รู้หรือไม่? จริงๆแล้วเครื่องรางญี่ปุ่นต้องพกกันยังไง เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย คนญี่ปุ่นก็มีเครื่องรางหรือโอมาโมริ (お守り) ที่มักพกติดตัวไว้เพื่อเป็นของขลังเหมือนคนไทย โดยดีไซน์ของเครื่องรางมีหลากหลายซึ่งบ้างมีความสวยงามจนสามารถพกติดตัวได้เหมือนเครื่องประดับเลยค่ะ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งประเภทเครื่องรางแบบเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของผู้ที่พกถือ ซึ่งทำให้วิธีการพกก็มีความเชื่อหลากหลายเหมือนกัน สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจหรือชอบซื้อเครื่องรางญี่ปุ่นมาพกไว้ เรามาทบทวนวิธีการพกเครื่องรางที่ถูกต้องกัน แม้คนญี่ปุ่นบางคนจะมีความเชื่อว่าถ้าพกเครื่องรางที่ได้จากศาลเจ้าคนละที่จะทำให้เทพเจ้าของศาลเจ้านั้นๆ ทะเลาะกัน แต่ในความจริงแล้ว สิ่งที่ต้องระวังโดยพื้นฐานคือห้ามนำเครื่องรางที่มีเทพเจ้าที่มีความสัมพันธ์ไม่ดี 2 องค์ไว้ด้วยกัน “เครื่องราง” เปรียบเหมือนเป็นเทพเจ้าองค์เล็กที่คอยคุ้มครองเราอยู่ และเพราะนับเป็น “เทพเจ้า” นั่นเอง ผู้ที่พกจึงต้องให้ความเคารพ การที่คิดว่าแค่พกไว้ก็ทำให้โชคดี หรือสมปรารถนาเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะ “เทพเจ้าองค์เล็ก” จะช่วยดึงคนหรือสิ่งต่างๆ ที่ดีมาให้เราต่างหาก ดังนั้น แค่พกไว้ก็ไม่ใช่ว่าจะสมหวัง เพราะต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้ที่พกเองด้วย เครื่องรางแต่ละแบบต่างมีสถานที่ที่ควรพกไว้ซึ่งต่างกันไปตามจุดประสงค์ของเครื่องรางนั้นๆ ดังนี้ เครื่องรางด้านความรักเราไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเจอรักได้เมื่อไร เพราะฉะนั้นเครื่องรางด้านความรังควรถูกพกติดกับสิ่งของที่ถือติดตัวตลอด จะเป็นกระเป๋าใส่บัตร ในกระเป๋าถือ หรือสอดไว้ในสมุดจดก็ได้ เครื่องรางด้านการเรียนและสอบควรพกไว้ในเครื่องเล่นที่ใช้ฟังหรือกล่องดินสอ และมีความเชื่อว่าช่วงก่อนสอบให้นำเครื่องรางมาถือไว้ด้วยสองมือแล้วขอพรให้สอบผ่าน เครื่องรางด้านสุขภาพและครอบครัวพกติดกระเป๋าที่ถือทุกวัน หรือถ้าเป็นเครื่องรางที่เป็นแบบยาวจะห้อยไว้ที่รถเข็นเด็กก็ได้ สำหรับเครื่องรางให้โชคด้านขอบุตรหรือการคลอดอย่างปลอดภัยนั้น มีความเชื่อว่าให้เก็บไว้ในกระเป๋าที่ถือทุกวัน หรือใส่ไว้กับสายรัดท้องแล้วขอพรทุกวัน เครื่องรางขจัดเคราะห์เครื่องรางขจัดเคราะห์เป็นเครื่องรางสำหรับขจัดสิ่งไม่ดีหรือเจ็บไข้เพื่อให้มีชีวิตที่สงบสุขได้ ให้ใส่ในกระเป๋าเสื้อหรือใส่ในกระเป๋าที่ถือทุกวัน นอกจากนี้ ยังนิยมพกสำหรับปีชงตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นอีกด้วย เครื่องรางอื่นๆเครื่องรางอื่นๆ เช่นเครื่องรางที่ให้โชคทางการเงิน หรือให้มีเงินเก็บมากขึ้นนั้น นิยมใส่ไว้ในกระเป๋าเงินหรือตู้เซฟ สำหรับเครื่องรางโอฟุดะที่มีไว้เพื่อขอพรให้มีแต่ความสุขนั้น มีความเชื่อว่าควรวางไว้บนหิ้งพระหรือติดไว้ที่กำแพงหรือเสาฝั่งทิศเหนือหรือทิศใต้ โดยให้โอฟุดะหันไปทางทิศใต้หรือทางตะวันออก เพื่อขอให้… Read more »
