ที่ญี่ปุ่นจะให้วันที่ 18 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันแห่งข้าวปั้นญี่ปุ่นค่ะ ทำไมต้องเป็นวันที่ 18 มิถุนายนด้วยล่ะ? เริ่มต้นจากการมีข่าวการขุดพบ “ฟอสซิลโอนิกิริ” ในปี 1987 ที่เมือง Rokusei ในจังหวัด Ishikawa (เมือง Nakanoto ในปัจจุบัน) โดยตัวฟอสซิลโอนิกิรินั้น อยู่ในสภาพไหม้เกรียม มีการประมาณอายุของฟอสซิลอยู่ที่มากกว่า 2,000 ปี และในบันทึกของเมือง Rokusei ที่ได้บันทึกเรื่องราวในวันที่ 18 มิถุนายน เอาไว้ ว่าเป็นวันที่พวกเขาได้เริ่มปลูกข้าว หลังจากนั้นก็ได้รับการขนานนามว่า “หมู่บ้านแห่งข้าว” ซึ่งอาหารขึ้นชื่อของเมืองนี้จะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจาก Onigiri หรือข้าวปั้นญี่ปุ่นนั่นเอง ในปัจจุบัน Onigiri ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอในหลาย ๆ ประเทศ แต่รูปร่างและไส้ข้างในของโอนิกิรินั้น ก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จริง ๆ แล้ว นอกจากจะเป็นวันแห่งข้าวปั้นแล้ว ยังถือเป็นวันซูชิสากลอีกด้วยนะ
หลายคนอาจสงสัยว่าน้ำผลไม้ที่เขียนกันว่า น้ำผลไม้แท้ 100% เราจะรู้ได้ยังไงว่า 100% จริงหรือเปล่า? ที่ญี่ปุ่นจะมีวิธีแยกน้ำผลไม้ 100% และ ไม่ 100% อยู่ด้วยค่ะ นั่นก็คือ น้ำผลไม้ผลไม้ 100% จะได้รับอนุญาตให้ใช้รูปผลไม้แบบผ่าซีก น้ำผลไม้ที่ไม่ 100% จะต้องใช้รูปผลไม้เต็มลูก หรือรูปการ์ตูนเป็นผลไม้เต็มลูกเท่านั้น
คนที่กำลังเรียน หรือฝึกฝนการนับเลขแบบญี่ปุ่นอยู่ อาจเกิดความสับสนเวลาที่ต้องเริ่มนับเลขในจำนวนหลักที่มากขึ้น เนื่องจากการนับเลขของไทยแบบที่เราเคยชิน กับของญี่ปุ่นนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งเวลาแอดมินจะนับเลขในหลักที่สูงเกินหลักแสน แอดมินจะนับแบบนี้ค่ะ ยี่สิบ (二十 – にじゅう) 20 สองร้อย (2百 – にひゃく) 200 สองพัน (2千 – にせん) 2,000 สองหมื่น (2万 – にまん) 20,000 สองแสน (20万 – にじゅうまん) 200,000 สองล้าน (200万 – にひゃくまん) 2,000,000 ยี่สิบล้าน (2000万 – にせんまん) 20,000,000 สองร้อยล้าน (2億 – におく) 200,000,000 สองพันล้าน (20億 – にじゅうおく) 2,000,000,000 สองหมื่นล้าน (200億 – にひゃくおく) 20,000,000,000 สองแสนล้าน (2000億 –… Read more »
超多忙 (choutabou) 猫の手も借りたいほど忙しい (neko no te mo karitai hodo isogashii) 忙殺される (bousatsu sareru)
อย่างแรก เราต้องรู้ก่อนว่าใครจะต้องเป็นฝ่ายยื่นนามบัตรก่อน? โดยปกติแล้วชั้นผู้น้อย หรือซัพพลายเออร์ที่ไม่ใช่ลูกค้า จะเป็นฝ่ายที่ยื่นนามบัตรและเอ่ยแนะนำตัวก่อนค่ะ วิธียื่น เมื่อหยิบนามบัตรของเราขึ้นมาเตรียมเรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นนามบัตรออกไปข้างหน้า จุดสำคัญที่ห้ามลืมเลยก็คือ การหันด้านนามบัตรให้เป็นด้านที่ลูกค้าอ่านออกค่ะ โดยให้ตำแหน่งของนามบัตรอยู่ต่ำกว่ามือของลูกค้าเล็กน้อย แล้วค่อยเอ่ยแนะนำตัวเองค่ะ วิธีพูดให้เอ่ยชื่อบริษัท + ชื่อหน่วยงาน + ชื่อของเรา + と申します。(to moushimasu) เมื่อพูดจบแล้วให้ยื่นนามบัตรไปบนกระเป๋าใส่นามบัตรของลูกค้า(เราและลูกค้าจะมีอยู่แล้ว) พร้อมกล่าวว่า どうぞよろしくお願い致します。(douzo yoroshiku onegai itashimasu) หรือ どうぞよろしくお願い申し上げます。(douzo yoroshiku onegai moushiagemasu) ก็ได้ค่ะ หลังจากมอบนามบัตรของเราให้ลูกค้าเสร็จแล้ว ลูกค้าก็จะยื่นนามบัตรของเขามาให้เราต่อค่ะ ให้เรารับนามบัตรไว้ด้านบนกระเป๋าใส่นามบัตรของเรา พร้อมกล่าวว่า 頂戴いたします。(choudai itashimasu) ตามด้วย どうぞよろしくお願い申し上げます。(douzo yoroshiku onegai moushiagemasu) ค่ะ
ごちそうさまでした (gochisousamadeshita) ที่แปลว่า ขอบคุณสำหรับอาหารมื้อนี้ เป็นคำที่คนญี่ปุ่นจะพูดเมื่อทานอาหารเสร็จแล้ว ซึ่งสามารถใช้พูดกับพนักงานได้ หากไปทานอาหารที่ร้าน เพื่อเป็นการขอบคุณผู้ที่ทำอาหารให้ แล้วที่มาของคำๆ นี้มาจากไหนล่ะ? อย่างแรกต้องดูที่คันจิของคำว่า ごちそうさまでした ก่อน นั่นก็คือ ご馳走さまでした ในสมัยโบราณคันจิคำว่า 馳走 หมายถึง การ “วิ่งวุ่น” เพื่อเตรียมอาหารให้ลูกค้า สาเหตุที่มีคันจิตัว 馬 (うま-uma) เป็นเพราะพวกเขาต้องใช้ม้าในการวิ่งส่งอาหารนั่นเอง ดังนั้น ตั้งแต่ปลายยุคสมัยเอโดะ จึงมีการนำคำว่า “ごちそうさまでした” มาใช้ในการกล่าวขอบคุณผู้ที่เตรียมอาหารให้ทานในมื้อนั้น และยังใช้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน