Tag Archives: 日本語
ことわざ สุภาษิตญี่ปุ่น EP.3
ことわざ สุภาษิตญี่ปุ่น EP.4
คำศัพท์นอกโลก Part 1
คำศัพท์นอกโลก Part 2
คำศัพท์นอกโลก มีอะไรบ้างไปดูกันเลย
คำศัพท์เจอบ่อยเวลาเราไปสังสรรค์กับคนญี่ปุ่น
คำศัพท์ของหวานภาษาญี่ปุ่น
เหตุผล 5 ข้อ ที่คนรู้ภาษาญี่ปุ่นควรเรียนภาษาเกาหลี
เหตุผล 5 ข้อ ที่คนรู้ภาษาญี่ปุ่นควรเรียนภาษาเกาหลี เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เพื่อน ๆ พี่น้องที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ มีใครเป็นติ่งเกาหลีบ้างสารภาพมาซะดี ๆ 555 ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่ากระแสเกาหลียังคงมาแรงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะบูมมาหลายปีแล้วก็ตาม โดยเฉพาะในฝั่งยุโรปอเมริกาที่ดูเหมือนว่าจะเปิดใจรับวัฒนธรรมเกาหลีผ่านดนตรีเคป็อป ซีรีส์ และภาพยนตร์มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก กระแสเกาหลีบูมทำให้หลาย ๆ คนอยากเรียนภาษาเกาหลีขึ้นมา แต่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะคนท่ีเลือกเรียนภาษาอื่นเป็นภาษาที่สามไปแล้วก็คงไม่อยากเพิ่มภาระให้ตัวเองด้วยการเริ่มเรียนภาษาใหม่เร็ว ๆ นี้ แต่รู้หรือเปล่าว่าถ้าเพื่อน ๆ มีพื้นภาษาญี่ปุ่นอยู่แล้วละก็ การเรียนภาษาเกาหลีก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด! เรามาดูเหตุผล 5 ข้อที่คนรู้ภาษาญี่ปุ่นควรเรียนภาษาเกาหลีกันดีกว่า… ภาษาญี่ปุ่นมีรูปแบบการเรียงประโยคที่ทำเอาหลายคนมึนตึ้บมาแล้ว นั่นคือ ประธาน + กรรม + กริยา ดังนั้นแทนที่จะเป็น “ฉัน กิน ข้าว” แบบภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ก็กลายเป็น “ฉัน ข้าว กิน” กว่าจะชินกับรูปประโยคแบบนี้ก็ล่อไปหลายเดือนเหมือนกัน ด้วยความที่ภาษาเกาหลีเป็นภาษาที่เรียงประโยคแบบเดียวกับญี่ปุ่นเป๊ะ แถมมี “คำช่วย” คั่นอยู่ระหว่างกลางเหมือนภาษาญี่ปุ่นอีกต่างหาก ถ้าเพื่อน ๆ คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่นจนแม่นการเรียงประโยคแบบนี้แล้ว การเรียนรู้ที่จะเรียงประโยคเป็นภาษาเกาหลีก็ไม่ใช่เรื่องวุ่นวายเลย คำช่วย (助詞;… Read more »
คนญี่ปุ่นไม่ชอบให้เพื่อนมานอนค้างที่บ้านจริงหรือ ?