ไขข้องใจ? ฮกไกโดไม่มีแมลงสายจริงหรอ? เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ที่ญี่ปุ่นเขาเชื่อกันว่า “ฮอกไกโดไม่มีแมลงสาบ” เชื่อจริงจังจนถึงขนาดที่มีรายการโทรทัศน์ชื่อดังอย่าง “Monday Lateshow” (月曜から夜ふかし) ลงพื้นที่โดยนำแมลงสาบใส่กล่องใสไปให้ชาวฮอกไกโดดู ผลที่ได้คือชาวฮอกไกโดตื่นเต้นมากเพราะไม่เคยเห็นมาก่อน ส่วนตัวก็เคยได้ยินมาเหมือนกันแต่ยังเชื่อในความสามารถของแมลงสาบ จึงเกิดบทความนี้ขึ้นเพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าว จุดอ่อนอย่างหนึ่งของแมลงสาบคือ พวกมันไม่ทนต่อความเย็นค่ะ โดยทั่วไปแมลงสาบแพร่พันธุ์ได้ยากและไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิตํ่ากว่า 20 องศาเซลเซียส (แต่ก็มีบางครั้งที่พวกมันไม่ตายนะคะ) ดังนั้นแมลงสาบจึงไม่ค่อยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นจัด แต่มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ร้อนชื้น ฮอกไกโดตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของญี่ปุ่น ในช่วงฤดูหนาวมีบางวันที่อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียสโดยเฉพาะทางตะวันออกและทางตอนเหนือ แมลงสาบจึงไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่หนาวจัดเช่นนี้ได้ เป็นที่มาของความเชื่อที่ว่าฮอกไกโดเป็นพื้นที่ที่ไม่มีแมลงสาบอาศัยอยู่ได้ แต่เดี๋ยวก่อน…ที่ว่ามามันจริงเหรอ? ปัจจุบันพูดไม่ได้เต็มปากแล้วว่าที่ฮอกไกโดไม่มีแมลงสาบ อาจจะมีน้อยกว่าภูมิภาคอื่นแต่ก็มีให้เห็นได้ ส่วนใหญ่จะพบที่ซัปโปโรซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและความเจริญในเกาะฮอกไกโด ปัจจัยที่ทำให้แมลงสาบมีชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิตํ่าได้ก็คือ “การใช้เครื่องทำความร้อน” นั่นเอง การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ทำความร้อนในครัวเรือนและสำนักงานห้างร้านต่างๆ นอกจากจะให้ความสะดวกสบายกับมนุษย์แล้ว ยังต่อชีวิตให้กับพวกแมลงสาบที่ไม่ถูกกับความเย็นอีกด้วย แมลงสาบที่พบในฮอกไกโดเป็นส่วนใหญ่แมลงสาบเยอรมัน (Blattella germanica) เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 4 ซม. แต่แมลงสาบที่มักพบในฮอกโกโดจะมีขนาดเล็กกว่าปกติครึ่งหนึ่ง