รู้หรือไม่? เมื่อฝนตกเพลงในห้างญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไป เพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วเจอฝนตก มีใครเคยวิ่งเข้าไปหลบในห้างกันไหมคะ แล้วทราบไหมคะว่า เมื่อฝนเริ่มตก ภายห้างญี่ปุ่นจะมีการเปลี่ยนเป็นเพลงที่เข้ากับบรรยากาศฝนตกด้วย! แต่ละห้างในญี่ปุ่นจะใช้เพลงที่หลากหลายค่ะ แต่ที่ใช้กันเยอะ มีอยู่ 2 เพลง นั่นก็คือเพลง Raindrops Keep Fallin’ on My Head และ Singin’ in the Rain นั่นเอง เพลง Raindrops Keep Fallin’ on My Head เป็นเพลงประกอบหนังเรื่อง Butch Cassidy and the Sundance Kid หรือชื่อภาษาไทยว่า สองสิงห์ชาติไอ้เสือ ห้างที่เปิดเพลงนี้ก็มีหลายห้างเลยทีเดียวค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ห้างไดมารู สาขาโตเกียว ห้างโอดะคิว ห้างฮันคิว สาขาอุเมดะ ห้างฮันชิน สาขาอุเมดะ เป็นต้น ส่วนอีกเพลงที่ชื่อคุ้นหูไม่แพ้กันคือ เพลง Singin’ in the Rain ซึ่งเป็นเพลงหลักของมิวสิเคิลชื่อเดียวกัน เปิดในห้างไดมารู… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
รู้หรือไม่? จริงๆแล้วเครื่องรางญี่ปุ่นต้องพกกันยังไง เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย คนญี่ปุ่นก็มีเครื่องรางหรือโอมาโมริ (お守り) ที่มักพกติดตัวไว้เพื่อเป็นของขลังเหมือนคนไทย โดยดีไซน์ของเครื่องรางมีหลากหลายซึ่งบ้างมีความสวยงามจนสามารถพกติดตัวได้เหมือนเครื่องประดับเลยค่ะ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งประเภทเครื่องรางแบบเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของผู้ที่พกถือ ซึ่งทำให้วิธีการพกก็มีความเชื่อหลากหลายเหมือนกัน สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจหรือชอบซื้อเครื่องรางญี่ปุ่นมาพกไว้ เรามาทบทวนวิธีการพกเครื่องรางที่ถูกต้องกัน แม้คนญี่ปุ่นบางคนจะมีความเชื่อว่าถ้าพกเครื่องรางที่ได้จากศาลเจ้าคนละที่จะทำให้เทพเจ้าของศาลเจ้านั้นๆ ทะเลาะกัน แต่ในความจริงแล้ว สิ่งที่ต้องระวังโดยพื้นฐานคือห้ามนำเครื่องรางที่มีเทพเจ้าที่มีความสัมพันธ์ไม่ดี 2 องค์ไว้ด้วยกัน “เครื่องราง” เปรียบเหมือนเป็นเทพเจ้าองค์เล็กที่คอยคุ้มครองเราอยู่ และเพราะนับเป็น “เทพเจ้า” นั่นเอง ผู้ที่พกจึงต้องให้ความเคารพ การที่คิดว่าแค่พกไว้ก็ทำให้โชคดี หรือสมปรารถนาเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะ “เทพเจ้าองค์เล็ก” จะช่วยดึงคนหรือสิ่งต่างๆ ที่ดีมาให้เราต่างหาก ดังนั้น แค่พกไว้ก็ไม่ใช่ว่าจะสมหวัง เพราะต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้ที่พกเองด้วย เครื่องรางแต่ละแบบต่างมีสถานที่ที่ควรพกไว้ซึ่งต่างกันไปตามจุดประสงค์ของเครื่องรางนั้นๆ ดังนี้ เครื่องรางด้านความรักเราไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเจอรักได้เมื่อไร เพราะฉะนั้นเครื่องรางด้านความรังควรถูกพกติดกับสิ่งของที่ถือติดตัวตลอด