คนญี่ปุ่นไม่ชอบให้เพื่อนมานอนค้างที่บ้านจริงหรือ ? เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย การมีเพื่อนสนิทมานอนค้างที่บ้านของเราก็ถือเป็นเรื่องสนุกอย่างนึงใช่ไหมคะ ได้คุยได้เล่นกันทั้งวันทั้งคืนโดยที่ไม่ต้องสนใจเวลา แต่ว่าในทางกลับกัน ก็ต้องคอยดูแลเทคแคร์เพื่อนจนรู้สึกเหนื่อยได้เหมือนกัน ทางเว็บไซต์ SIRABEE ได้จัดทำแบบสำรวจหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศในช่วงอายุระหว่าง 10 – 60 ปีจำนวน 1,733 คน ในหัวข้อ “รู้สึกเครียดหรือไม่ที่มีเพื่อนมานอนค้างที่บ้าน” และคนที่ตอบว่ารู้สึกเครียดนั้นมีถึง 50.5% เรียกได้ว่าครึ่งต่อครึ่งเลยล่ะค่ะ เมื่อแยกเป็นเพศแล้วจะพบว่า มีเพศชาย 44.5% และเพศหญิง 55.8% อีกทั้ง เมื่อลองแยกทั้งเพศและช่วงอายุออกมาแล้วก็จะพบว่า สัดส่วนที่เยอะที่สุดคือเพศหญิงในช่วงอายุ 50 ปี 72.8% รองลงมาคือเพศหญิงในช่วงอายุ 30 ปี 63.3%, เพศหญิงในช่วงอายุ 60 ปี 56% และเพศหญิงในช่วงอายุ 40 ปี 55.5% ตามลำดับ ในแต่ละช่วงอายุนั้นก็มีความแตกต่างกัน แต่สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป และในทุกช่วงอายุ สัดส่วนของเพศหญิงจะมากกว่าเพศชายเสมอ เมื่อมีเพื่อนมานอนค้างที่บ้าน ก็เป็นธรรมดาที่เจ้าบ้านอย่างเราจะมีความรู้สึกว่าต้องดูแลเทคแคร์เพื่อนอย่างเต็มที่ แต่พอต้องคอยมาเอาใจใส่มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นว่าอาจจะทำให้เรารู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจขึ้นมาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่ต้องซักหรือจานชามที่ต้องล้างมากกว่าปกติ สำหรับในหมู่เด็กวัยรุ่นนั้น เพื่อนที่มานอนค้างส่วนใหญ่แล้วก็จะช่วยทำงานบ้านเหล่านี้ซึ่งก็เป็นการช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าและความเครียดลงได้บ้าง เมื่อลองมาดูที่ปัจจัยเรื่องรายรับต่อปีนั้น… Read more »
ความหมายที่มาของสำนวน 一か八か ทำไมต้อง 1 กับ 8?
ความหมายที่มาของสำนวน 一か八か ทำไมต้อง 1 กับ 8? เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย 一か八か (いちかばちか : ichika bachika) ในพจนานุกรม แปลว่า หมู่หรือจ่า, หัวหรือก้อย หรืออย่างที่เราเข้าใจกันว่าหมายถึงการวัดดวง ลองเสี่ยงดวง จริง ๆ แล้วคำนี้ใช้กันในหลากหลายรูปแบบเหมือนภาษาไทย ไม่ว่าจะเรื่องงาน การสอบ หรือการพนัน สำหรับภาษาไทย ส่วนใหญ่คงจะเข้าใจกันอยู่แล้วใช่ไหมคะว่าทำไมถึงใช้คำว่าหมู่กับจ่า หัวกับก้อย แต่ในภาษาญี่ปุ่น หากแปลตรงตัวจะแปลว่า หนึ่งหรือแปด แล้วทำไมในภาษาญี่ปุ่นถึงใช้เลข 1 กับเลข 8 ไปเรียนรู้ถึงความหมายและที่มาของสำนวนนี้กันค่ะ อันดับแรก มาดูที่ความหมายกันค่ะ 一か八か เป็นสำนวนที่หมายถึงการฝากผลลัพธ์ไว้กับโชคชะตาว่าจะออกมาเป็นแบบใด ส่วนใหญ่จะใช้เมื่อยังไม่ทราบผลของสิ่งที่กำลังจะทำ เหมือนกับในภาษาไทยเลยค่ะ สำหรับที่มาของสำนวนนี้ มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากการเล่นพนันพื้นบ้านของญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า 丁半 (ちょうはん : Jouhan) คำว่า 丁 (ちょう : Jou) หมายถึงเลขคู่ ส่วน 半 (はん : han) หมายถึงเลขคี่ วิธีการเล่นคือใช้ลูกเต๋า… Read more »