และที่สำคัญคือพวกมันไม่บินค่ะ! คาดว่าเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศ สาเหตุหลักที่แมลงสาบมาถึงฮอกไกโดได้คาดว่าเป็นเพราะการขนส่ง โดยเฉพาะการติดมากับกล่องลัง เพราะกล่องลังมีช่องว่างที่ทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกอย่างดี และมีช่องว่างทำให้สามารถวางไข่ได้ง่าย จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาจึงสามารถสรุปได้ว่าปัจจุบันถึงจะมีน้อย แต่ที่ฮอกไกโดก็มีแมลงสาบนะ! โดยส่วนใหญ่จะอยู่ตามย่านการค้าที่มีร้านกินดื่มหรือย่านที่มีคนพลุกพลานมากกว่าตามครัวเรือน เนื่องจากมีการใช้เครื่องทำความร้อนตลอดและมีการสะสมกล่องลังที่เป็นเสมือนแหล่งอนุบาลของแมลงสาบมากกว่าที่อยู่อาศัย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนฮอกไกโดส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจอแมลงสาบ และต่อให้เจอก็อาจจะไม่รู้ว่ามันคือแมลงสาบ แต่สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ถ้าอยากรู้ต้องลองไปพิสูจน์ที่ฮอกไกโดดู
3 คำ 3 ความหมายและความลุกซึ้ง ของคำว่า “หัวใจ” ในภาษาญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เรียนภาษาญี่ปุ่นมาก่อน ผมอยากจะขอเกริ่นสักนิดว่า ภาษาญี่ปุ่นสำหรับเราชาวไทยแล้ว เป็นภาษาที่ซับซ้อนวุ่นวายเป็นที่สุดภาษาหนึ่ง เพราะนอกจากความยุ่งยากในเชิงไวยกรณ์ที่ตรงข้ามกับภาษาไทยโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังมีเรื่องตัวอักษร และสิ่งที่แสนจะซับซ้อน (แต่ช่างงดงาม) เป็นที่สุด คือความหมายและวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับภาษาของพวกเขานั้น เป็นอะไรที่ไม่สามารถบรรยายได้หมด แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็อยากจะยกเอาความซับซ้อน แต่งดงามนั้น มาบอกเล่า ขยายความให้เพื่อน ๆ ได้อ่านและเข้าใจความหมายของคำว่า “หัวใจ” ที่มีอยู่ด้วยกันถึง 3 คำเลยทีเดียวครับ ในภาษาญี่ปุ่นมีถึง 3 คำ ที่ใช้ในการอธิบายคำว่า “หัวใจ”…คำแรก คือคำว่า “ชินโซ”「心臓」หมายถึงหัวใจที่เป็นอวัยวะในเชิงกายภาพ เต้นตุบตับอยู่ในร่างกายของเรา และบ่งบอกว่าเรายังมีชีวิตอยู่นั่นเอง ถ้าบังเอิญมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นเดินมาบอกว่า “ฉันเจ็บชินโซเหลือเกิน” ให้รีบพาเขาไปหาหมอนะครับ!! เพราะเขาไม่ได้กำลังเจ้าบทเจ้ากลอนอยู่แน่ ๆ… คำต่อมาคือคำว่า “ฮาตโตะ”「ハート」ซึ่งเป็นคำยืมที่มาจากคำว่า Heart ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคนญี่ปุ่นใช้เพื่อสื่อความหมายคำว่าหัวใจที่เป็นรูปทรง สุดจะหวานหยดในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ ใครโสดอย่าได้ไปญี่ปุ่นเชียวนะครับ จะเจ็บ “หัวใจ” ไม่รู้ตัว!! และคำสุดท้าย คือคำว่า “โคะโคะโระ”「心」ที่ซับซ้อนเป็นที่สุด เพราะถ้าให้นึกถึงคำในภาษาไทยมาเทียบ… Read more »
