า “拳万” (เก็นมัง) หมายถึง… Read more »
ที่มาและความหมายของเสียงตะโกน TAMAYA เวลาดูดอกไม้ไฟของคนญี่ปุ่น มีความหมายว่าอย่างไรนั้นไปดูกันเลย หากใครเคยมีประสบการณ์ไปชมดอกไม้ไฟที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วละก็ อาจจะเคยมีประสบการณ์ ได้ยินคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเด็ก ๆ ญี่ปุ่นร้องตะโกนคำว่า “Ta Maya~” หรือ “Ka Giya~” ทุกครั้งเมื่อมีดอกไม้ไฟชุดใหญ่ถูกจุดขึ้นสู่บนท้องฟ้า คราวนี้เราจะมาเล่าถึงที่มา และความหมายของเสียงตะโกนเวลาชมดอกไม้ไฟของชาวญี่ปุ่นให้ฟังกัน หลาย ๆ ครั้งที่เราได้มีโอกาสไปชมความงามของดอกไม้ไฟที่เทศกาลดอกไม้ไฟในประเทศญี่ปุ่น เราอาจจะเคยได้ยินคนญี่ปุ่นรอบ ๆ ตัวร้องตะโกนคำว่า “Ta Maya~” หรือนาน ๆ ครั้งก็จะได้ยินคำว่า “Ka Giya~” กันใช่ไหมละ สำหรับความหมายและที่มาของคำร้องตะโกนดังกล่าวก็คือ ทั้ง 2 คำนั้น เป็นชื่อของร้านช่างทำดอกไม้ไฟที่ได้รับความนิยมมาก ๆ ในอดีตที่มีชื่อว่า ร้าน Tamaya (玉屋) และร้าน Kagiya (鍵屋) นั่นเอง ในช่วงยุคปี 1700 ที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่น มีการจัดงานเทศกาลดอกไม้ไฟที่มีชื่อว่า Ryokoku Kawabiraki หรือที่ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อเทศกาลดอกไม้ไฟ Sumidagawa นั่นเอง ในยุคนั้นร้านช่างทำดอกไม้ไฟที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากมีชื่อว่า ร้าน Kagiya ต่อมาราวปีค.ศ. 1808… Read more »
ไขข้องใจทำไมไอดอลญี่ปุ่นมักไว้หน้าม้า จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย เชื่อว่าคนไทยหลาย ๆ คนชื่นชอบไอดอลญี่ปุ่น และคอยติดตามเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็น มัตสึดะ เซโกะ มอร์นิงมุซุเมะ หรือ AKB48 ถ้าสังเกตจะพบว่าพวกเธอเหล่านี้มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือ ทุกคนไว้ “ผมหน้าม้า” เรียกได้ว่าไอดอลญี่ปุ่นไว้ผมหน้าม้ากันแทบทุกคน ในขณะที่ไอดอลฝั่งเกาหลีกลับไม่ค่อยไว้ผมหน้าม้ากันเท่าไหร่ เคยสงสัยไหมคะว่าเพราะอะไร วันนี้เราจะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จากการสอบถามอดีตไอดอลและช่างตัดผมกัน คุณอายะ อดีตไอดอลใต้ดิน (ไอดอลที่ไม่ได้เปิดตัวกับค่ายเพลงและไม่ค่อยเป็นที่โด่งดัง) ที่ทั้งร้องทั้งเต้นและจับมือกับแฟน ๆ ในย่านอะคิฮาบาระและอิเคะบุคุโระตั้งแต่อายุ 19 ถึง 22 และจบการศึกษาจากวงเมื่อปี 2019 เนื่องจากทนกับการทำหน้ายิ้มตลอดไม่ไหว เล่าว่า ตัวเธอเองคิดว่าเหตุผลที่ไอดอลญี่ปุ่นมักจะไว้ผมหน้าม้าเพราะคนญี่ปุ่นชอบผู้หญิงน่ารักมากกว่าผู้หญิงสวย ซึ่งความคิดแบบนี้น่าจะมาจากทัศนคติผู้ชายเป็นใหญ่ที่มีมาแต่สมัยก่อน ตั้งแต่ยุคเมจิความคิดที่ว่าพ่อเป็นประมุขของบ้านเป็นที่แพร่หลาย ทำให้ผู้ชายมีบทบาทอย่างมากในสังคม จนเมื่อถึงยุคหลังสงครามที่นายพลแมกอาร์เธอร์เข้ามาถึงได้ยกเลิกระบอบผู้ชายเป็นใหญ่ และเริ่มรับวัฒนธรรม Lady First เข้ามา แต่ตัวผู้ชายเองคงคิดว่าการมีผู้หญิงมาปกป้องมันน่าอาย ก็เลยอยากจะแข็งแรงกว่าผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงที่ดูน่ารักเป็นที่ชื่นชอบ คนที่เป็นแฟนคลับและทุ่มเทเงินให้กับไอดอลก็เป็นผู้ชายมีอายุที่โตมาในยุคโชวะทั้งนั้น การไว้ผมม้าเพื่อให้ตัวเองดูน่ารัก จะทำให้เหล่าแฟนคลับรู้สึกอยากปกป้องไอดอลของตน เป็นเหตุให้ไอดอลญี่ปุ่นชอบไว้ผมม้าเพื่อคงความน่ารัก ดูอ่อนเยาว์เอาไว้นั่นเอง คุณอายะเล่าอีกว่าถ้าเป็นแฟนคลับผู้หญิงมักจะชอบไอดอลที่ดูเท่มากกว่า ประมาณว่าเป็นผู้หญิงที่เนื้อหอมในหมู่สาว ม. ปลาย สำหรับแฟนคลับผู้หญิงแล้ว การไม่ไว้ผมหน้าม้า การมีกล้ามท้อง และการแสดงออกที่ดูเป็นผู้ใหญ่จะเป็นที่ชื่นชอบ อย่างไอดอลเกาหลีส่วนมากจะเป็นไอดอลแนวสวยสง่าเสียมากกว่า ส่วนแฟนคลับผู้ชายวัยรุ่นที่อายุน้อยลงมาเหมือนจะไม่อินกับทัศนคติแบบเก่า ๆ… Read more »
4 พฤติกรรมของคนเมาที่คนญี่ปุ่นคิดว่ารับมือได้ยาก มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
รู้จักกับ คิวบะจุตสึการขึ่ม้ายิงธนู ที่ส่งผลต่อมารยาททางสังคมของคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย คิวบะจุตสึ (弓馬術) ประกอบด้วยตัวคันจิสามตัว ได้แก่ ยูมิ (弓) ที่แปลว่าธนู อุมะ (馬) ที่แปลว่าม้า และ วาซะ (術) ที่แปลว่าศาสตร์ พอเอามารวมกันแล้วจะแปลได้ว่าศาสตร์การขี่ม้ายิงธนูนั่นเอง คิวบะจุตสึนี้เป็นศาสตร์การต่อสู้โบราณของญี่ปุ่นที่ผู้ฝึกจะต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมาก และมีไม่กี่ที่เท่านั้นที่สามารถฝึกสอนได้ วันนี้เราจะพาไปรู้จักศาสตร์การขี่ม้ายิงธนูแขนงโอกะซะวาระริว หรือ โอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึ (小笠原流弓馬術) ซึ่งถือเป็นแขนงหลักอันสำคัญของคิวบะจุตสึ นอกจากนี้ วิถีการฝึกฝนของโอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึยังส่งผลถึงท่าทางและมารยาททางสังคมของคนญี่ปุ่นในปัจจุบันอีกด้วย ศาสตร์การต่อสู้จะเกี่ยวกับมารยาททางสังคมได้อย่างไร เราไปดูกัน โอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึ คิดค้นขึ้นในสมัยคามาคุระ โดยโอกะซะวาระ นางะคิโยะ ต้นตระกูลนามสกุลโอกะซะวาระ เมื่ออายุได้ 26 ปี โอกะซะวาระ นางะคิโยะ ได้เป็นอาจารย์ผู้สอนคิวโฮ (糾方) หรือวิธีการเคารพและทักษะในการฝึกคิวบะจุตสึ และลูกหลานของเขาก็ได้สืบทอดศาสตร์แขนงนี้มารุ่นต่อรุ่น จนมีการจดบันทึกและรวบรวมศาสตร์ดังกล่าวออกมาเป็นหนังสือชื่อชูชินรง (修身論) และไทโยรง (体用論) ซึ่งได้กลายเป็นพื้นฐานการฝึกฝนที่ใช้กันในปัจจุบัน ในสมัยเมจิ มีการก่อตั้งโรงฝึกวิธีการเคารพของคิวบะจุตสึ และมีการเพิ่มวิธีการเคารพเหล่านี้ลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนสตรีในญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นมารยาททางสังคมที่พึงปฏิบัติในปัจจุบัน การฝึกฝนโอกะซะวาระริว คิวบะจุตสึนั้น ขอบอกว่าไม่ง่ายเลย เพราะผู้ฝึกต้องขัดเกลาทักษะด้วยกัน… Read more »