Tag Archives: ญี่ปุ่น

ป้าย マナーモード ในรถไฟญี่ปุ่น คืออะไร?

      Comments Off on ป้าย マナーモード ในรถไฟญี่ปุ่น คืออะไร?

ใครที่เคยเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นแล้วเลือกเดินทางโดยรถไฟ อาจจะสังเกตเห็นป้ายที่มีข้อความลักษณะนี้ (マナーモード mana-mo-do) ข้อความบนป้ายนี้มีความหมายว่า “ขอความกรุณาเปิดโหมดเงียบ(โหมดสั่น) และงดการพูดคุยทางโทรศัพท์” แต่คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า “โหมดมารยาท” แทนคำว่า “โหมดเงียบ” แล้วคำว่า マナーモード มีที่มาอย่างไร ทำไมคนญี่ปุ่นถึงได้เลือกใช้คำนี้ マナーモード เป็นหนึ่งในคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากภาษาอังกฤษ เป็นคำศัพท์ที่ไม่ได้มีอยู่ในภาษาอังกฤษแต่แรก แต่เป็นคนญี่ปุ่นที่คิดขึ้นมาเอง การที่เรียก “โหมดเงียบ” ว่า “โหมดมารยาท” เพราะคนญี่ปุ่นมองว่า การปิดเสียงโทรศัพท์ถือเป็นการไม่รบกวนผู้คนรอบข้าง และเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ซึ่งก็ถือเป็นมารยาททางสังคมอย่างหนึ่ง

ต้นกำเนิดของซูชิสายพาน

      Comments Off on ต้นกำเนิดของซูชิสายพาน

หากพูดถึงอาหารญี่ปุ่น เมนูแรกที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงก็คือ “ซูชิ” นั่นเอง ซึ่งร้านซูชิก็จะมีหลากหลายราคาแตกต่างกันไป ตั้งแต่ร้านที่คนทั่วไปสามารถเอื้อมถึง ไปจนถึงร้านโอมากาเสะราคาแพง โดยร้านซูชิสายพาน (回転寿司 kaitenzushi) ถือเป็นร้านซูชิที่ได้รับความนิยมทั้งกับคนญี่ปุ่น และคนต่างประเทศที่เดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาต่อจานไม่แพงมาก แถมอร่อยด้วย แล้ว ”ซูชิสายพาน” มีที่มาอย่างไร? ย้อนไปช่วงหลังสงครามโลก ปี 1958 คุณ Shiraishi Yoshiaki ได้เปิดร้านซูชิเล็กๆ ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ชื่อร้านว่า 元禄寿司 (Genrokuzushi) หลังเปิดร้านได้ไม่นาน ร้านก็ขายดีมาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ วัตถุดิบที่นำมาทำซูชินั้นมีการปรับราคาขึ้นลงตามฤดูกาลอยู่ตลอด ดังนั้นราคาขายของซูชิก็ต้องปรับขึ้นลงตามเช่นกัน ทางร้านจึงไม่ได้กำหนดราคาของแต่ละเมนูอย่างชัดเจน ลูกค้าที่เข้ามาทาน ก็จะไม่ทราบว่าตัวเองทานไปเท่าไหร่แล้ว เมื่อถึงตอนชำระเงินจึงเกิดปัญหาขึ้นตลอด หลังจากนั้นคุณ Shiraishi ก็ได้กำหนดราคาของแต่ละเมนูอย่างชัดเจน ทำให้ทางร้านมียอดขายดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีกครั้ง คือพนักงานทำงานกันไม่ไหว จนพากันลาออก คุณ Shiraishi ก็ยังไม่ยอมแพ้ พยายามหาทางแก้ปัญหา จนได้ไปดูงานที่โรงงานผลิตเบียร์แห่งหนึ่ง และได้สังเกตเห็นสายพานสำหรับขนส่งขวดเบียร์ จึงเกิดความคิดเรื่องซูชิสายพานขึ้นมา เป็นเวลาเกือบ 10 ปี ที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบนับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดซูชิสายพานก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ระบบสายพานช่วยให้รองรับลูกค้าได้มากขึ้น แถมยังช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานด้วย พอต้นทุนลดลง… Read more »

อาหารป้ายเหลือง คืออะไร?

      Comments Off on อาหารป้ายเหลือง คืออะไร?

อาหารป้ายเหลืองที่เห็นในร้านค้าทุกวันคืออะไร ยังทานได้ไหม จะเสียรึเปล่า มาดูความหมายที่แท้จริงกันค่ะ หลายคนเมื่อเห็นอาหารป้ายเหลือง คนที่ไม่รู้ก็คงมีคิดกันบ้าง ว่าคุณภาพอาหารอาจจะไม่ดีแล้ว ทางร้านจึงนำมาขายลดราคา แต่จริงๆ แล้ว อาหารป้ายเหลือง คืออาหารประเภทของสด ผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป ขนมปัง เบเกอรี่ ฯลฯ ที่ถูกเอามาลดราคาเพราะส่วนใหญ่จะเป็นของที่ต้องถูกเคลียร์ทิ้งวันต่อวัน ไม่สามารถเก็บค้างคืนได้ทั้งๆ ที่คุณภาพยังดีอยู่ หากไม่มีคนซื้อ อาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมดก็จะกลายเป็น Food Waste ต่อไป ดังนั้น หากทุกคนพบเห็นอาหารที่ติดป้ายเหลือง ทุกคนสามารถเลือกซื้อได้ตามใจชอบ ไม่ต้องกลัวว่าคุณภาพอาหารจะไม่ดี เหล่านักช้อป และคนที่อยากประหยัดเงินจะซื้อกันเป็นประจำ เพราะได้ของคุณภาพดี ราคาถูก แถมยังช่วยลด Food Waste ได้อีกด้วย หากใครไม่สะดวกเดินทางไปซื้อ ในปัจจุบันก็จะมีแอปพลิเคชันสำหรับซื้ออาหารป้ายเหลืองโดยเฉพาะอยู่ค่ะ

การทอนเงินของพนักงานแคชเชียร์ญี่ปุ่น

      Comments Off on การทอนเงินของพนักงานแคชเชียร์ญี่ปุ่น

พนักงานแคชเชียร์ญี่ปุ่นทอนเงินให้ลูกค้าอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับโรงพยาบาล

      Comments Off on คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับโรงพยาบาล

คำศัพท์เกี่ยวกับโรงพยาบาลจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

一期一会(いちごいちえ)

      Comments Off on 一期一会(いちごいちえ)

เป็นสุภาษิตญี่ปุ่นที่มีความหมายดีมาก มีที่มาจาก 茶道(さどう)หรือ พิธีชงชาของญี่ปุ่น ที่ให้พึงระลึกว่า โอกาสที่อยู่ตรงหน้าเราขณะนี้จะไม่ย้อนกลับมาอีกเป็นครั้งที่สอง มันเป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิต ดังนั้น ทั้งฝั่งผู้ชงชาและแขกที่เข้าร่วมพิธีควรจะปฏิบัติต่อกันและกันอย่างดีที่สุด คำๆนี้ ไม่ได้ใช้เฉพาะศิลปะด้านการชงชาเท่านั้นแต่ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในความหมายที่ว่า “การได้มีโอกาสพบใครสักคนหนึ่งอาจเป็นการพบกันเพียงครั้งเดียวในชีวิต ไม่มีโอกาสได้กลับมาเจอกันอีกเป็นครั้งที่สอง” เป็นข้อเตือนใจว่า เราควรให้ความสำคัญกับผู้คนที่เรามีโอกาสได้พบเจอในชีวิต เพราะเราไม่รู้เลยว่า การพบกันครั้งนี้ จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่…