3 คำพูดน่ารักๆ เกี่ยวกับท้องในภาษาญี่ปุ่น มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย ไม่ว่าภาษาใดในโลก ล้วนแล้วแต่สะท้อนความคิด หรือ วัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ ไว้ในภาษาทั้งสิ้น…ภาษาญี่ปุ่นชาติที่มีความน่ารักและมีความคิดที่ซับซ้อนก็ไม่น้อยหน้า วันนี้ผมจะมาแนะนำ 3 คำพูดเกี่ยวกับ “ท้อง” ที่มีที่มาที่ไปน่ารัก ๆ ในภาษาญี่ปุ่นไว้ให้เพื่อน ๆ นำไปใช้กันนะครับ! เบะสึบะระ เกิดจากการรวมกันของคำว่า แบ่ง, แยก และคำว่า ท้อง แปลตรง ๆ เข้าใจง่าย ๆ ว่า ท้องที่แยกกัน คือแยกระหว่างของคาวและของหวาน หรือในภาษาไทยเรามักชอบพูดว่า “มีก๊อกสอง!” มักจะใช้ในเวลาที่เรากินของคาวอิ่มแล้ว แต่บังเอิ๊ญบังเอิญของหวานก็ยกมาเสิร์ฟซะงั้น จะอิ่มยังไงไหว!! ตะโกนออกไปเลยครับ “เบะสึบะระเดส!!” ฮะระทัตตะ เกิดจากการรวมกันของคำว่า ท้อง และคำว่า ยืน ในที่นี้ต้องย้อนกลับไปสู่ความคิดแบบโบราณที่คนสมัยก่อนเชื่อว่าหัวใจคนเรานั้นอยู่ที่ท้อง อารมณ์และความคิดต่าง ๆ จึงถูกส่งมาจากท้องของเรานั่นเอง ในขณะที่คำว่า ยืน มีความหมายซ้อนอีกความหมายว่า ทำให้เข้มข้น เดือดดาล「激する」จึงเป็นที่มาของคำนี้ที่แปลว่า โกรธ นั่นเองครับ รู้แบบนี้แล้ว “ผมนี่ยืนขึ้นเลยครับ!!” ฮะระเฮตตะ เกิดจากการรวมกันของคำว่า ท้อง… Read more »
โคะอิและอะอิ ความเหมือนที่แตกต่างกับรักในภาษาญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย สำหรับภาษาไทย ถ้าจะพูดถึงคำว่า “รัก” เราก็คงจะนึกถึงแต่คำว่า “รัก” ใช่ไหมครับ? เอ๊ะ พูดเองก็งงเอง! แต่เอาเป็นว่าถ้าเราพูดถึงภาษาญี่ปุ่น จะมีคำที่มีความหมายว่า “รัก” อยู่ 2 คำด้วยกัน แต่กลับเป็น “รัก” ที่มีนัยยะแตกต่างกันอย่างน่าสนใจ นั่นก็คือคำว่า “โคะอิ”「恋」และคำว่า “อะอิ”「愛」นั่นเองครับ “โคะอิ”…ซุรุ ฟอจูนคุกกี้~ คงจะเป็นคำคุ้นหูของชาวไทย ใหม่แกะกล่องหมาด ๆ แต่ความหมายอันลึกซึ้งของ โคะอิ คือความรักในลักษณะที่เป็นทางเดียว เสมือนเป็นแรงส่งโดยตัวของมันเอง เกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระ เหมือนต้องการความผูกพัน แต่ไม่ผูกพัน ฝันใฝ่ แต่ไม่คาดหวัง มีความมุ่งมั่น แต่เผื่อใจให้กับความล้มเหลว – ความรักโรแมนติก ความปรารถนา ความต้องการ ความคลั่งไคล้ ความหลงใหล เหล่านี้ล้วนเป็น “โคะอิ” ทั้งสิ้น มาถึงตรงนี้ พอจะแยกออกไหมครับเพื่อน ๆ ว่าความรักของ 2 คำนี้ แตกต่างกันตรงไหน? อย่างไรกันแน่? ถ้ายังแยกไม่ออก ก็ขอให้นึกถึงภาพความรักที่เต็มเปี่ยมด้วยแรงปรารถนา มุ่งหวัง และต้องการอยู่เสมอให้เป็นภาพแทน… Read more »