จะเป็นกระเป๋าใส่บัตร ในกระเป๋าถือ หรือสอดไว้ในสมุดจดก็ได้ เครื่องรางด้านการเรียนและสอบควรพกไว้ในเครื่องเล่นที่ใช้ฟังหรือกล่องดินสอ และมีความเชื่อว่าช่วงก่อนสอบให้นำเครื่องรางมาถือไว้ด้วยสองมือแล้วขอพรให้สอบผ่าน เครื่องรางด้านสุขภาพและครอบครัวพกติดกระเป๋าที่ถือทุกวัน หรือถ้าเป็นเครื่องรางที่เป็นแบบยาวจะห้อยไว้ที่รถเข็นเด็กก็ได้ สำหรับเครื่องรางให้โชคด้านขอบุตรหรือการคลอดอย่างปลอดภัยนั้น มีความเชื่อว่าให้เก็บไว้ในกระเป๋าที่ถือทุกวัน หรือใส่ไว้กับสายรัดท้องแล้วขอพรทุกวัน เครื่องรางขจัดเคราะห์เครื่องรางขจัดเคราะห์เป็นเครื่องรางสำหรับขจัดสิ่งไม่ดีหรือเจ็บไข้เพื่อให้มีชีวิตที่สงบสุขได้ ให้ใส่ในกระเป๋าเสื้อหรือใส่ในกระเป๋าที่ถือทุกวัน นอกจากนี้ ยังนิยมพกสำหรับปีชงตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นอีกด้วย เครื่องรางอื่นๆเครื่องรางอื่นๆ เช่นเครื่องรางที่ให้โชคทางการเงิน หรือให้มีเงินเก็บมากขึ้นนั้น นิยมใส่ไว้ในกระเป๋าเงินหรือตู้เซฟ สำหรับเครื่องรางโอฟุดะที่มีไว้เพื่อขอพรให้มีแต่ความสุขนั้น มีความเชื่อว่าควรวางไว้บนหิ้งพระหรือติดไว้ที่กำแพงหรือเสาฝั่งทิศเหนือหรือทิศใต้ โดยให้โอฟุดะหันไปทางทิศใต้หรือทางตะวันออก เพื่อขอให้… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
ไขข้องใจ? ฮกไกโดไม่มีแมลงสายจริงหรอ? เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ที่ญี่ปุ่นเขาเชื่อกันว่า “ฮอกไกโดไม่มีแมลงสาบ” เชื่อจริงจังจนถึงขนาดที่มีรายการโทรทัศน์ชื่อดังอย่าง “Monday Lateshow” (月曜から夜ふかし) ลงพื้นที่โดยนำแมลงสาบใส่กล่องใสไปให้ชาวฮอกไกโดดู ผลที่ได้คือชาวฮอกไกโดตื่นเต้นมากเพราะไม่เคยเห็นมาก่อน ส่วนตัวก็เคยได้ยินมาเหมือนกันแต่ยังเชื่อในความสามารถของแมลงสาบ จึงเกิดบทความนี้ขึ้นเพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าว จุดอ่อนอย่างหนึ่งของแมลงสาบคือ พวกมันไม่ทนต่อความเย็นค่ะ โดยทั่วไปแมลงสาบแพร่พันธุ์ได้ยากและไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิตํ่ากว่า 20 องศาเซลเซียส (แต่ก็มีบางครั้งที่พวกมันไม่ตายนะคะ) ดังนั้นแมลงสาบจึงไม่ค่อยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นจัด แต่มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ร้อนชื้น ฮอกไกโดตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของญี่ปุ่น ในช่วงฤดูหนาวมีบางวันที่อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียสโดยเฉพาะทางตะวันออกและทางตอนเหนือ แมลงสาบจึงไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่หนาวจัดเช่นนี้ได้ เป็นที่มาของความเชื่อที่ว่าฮอกไกโดเป็นพื้นที่ที่ไม่มีแมลงสาบอาศัยอยู่ได้ แต่เดี๋ยวก่อน…ที่ว่ามามันจริงเหรอ? ปัจจุบันพูดไม่ได้เต็มปากแล้วว่าที่ฮอกไกโดไม่มีแมลงสาบ อาจจะมีน้อยกว่าภูมิภาคอื่นแต่ก็มีให้เห็นได้ ส่วนใหญ่จะพบที่ซัปโปโรซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและความเจริญในเกาะฮอกไกโด ปัจจัยที่ทำให้แมลงสาบมีชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิตํ่าได้ก็คือ “การใช้เครื่องทำความร้อน” นั่นเอง การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ทำความร้อนในครัวเรือนและสำนักงานห้างร้านต่างๆ นอกจากจะให้ความสะดวกสบายกับมนุษย์แล้ว ยังต่อชีวิตให้กับพวกแมลงสาบที่ไม่ถูกกับความเย็นอีกด้วย แมลงสาบที่พบในฮอกไกโดเป็นส่วนใหญ่แมลงสาบเยอรมัน (Blattella germanica) เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 4 ซม. แต่แมลงสาบที่มักพบในฮอกโกโดจะมีขนาดเล็กกว่าปกติครึ่งหนึ่ง และที่สำคัญคือพวกมันไม่บินค่ะ! คาดว่าเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศ สาเหตุหลักที่แมลงสาบมาถึงฮอกไกโดได้คาดว่าเป็นเพราะการขนส่ง โดยเฉพาะการติดมากับกล่องลัง เพราะกล่องลังมีช่องว่างที่ทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกอย่างดี และมีช่องว่างทำให้สามารถวางไข่ได้ง่าย จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาจึงสามารถสรุปได้ว่าปัจจุบันถึงจะมีน้อย แต่ที่ฮอกไกโดก็มีแมลงสาบนะ! โดยส่วนใหญ่จะอยู่ตามย่านการค้าที่มีร้านกินดื่มหรือย่านที่มีคนพลุกพลานมากกว่าตามครัวเรือน เนื่องจากมีการใช้เครื่องทำความร้อนตลอดและมีการสะสมกล่องลังที่เป็นเสมือนแหล่งอนุบาลของแมลงสาบมากกว่าที่อยู่อาศัย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนฮอกไกโดส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจอแมลงสาบ และต่อให้เจอก็อาจจะไม่รู้ว่ามันคือแมลงสาบ แต่สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ถ้าอยากรู้ต้องลองไปพิสูจน์ที่ฮอกไกโดดู
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
3 คำ 3 ความหมายและความลุกซึ้ง ของคำว่า “หัวใจ” ในภาษาญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เรียนภาษาญี่ปุ่นมาก่อน ผมอยากจะขอเกริ่นสักนิดว่า ภาษาญี่ปุ่นสำหรับเราชาวไทยแล้ว เป็นภาษาที่ซับซ้อนวุ่นวายเป็นที่สุดภาษาหนึ่ง เพราะนอกจากความยุ่งยากในเชิงไวยกรณ์ที่ตรงข้ามกับภาษาไทยโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังมีเรื่องตัวอักษร และสิ่งที่แสนจะซับซ้อน (แต่ช่างงดงาม) เป็นที่สุด คือความหมายและวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับภาษาของพวกเขานั้น เป็นอะไรที่ไม่สามารถบรรยายได้หมด แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็อยากจะยกเอาความซับซ้อน แต่งดงามนั้น มาบอกเล่า ขยายความให้เพื่อน ๆ ได้อ่านและเข้าใจความหมายของคำว่า “หัวใจ” ที่มีอยู่ด้วยกันถึง 3 คำเลยทีเดียวครับ ในภาษาญี่ปุ่นมีถึง 3 คำ ที่ใช้ในการอธิบายคำว่า “หัวใจ”…คำแรก คือคำว่า “ชินโซ”「心臓」หมายถึงหัวใจที่เป็นอวัยวะในเชิงกายภาพ เต้นตุบตับอยู่ในร่างกายของเรา และบ่งบอกว่าเรายังมีชีวิตอยู่นั่นเอง ถ้าบังเอิญมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นเดินมาบอกว่า “ฉันเจ็บชินโซเหลือเกิน” ให้รีบพาเขาไปหาหมอนะครับ!! เพราะเขาไม่ได้กำลังเจ้าบทเจ้ากลอนอยู่แน่ ๆ… คำต่อมาคือคำว่า “ฮาตโตะ”「ハート」ซึ่งเป็นคำยืมที่มาจากคำว่า Heart ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคนญี่ปุ่นใช้เพื่อสื่อความหมายคำว่าหัวใจที่เป็นรูปทรง สุดจะหวานหยดในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ ใครโสดอย่าได้ไปญี่ปุ่นเชียวนะครับ จะเจ็บ “หัวใจ” ไม่รู้ตัว!! และคำสุดท้าย คือคำว่า “โคะโคะโระ”「心」ที่ซับซ้อนเป็นที่สุด เพราะถ้าให้นึกถึงคำในภาษาไทยมาเทียบ… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
3 คำพูดน่ารักๆ เกี่ยวกับท้องในภาษาญี่ปุ่น มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย ไม่ว่าภาษาใดในโลก ล้วนแล้วแต่สะท้อนความคิด หรือ วัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ ไว้ในภาษาทั้งสิ้น…ภาษาญี่ปุ่นชาติที่มีความน่ารักและมีความคิดที่ซับซ้อนก็ไม่น้อยหน้า วันนี้ผมจะมาแนะนำ 3 คำพูดเกี่ยวกับ “ท้อง” ที่มีที่มาที่ไปน่ารัก ๆ ในภาษาญี่ปุ่นไว้ให้เพื่อน ๆ นำไปใช้กันนะครับ! เบะสึบะระ เกิดจากการรวมกันของคำว่า แบ่ง, แยก และคำว่า ท้อง แปลตรง ๆ เข้าใจง่าย ๆ ว่า ท้องที่แยกกัน คือแยกระหว่างของคาวและของหวาน หรือในภาษาไทยเรามักชอบพูดว่า “มีก๊อกสอง!” มักจะใช้ในเวลาที่เรากินของคาวอิ่มแล้ว แต่บังเอิ๊ญบังเอิญของหวานก็ยกมาเสิร์ฟซะงั้น จะอิ่มยังไงไหว!! ตะโกนออกไปเลยครับ “เบะสึบะระเดส!!” ฮะระทัตตะ เกิดจากการรวมกันของคำว่า ท้อง และคำว่า ยืน ในที่นี้ต้องย้อนกลับไปสู่ความคิดแบบโบราณที่คนสมัยก่อนเชื่อว่าหัวใจคนเรานั้นอยู่ที่ท้อง อารมณ์และความคิดต่าง ๆ จึงถูกส่งมาจากท้องของเรานั่นเอง ในขณะที่คำว่า ยืน มีความหมายซ้อนอีกความหมายว่า ทำให้เข้มข้น เดือดดาล「激する」จึงเป็นที่มาของคำนี้ที่แปลว่า โกรธ นั่นเองครับ รู้แบบนี้แล้ว “ผมนี่ยืนขึ้นเลยครับ!!” ฮะระเฮตตะ เกิดจากการรวมกันของคำว่า ท้อง… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
โคะอิและอะอิ ความเหมือนที่แตกต่างกับรักในภาษาญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย สำหรับภาษาไทย ถ้าจะพูดถึงคำว่า “รัก” เราก็คงจะนึกถึงแต่คำว่า “รัก” ใช่ไหมครับ? เอ๊ะ พูดเองก็งงเอง! แต่เอาเป็นว่าถ้าเราพูดถึงภาษาญี่ปุ่น จะมีคำที่มีความหมายว่า “รัก” อยู่ 2 คำด้วยกัน แต่กลับเป็น “รัก” ที่มีนัยยะแตกต่างกันอย่างน่าสนใจ นั่นก็คือคำว่า “โคะอิ”「恋」และคำว่า “อะอิ”「愛」นั่นเองครับ “โคะอิ”…ซุรุ ฟอจูนคุกกี้~ คงจะเป็นคำคุ้นหูของชาวไทย ใหม่แกะกล่องหมาด ๆ แต่ความหมายอันลึกซึ้งของ โคะอิ คือความรักในลักษณะที่เป็นทางเดียว เสมือนเป็นแรงส่งโดยตัวของมันเอง เกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระ เหมือนต้องการความผูกพัน แต่ไม่ผูกพัน ฝันใฝ่ แต่ไม่คาดหวัง มีความมุ่งมั่น แต่เผื่อใจให้กับความล้มเหลว – ความรักโรแมนติก ความปรารถนา ความต้องการ ความคลั่งไคล้ ความหลงใหล เหล่านี้ล้วนเป็น “โคะอิ” ทั้งสิ้น มาถึงตรงนี้ พอจะแยกออกไหมครับเพื่อน ๆ ว่าความรักของ 2 คำนี้ แตกต่างกันตรงไหน? อย่างไรกันแน่? ถ้ายังแยกไม่ออก ก็ขอให้นึกถึงภาพความรักที่เต็มเปี่ยมด้วยแรงปรารถนา มุ่งหวัง และต้องการอยู่เสมอให้เป็นภาพแทน… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
ตำแหน่งมือและสีของแมวกวัก MANEKI NEKO มีความหมายไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย Maneki Neko (招き猫) หรือ แมวกวัก เป็นหนึ่งในเครื่องรางนำโชคตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะตั้งรูปปั้นตุ๊กตาแมวกวักไว้หน้าร้าน โดยเชื่อว่าแมวจะกวักเงิน กวักทอง กวักเรียกลูกค้าเพื่อให้กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรือง แต่คุณทราบหรือไม่ว่าในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแมวกวักที่นำโชคด้านค้าขายเท่านั้น ยังมีแมวกวักนำโชคอีกหลายรูปแบบ หลากหลายสีสันที่มีความหมายแตกต่างกันออกไปอีกด้วย รูปปั้นตุ๊กตาแมวกวักโดยทั่วไปมักจะอยู่ในท่ายกมือ (ขา) ข้างเดียวขึ้นมา ราวกับว่ากำลังกวักเชื้อเชิญลูกค้า โชคลาภ เงินทอง ฯลฯ ตามของเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งคล้ายคลึงกับความเชื่อเรื่อง “นางกวัก” ของประเทศไทย ในความเชื่อของชาวญี่ปุ่น เชื่อว่าแมวกวักนำโชคที่ยกมือขวาจะ “เพิ่มเงินทองและโชคลาภ” มักนิยมใช้รูปปั้นตุ๊กตาแมวเพศผู้ ส่วนแมวกกวักที่ยกมือซ้ายจะ “เรียกแขก เรียกลูกค้า” ซึ่งแมวกวักทั้ง 2 แบบต่างก็มีความหมายด้านโชคลาภเงินทองในการค้าขายเช่นเดียวกัน ส่วนแมวกวักที่ยกมือขึ้นทั้งสองข้าง มีความหมายเหมือนนำแมวกวักที่ยกมือขวาและซ้ายมารวมกัน คือ “เพิ่มเงินทองโชคลาภและเรียกลูกค้า” แต่ทว่า การยกมือขึ้นสองข้างพร้อมกันเป็นแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มีความหมายในภาษาญี่ปุ่นว่า “Banzai wo suru” 「バンザイをする」(การโห่ร้องไชโย), “Oteage”「お手上げ」(การยกมือทั้งสองข้างขึ้นเพื่อแสดงท่าทางว่าเราหมดตัว/ยอมจำนนแล้ว) ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าผู้ทำกิจการค้าขายก็มักจะพูดว่า “Banzai wo suru”「バンザイをする」หรือ “Oteage”「お手上げ」ในกรณีที่กิจการร้านค้าขายไม่ดีอีกด้วย เพราะฉะนั้น แมวกวักที่ยกมือขึ้นทั้งสองข้างจึงไม่นิยมนำมาตั้งที่หน้าร้านค้าด้วยเหตุนี้เอง และมักจะนำแมวกวักสองข้างไปตั้งไว้ที่บ้านพักเสียมากกว่า ส่วนตำแหน่งการวางแมวกวักที่ถูกต้อง… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