การเติบโตของธุรกิจมันหวานญี่ปุ่น

      Comments Off on การเติบโตของธุรกิจมันหวานญี่ปุ่น

คุณ Makoto Ikeda วัย 48 ปี ประธานบริษัทส่งออกมันหวานแห่งหนึ่งในจังหวัด Miyazaki ได้ออกมาเล่าที่มาของการเติบโตทางธุรกิจของเขา เขาเล่าว่า ตอนอายุ 23 ปี เขาได้รับฟาร์มมันหวานเป็นมรดกจากคุณพ่อ พอทำมาได้ 15 ปี ก็ได้ยินว่า มันหวานที่เขาขายส่งให้พ่อค้าคนกลางในราคา 50 เยน/500 กรัม เขาเอาไปตั้งบน shelf ในห้างต่างประเทศในราคา 800 เยน ราคาสูงขึ้นถึง 40 เท่า!! เขาจึงคิดว่า ถ้าเป็นเขาจะขายแบบ “ราคาถูกสำหรับผู้บริโภค ราคาสูงสำหรับผู้ผลิต” ด้วยความคิดนี้ คุณ Ikeda จึงลุกขึ้นมาทำธุรกิจส่งออกมันหวานไปต่างประเทศด้วยตัวเอง ด้วยมั่นใจว่ามีของดีอยู่ในมืออยู่แล้ว คุณ Ikeda จึงทำการสำรวจตลาด ตั้งใจจะเริ่มที่ตลาดเอเชียก่อน เขาเริ่มต้นธุรกิจกับครอบครัวที่มีสมาชิกเพียง 4 คน และเขาได้ค้นพบว่า มันหวานไซส์เล็กที่มักถูกเมินและเหลือทิ้งในตลาดญี่ปุ่น กลับเป็นที่ต้องการในตลาดไต้หวัน และฮ่องกงเป็นอย่างมาก ด้วยวัฒนธรรมการปรุงอาหารของฮ่องกง จะใช้หม้อหุงข้าวหุงมันหวานให้สุก ดังนั้นไซส์เล็กจึงตอบโจทย์ที่สุด คุณ Ikeda เลยทำการรวบรวมมันหวานจากเพื่อนเกษตรกรในละแวกใกล้เคียง ส่งออกไปขายนอกประเทศ เมื่อธุรกิจเริ่มไปได้ดี มันหวานก็เริ่มไม่พอส่ง เขาจึงหันมาพัฒนาเพาะพันธุ์มันหวานไซส์เล็กเอง… Read more »

ประโยคสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน

      Comments Off on ประโยคสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน

「そば屋の出前」(そばやのでまえ)

      Comments Off on 「そば屋の出前」(そばやのでまえ)

เป็นคำเปรียบเปรย ที่มีความหมายว่า “คำพูดของคนนี้เชื่อถือไม่ได้ ไว้ใจไม่ได้”มีที่มาจากเวลาคนญี่ปุ่นสั่งอาหารจากร้านโซบะให้มาส่งที่บ้าน แต่รอเท่าไหร่ก็ไม่มาสักทีพอโทรไปถาม ร้านโซบะก็มักจะตอบว่า “เพิ่งออกไปเมื่อกี้เลยครับ/ค่ะ「今、出たところです」”แต่จริงๆ แล้วยังไม่ได้ออกไปไหนเลย หรือ อาหารยังไม่เสร็จด้วยซ้ำ.จึงนำมาใช้เปรียบเปรยกับคนที่ชอบพูดแก้ตัว หรือพูดโกหกเช่น หัวหน้าถามว่าเอกสารเสร็จรึยัง ==> กำลังทำอยู่พอดีเลยครับ/ค่ะแล้วข้อมูลที่ให้รวบรวมวันก่อนทำถึงไหนแล้ว ==> อันนั้นก็กำลังทำครับ/ค่ะ…

วิธีหนีภัยตามหลักของโรงเรียนญี่ปุ่น

      Comments Off on วิธีหนีภัยตามหลักของโรงเรียนญี่ปุ่น

โรงเรียนญี่ปุ่นมีวิธีการให้เด็กเล็กจำวิธีหลบภัยอย่างไร ไปดูกันเลย