ความลับและที่มาของคำว่า SAKANA ในภาษาญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย 魚 (さかな : Sakana) ที่แปลว่า ปลา น่าจะเป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องผ่านตามาแน่นอน แต่ทราบไหมคะว่าคันจิตัว 魚 สามารถอ่านว่า うお : Uo ได้อีกด้วย ถึงแม้จะเป็นคันจิตัวเดียวกันแต่เสียงอ่านต่างกันแบบนี้ แล้วมันมีวิธีการใช้ต่างกันอย่างไร และจากคำอ่านว่า Uo เปลี่ยนมาเป็น Sakana ได้อย่างไร ไปดูที่มาที่น่าสนใจของคำว่า Sakana กันค่ะ ในต่างจังหวัดบางพื้นที่ของญี่ปุ่นมีการใช้คำว่า Uo กับ Sakana ในความหมายแตกต่างกันไป อย่างเช่นในสมัยก่อน บางพื้นที่ก็เรียกปลาในแม่น้ำว่า Uo และเรียกปลาในทะเลว่า Sakana นอกจากนี้ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา แน่นอนว่าคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นก็จะไม่ค่อยได้ทานปลาทะเล แต่จะนิยมทานปลาจากแม่น้ำแทน ซึ่งดูเหมือนว่าผู้คนในพื้นที่นั้นจะเรียกปลาที่ปรุงเป็นอาหารแล้วว่า Uo และเรียกปลาที่ยังว่ายน้ำอยู่ว่า Sakana แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาคคันโตกับภูมิภาคคันไซ ในภูมิภาคคันไซจะใช้คำว่า Uo มากกว่าภูมิภาคคันโต โดยข้อมูลจากหนังสือสำเนียงนานิวะที่ตีพิมพ์ในสมัยเอโดะ คำว่าร้านขายปลา ในโอซาก้าจะใช้คำว่า Uoya ส่วนในเอโดะจะใช้คำว่า Sakanaya ใน Nihon Shoki หรือพงศาวดารญี่ปุ่น และ… Read more »
ตำแหน่งมือและสีของแมวกวัก MANEKI NEKO มีความหมายไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย Maneki Neko (招き猫) หรือ แมวกวัก เป็นหนึ่งในเครื่องรางนำโชคตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะตั้งรูปปั้นตุ๊กตาแมวกวักไว้หน้าร้าน โดยเชื่อว่าแมวจะกวักเงิน กวักทอง กวักเรียกลูกค้าเพื่อให้กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรือง แต่คุณทราบหรือไม่ว่าในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแมวกวักที่นำโชคด้านค้าขายเท่านั้น ยังมีแมวกวักนำโชคอีกหลายรูปแบบ หลากหลายสีสันที่มีความหมายแตกต่างกันออกไปอีกด้วย รูปปั้นตุ๊กตาแมวกวักโดยทั่วไปมักจะอยู่ในท่ายกมือ (ขา) ข้างเดียวขึ้นมา ราวกับว่ากำลังกวักเชื้อเชิญลูกค้า โชคลาภ เงินทอง ฯลฯ ตามของเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งคล้ายคลึงกับความเชื่อเรื่อง “นางกวัก” ของประเทศไทย ในความเชื่อของชาวญี่ปุ่น เชื่อว่าแมวกวักนำโชคที่ยกมือขวาจะ “เพิ่มเงินทองและโชคลาภ” มักนิยมใช้รูปปั้นตุ๊กตาแมวเพศผู้ ส่วนแมวกกวักที่ยกมือซ้ายจะ “เรียกแขก เรียกลูกค้า” ซึ่งแมวกวักทั้ง 2 แบบต่างก็มีความหมายด้านโชคลาภเงินทองในการค้าขายเช่นเดียวกัน ส่วนแมวกวักที่ยกมือขึ้นทั้งสองข้าง มีความหมายเหมือนนำแมวกวักที่ยกมือขวาและซ้ายมารวมกัน คือ “เพิ่มเงินทองโชคลาภและเรียกลูกค้า” แต่ทว่า การยกมือขึ้นสองข้างพร้อมกันเป็นแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มีความหมายในภาษาญี่ปุ่นว่า “Banzai wo suru” 「バンザイをする」(การโห่ร้องไชโย), “Oteage”「お手上げ」(การยกมือทั้งสองข้างขึ้นเพื่อแสดงท่าทางว่าเราหมดตัว/ยอมจำนนแล้ว) ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าผู้ทำกิจการค้าขายก็มักจะพูดว่า “Banzai wo suru”「バンザイをする」หรือ “Oteage”「お手上げ」ในกรณีที่กิจการร้านค้าขายไม่ดีอีกด้วย เพราะฉะนั้น แมวกวักที่ยกมือขึ้นทั้งสองข้างจึงไม่นิยมนำมาตั้งที่หน้าร้านค้าด้วยเหตุนี้เอง และมักจะนำแมวกวักสองข้างไปตั้งไว้ที่บ้านพักเสียมากกว่า ส่วนตำแหน่งการวางแมวกวักที่ถูกต้อง… Read more »
Kumihimo ศิลปะการาถักเชือกแบบญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศิลปะ วัฒนธรรมเก่าแก่ต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือหัตถกรรมการถักเชือก หรือที่เรียกกันว่า “Kumihimo” (組み紐) ซึ่งหลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยคำนี้มาจากภาพยนตร์ชื่อดัง Your name ซึ่งออกฉายในปี 2016 นั่นเอง ลองมาทำความรู้จักหัตถกรรมนี้กันค่ะ Kumihimo ศิลปะการถักเชือกแบบญี่ปุ่นนี้ คือการนำเชือกหรือด้ายไหมมาถักทอลายเป็นเชือกที่มีลวดลายหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเชือกทรงกลมหรือแบนก็ตาม ส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่บนโอบิ (ผ้าคาดของชุดกิโมโน) หรือผูกคู่กับด้ามดาบของนักรบซามูไรในอดีต ในส่วนของวิธีการทำนั้น จะนำเชือกมามัดรวมกันแบ่งเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนนั้นจะถูกจัดวางบนอุปกรณ์ที่ใช้ถักทอหน้าตาคล้ายโต๊ะตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า “Marudai” (丸台) แล้วเริ่มต้นถักเชือกสลับไปมาให้เกิดลวดลายตามที่ต้องการตามแบบ ถือเป็นการฝึกสมาธิอย่างมากเลยทีเดียว เพราะถ้าจัดลำดับการถักผิดพลาดไปจะทำให้ลวดลายที่ต้องการนั้นผิดเพี้ยนไปได้ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้การถักง่ายดายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการอธิบายวิธีการที่เข้าใจได้ง่าย สามารถพกพาไปทำได้ทุกที่ มีทั้งแผ่นถักที่มีลักษณะวงกลมและสี่เหลี่ยมขึ้นอยู่กับแบบและลวดลายที่สนใจจะทำ แผ่นถักเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำมาจากโฟมที่มีการระบุช่องตัวเลข พร้อมคู่มืออธิบายว่าถ้าต้องการทำลวดลายไหนต้องโยกย้ายด้ายไปในทิศทางใดบ้าง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์งานฝีมือทั่วไป ขอเตือนไว้ว่าจะได้ลวดลายเสร็จสมบูรณ์นั้น ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมากนะคะ ผู้เขียนขอเอาใจช่วยคนที่อยากลองเริ่มต้นทำ ผลลัพธ์ที่ได้เราจะภูมิใจมากค่า