ความลับและที่มาของคำว่า SAKANA ในภาษาญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย 魚 (さかな : Sakana) ที่แปลว่า ปลา น่าจะเป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องผ่านตามาแน่นอน แต่ทราบไหมคะว่าคันจิตัว 魚 สามารถอ่านว่า うお : Uo ได้อีกด้วย ถึงแม้จะเป็นคันจิตัวเดียวกันแต่เสียงอ่านต่างกันแบบนี้ แล้วมันมีวิธีการใช้ต่างกันอย่างไร และจากคำอ่านว่า Uo เปลี่ยนมาเป็น Sakana ได้อย่างไร ไปดูที่มาที่น่าสนใจของคำว่า Sakana กันค่ะ ในต่างจังหวัดบางพื้นที่ของญี่ปุ่นมีการใช้คำว่า Uo กับ Sakana ในความหมายแตกต่างกันไป อย่างเช่นในสมัยก่อน บางพื้นที่ก็เรียกปลาในแม่น้ำว่า Uo และเรียกปลาในทะเลว่า Sakana นอกจากนี้ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา แน่นอนว่าคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นก็จะไม่ค่อยได้ทานปลาทะเล แต่จะนิยมทานปลาจากแม่น้ำแทน ซึ่งดูเหมือนว่าผู้คนในพื้นที่นั้นจะเรียกปลาที่ปรุงเป็นอาหารแล้วว่า Uo และเรียกปลาที่ยังว่ายน้ำอยู่ว่า Sakana แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาคคันโตกับภูมิภาคคันไซ ในภูมิภาคคันไซจะใช้คำว่า Uo มากกว่าภูมิภาคคันโต โดยข้อมูลจากหนังสือสำเนียงนานิวะที่ตีพิมพ์ในสมัยเอโดะ คำว่าร้านขายปลา ในโอซาก้าจะใช้คำว่า Uoya ส่วนในเอโดะจะใช้คำว่า Sakanaya ใน Nihon Shoki หรือพงศาวดารญี่ปุ่น และ… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
Kumihimo ศิลปะการาถักเชือกแบบญี่ปุ่น เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศิลปะ วัฒนธรรมเก่าแก่ต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือหัตถกรรมการถักเชือก หรือที่เรียกกันว่า “Kumihimo” (組み紐) ซึ่งหลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยคำนี้มาจากภาพยนตร์ชื่อดัง Your name ซึ่งออกฉายในปี 2016 นั่นเอง ลองมาทำความรู้จักหัตถกรรมนี้กันค่ะ Kumihimo ศิลปะการถักเชือกแบบญี่ปุ่นนี้ คือการนำเชือกหรือด้ายไหมมาถักทอลายเป็นเชือกที่มีลวดลายหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเชือกทรงกลมหรือแบนก็ตาม ส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่บนโอบิ (ผ้าคาดของชุดกิโมโน) หรือผูกคู่กับด้ามดาบของนักรบซามูไรในอดีต ในส่วนของวิธีการทำนั้น จะนำเชือกมามัดรวมกันแบ่งเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนนั้นจะถูกจัดวางบนอุปกรณ์ที่ใช้ถักทอหน้าตาคล้ายโต๊ะตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า “Marudai” (丸台) แล้วเริ่มต้นถักเชือกสลับไปมาให้เกิดลวดลายตามที่ต้องการตามแบบ ถือเป็นการฝึกสมาธิอย่างมากเลยทีเดียว เพราะถ้าจัดลำดับการถักผิดพลาดไปจะทำให้ลวดลายที่ต้องการนั้นผิดเพี้ยนไปได้ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้การถักง่ายดายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการอธิบายวิธีการที่เข้าใจได้ง่าย สามารถพกพาไปทำได้ทุกที่ มีทั้งแผ่นถักที่มีลักษณะวงกลมและสี่เหลี่ยมขึ้นอยู่กับแบบและลวดลายที่สนใจจะทำ แผ่นถักเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำมาจากโฟมที่มีการระบุช่องตัวเลข พร้อมคู่มืออธิบายว่าถ้าต้องการทำลวดลายไหนต้องโยกย้ายด้ายไปในทิศทางใดบ้าง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์งานฝีมือทั่วไป ขอเตือนไว้ว่าจะได้ลวดลายเสร็จสมบูรณ์นั้น ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมากนะคะ ผู้เขียนขอเอาใจช่วยคนที่อยากลองเริ่มต้นทำ ผลลัพธ์ที่ได้เราจะภูมิใจมากค่า
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語
โอนิกิริ กับ โอมุสุบิ เหมือนหรือแตกกต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย “โอนิกิริ” เป็นอาหารญี่ปุ่นที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยทานกันใช่มั้ยคะ สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นหนึ่งในอาหารที่คนญี่ปุ่นนิยมทำใส่เบนโตะไปทานเป็นมื้อกลางวัน โดยปกติแล้ว ข้าวปั้น มักจะเรียกกันว่า “โอนิกิริ” แต่ก็ยังมีอักคำที่หมายถึงข้าวปั้นเช่นกัน คือ “โอมุสุบิ” แล้วทั้ง 2 คำนี้มีความแตกต่างกันตรงไหน? รูปร่าง? วิธีทำ? ต้นกำเนิด? หรือจะไม่ต่าง? เราลองไปศึกษาจากทฤษฎีที่น่าสนใจกันค่ะ ต้นกำเนิดของโอนิกิริค่อนข้างเก่าแก่ เล่ากันว่ามีมาตั้งแต่สมัยยาโยอิ มีการขุดค้นพบก้อนข้าวคล้ายโอนิกิริที่มีร่องรอยเหมือนเป็นการปั้นด้วยมือในซากโบราณสถานสมัยยาโยอิ แต่รูปร่างของข้าวปั้นในยุคปัจจุบันดูเหมือนจะมาจากสมัยเอโดะมากกว่า โดยในอดีตข้าวปั้นมักจะเป็นอาหารพกพาของพวกซามูไร ความแตกต่างระหว่าง “โอนิกิริ” กับ “โอมุสุบิ” มีหลากหลายทฤษฎี โดยรวมแล้วแต่ละแบบได้อธิบายไว้ดังนี้ ในส่วนของ “โอนิกิริ” กล่าวว่าเป็นคำที่ใช้เรียกกันในฝั่งตะวันตก หรือบางทฤษฎีก็ว่าเรียกกันเป็นส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น มีพื้นฐานมาจากการจับข้าวโดยใช้แรง ทำให้ได้ชื่อว่า “นิกิริเมชิ” และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โอนิกิริ” บางทฤษฎีก็ว่าเป็นข้าวปั้นที่ปั้นโดยการใช้เครื่องมือ หรือในส่วนของหน้าตา ก็ว่าเป็นข้าวปั้นทรงกลมที่ห่อหุ้มด้วยสาหร่ายชุ่ม ๆ ทั้งก้อน ในส่วนของ “โอมุสุบิ” กล่าวว่าเป็นคำที่ใช้เรียกกันในฝั่งตะวันออก หรือบางทฤษฎีก็ว่าเรียกกันในพื้นที่จากคันโตไปยังโทไคโด ใช้เรียกข้าวปั้นที่ทำโดยสตรีชนชั้นสูงในยุคเฮอัน มีรูปทรงสามเหลี่ยม เนื่องจากในอดีตชาวญี่ปุ่นโบราณจะเชื่อว่าภูเขาคือพระเจ้า จึงได้ปั้นข้าวปั้นให้เป็นรูปร่างสามเหลี่ยมคล้ายภูเขาเพื่อที่เวลาทานจะได้เหมือนกับได้รับพรรับพลังจากพระเจ้า บางทฤษฎีก็ว่าเป็นข้าวปั้นที่ปั้นด้วยมือ… Read more »
未分類
Japan ,
Japanese ,
JLPT ,
Nihomedia ,
work in japan ,
การตลาด ,
คำศัพท์ ,
ญี่ปุ่น ,
ภาษาญี่ปุ่น ,
วัฒนธรรมญี่ปุ่น ,
องค์กรญี่ปุ่น ,
เงิน ,
日本 ,
日本語