โอนิกิริ กับ โอมุสุบิ เหมือนหรือแตกกต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย “โอนิกิริ” เป็นอาหารญี่ปุ่นที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยทานกันใช่มั้ยคะ สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นหนึ่งในอาหารที่คนญี่ปุ่นนิยมทำใส่เบนโตะไปทานเป็นมื้อกลางวัน โดยปกติแล้ว ข้าวปั้น มักจะเรียกกันว่า “โอนิกิริ” แต่ก็ยังมีอักคำที่หมายถึงข้าวปั้นเช่นกัน คือ “โอมุสุบิ” แล้วทั้ง 2 คำนี้มีความแตกต่างกันตรงไหน? รูปร่าง? วิธีทำ? ต้นกำเนิด? หรือจะไม่ต่าง? เราลองไปศึกษาจากทฤษฎีที่น่าสนใจกันค่ะ ต้นกำเนิดของโอนิกิริค่อนข้างเก่าแก่ เล่ากันว่ามีมาตั้งแต่สมัยยาโยอิ มีการขุดค้นพบก้อนข้าวคล้ายโอนิกิริที่มีร่องรอยเหมือนเป็นการปั้นด้วยมือในซากโบราณสถานสมัยยาโยอิ แต่รูปร่างของข้าวปั้นในยุคปัจจุบันดูเหมือนจะมาจากสมัยเอโดะมากกว่า โดยในอดีตข้าวปั้นมักจะเป็นอาหารพกพาของพวกซามูไร ความแตกต่างระหว่าง “โอนิกิริ” กับ “โอมุสุบิ” มีหลากหลายทฤษฎี โดยรวมแล้วแต่ละแบบได้อธิบายไว้ดังนี้ ในส่วนของ “โอนิกิริ” กล่าวว่าเป็นคำที่ใช้เรียกกันในฝั่งตะวันตก หรือบางทฤษฎีก็ว่าเรียกกันเป็นส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น มีพื้นฐานมาจากการจับข้าวโดยใช้แรง ทำให้ได้ชื่อว่า “นิกิริเมชิ” และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โอนิกิริ” บางทฤษฎีก็ว่าเป็นข้าวปั้นที่ปั้นโดยการใช้เครื่องมือ หรือในส่วนของหน้าตา ก็ว่าเป็นข้าวปั้นทรงกลมที่ห่อหุ้มด้วยสาหร่ายชุ่ม ๆ ทั้งก้อน ในส่วนของ “โอมุสุบิ” กล่าวว่าเป็นคำที่ใช้เรียกกันในฝั่งตะวันออก หรือบางทฤษฎีก็ว่าเรียกกันในพื้นที่จากคันโตไปยังโทไคโด ใช้เรียกข้าวปั้นที่ทำโดยสตรีชนชั้นสูงในยุคเฮอัน มีรูปทรงสามเหลี่ยม เนื่องจากในอดีตชาวญี่ปุ่นโบราณจะเชื่อว่าภูเขาคือพระเจ้า จึงได้ปั้นข้าวปั้นให้เป็นรูปร่างสามเหลี่ยมคล้ายภูเขาเพื่อที่เวลาทานจะได้เหมือนกับได้รับพรรับพลังจากพระเจ้า บางทฤษฎีก็ว่าเป็นข้าวปั้นที่ปั้นด้วยมือ… Read more »
ตำนานเนโกะมาตะ จากแมวชราสู่แมวปีศาจ เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย แม้ปัจจุบันญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย แต่จริงๆ แล้วญี่ปุ่นเองก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีตำนาน เรื่องเล่าขาน หรือนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับปีศาจในแทบทุกจังหวัดของประเทศ โดยในสมัยโบราณคนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าปีศาจคือสิ่งมีชีวิตที่กลายร่างมาจากสรรพสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบกายมนุษย์ เช่น ก้อนหิน ต้นไม้ หรือแม้กระทั่งสัตว์ต่างๆ ก็สามารถกลายร่างเป็นปีศาจได้เช่นกัน และหนึ่งในตำนานสัตว์ปีศาจที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น “เนโกะมาตะ” (猫又) หรือก็คือปีศาจแมวสองหางนั่นเอง ตามตำนานกล่าวว่าเนโกะมาตะ เดิมคือแมวที่เคยใช้ชีวิตในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ หรือแมวธรรมดาทั่วไปๆ ที่อาศัยอยู่บนภูเขา แต่เนื่องจากมีอายุที่ยืนยาวมากกว่าแมวปกติทั่วไป จึงกลายร่างเป็นแมวปีศาจเนโกะมาตะ ส่วนลักษณะรูปร่างนั้นโดยทั่วไปจะมีเขี้ยวเล็บที่แหลมคมกว่าแมวปกติ มีลักษณะร่างกายและการเคลื่อนไหวที่ต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีลักษณะผิดแปลกอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับตำนานของแต่ละท้องถิ่น แต่จะมีลักษณะเด่นที่เหมือนกันคือมีหางงอกออกมาสองหาง นอกจากนี้ยังกล่าวกันว่า ตำนานของเนโกะมาตะไม่ได้ปรากฏอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ในประเทศจีนเองก็มีตำนานของแมวปีศาจที่มีลักษณะเหมือนกับเนโกะมาตะเช่นกัน แต่ตามตำนานของประเทศจีนจะกล่าวเพิ่มเติมว่าแมวสีขาวจะมีโอกาสกลายร่างเป็นเนโกะมาตะมากกว่าแมวสีอื่นๆ กล่าวกันว่าในสมัยโบราณเคยมีผู้พบเห็นเนโกะมาตะปรากฏตัวอยู่บริเวณหุบเขาคุโรเบะ จังหวัดโทยามะ แต่เดิมปีศาจตัวนี้เป็นเพียงแมวแก่ชราธรรมดาที่อาศัยอยู่บริเวณภูเขาไฟฟูจิ แต่โชคร้ายเนื่องจากมีกองกำลังทหารขึ้นไปล่าสัตว์ป่าในบริเวณที่มันเคยอาศัยอยู่ มันพยายามต่อสู้กับพวกทหารเพื่อรักษาถิ่นที่อยู่ของมันไว้ แต่ท้ายที่สุดมันก็จำใจต้องหลบหนีออกจากภูเขาไฟฟูจิ และย้ายไปอาศัยอยู่บริเวณหุบเขาคุโรเบะแทน หลังจากนั้นมันก็ได้กลายร่างเป็นเนโกะมาตะ และได้เริ่มออกอาละวาดไล่ล่าฆ่าผู้คน สร้างความหวาดกลัวให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นอย่างมาก จนในที่สุดมันก็ถูกพบโดยกลุ่มนักล่าสัตว์กลุ่มหนึ่ง แต่ด้วยรูปลักษณ์และท่าทีที่ดูน่าหวาดกลัว ทำให้ไม่มีนักล่าสัตว์คนไหนกล้าที่จะเข้าไปต่อสู้กับมัน หลังจากที่ยืนจ้องมองท่าทีกันอยู่ชั่วครู่ เนโกะมาตะก็ล่าถอยและหลบหนีลงจากหุบเขาไป ทำให้หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณนั้นกลับเข้าสู่ความสงบสุขอีกครั้ง และหลังจากนั้นก็ได้มีการเรียกจุดที่กลุ่มนักล่าสัตว์ได้พบเห็นเนโกะมาตะว่า “ภูเขาเนโกะมาตะ” (猫又山, Nekomatayama) (ตามภาพด้านบน) ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการปีนเขา