โอยาโกะด้ง ข้าวหน้าไก่กับไข่ เกิดขึ้นได้แต่ใดมา มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย โอยาโกะด้งก็เป็นอาหารแสนอร่อยอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น แต่เรารู้กันรึเปล่าครับว่า ความเป็นมาของ โอยาโกะด้งนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ฉะนั้นเราจะไปทำความรู้จักกับเจ้าอาหารแสนอร่อยตัวนี้กัน เมื่อพูดถึง “ดมบุริ” (ข้าวราดหน้าใส่ชาม) คนมักนึกถึง อุนาด้ง 鰻丼 (ข้าวหน้าปลาไหลย่าง) เท็นด้ง 天丼 (ข้าวหน้าเทมปุระ) และคัตสึด้ง カツ丼 ก่อนอย่างอื่น ซึ่งว่ากันว่า อุนาด้งนี่หละเกิดก่อนดมบุริทั้งปวง (คือช่วงศักราชบุนกะ 文化 ตรงกับช่วงปี พ.ศ.2347 ถึง พ.ศ. 2361 ราวช่วงรัชกาลที่ ๑ ของไทย) ต่อจากนั้นจึงเป็นเท็นด้ง ส่วนคัตสึด้งมีเรื่องเล่าหลายทฤษฎีแต่ว่าที่แพร่หลายที่สุดคือ ร้านซันโซอัน 三朝庵 ร้านโซบะเก่าแกแถว ม.วาเซดะ (ปัจจุบันร้านปิดกิจการแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2561) เป็นผู้คิดทำขึ้น โดยเอาเศษเหลือๆ ของหมูชุบเกล็ดขนมปังทอด (cutlets カツレツ) มาทำเป็นคัตสึด้ง (เป็นเมนูกำจัดของเหลือดีมาก) ส่วนโอยะโกะด้งนั้น มีข้อเขียนที่กล่าวว่า พบว่ามีการใช้คำว่า “โอยะโกะด้ง” มาโฆษณา โดยร้าน เอโดะโค (江戸幸) ย่านโกเบโมโดริมาจิ (神戸元町) มาตั้งแต่ปีเมจิที่ 17… Read more »
แมวคือสัตว์เลี้ยงที่ครองใจชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอโดะ มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย เพื่อนๆ คงทราบกันดีใช่ไหมครับว่าแมวคือหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะตามบ้าน ศาลเจ้า หรือแม้กระทั่งร้านคาเฟ่บางร้านก็มักจะมีน้องแมวคอยประจำการอยู่เสมอ แต่เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่าจริงๆ แล้วแมวคือสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยเอโดะแล้ว ดังเห็นได้จากภาพวาดในสมัยนั้นที่มักจะมีแมวปรากฏอยู่ในภาพด้วยเสมอ หรือแม้กระทั่งตำนานเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับปีศาจแมว หรือความเชื่อที่ว่าแมวคือสัตว์นำโชคของมนุษย์ก็มีให้ได้ยินเช่นกัน แต่อะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้แมวเป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยมในสมัยเอโดะกันนะ วันนี้เราจะไปหาคำตอบกันครับ กล่าวกันว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีการนำเข้าแมวจากประเทศจีนในช่วงยุคสมัยนาระ เพื่อนำมาไล่จับหนูที่มักจะสร้างความเสียหายให้กับตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้ ตามบันทึก “มะคุระโนะโซชิ” (枕草子) ซึ่งเขียนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในราชสำนักเฮอัน และ “ตำนานเก็นจิ” (源氏物語) ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวต่างๆ ของเหล่าขุนนางในราชสำนักเฮอัน ต่างเขียนตรงกันว่าแมวคือสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมจากเหล่าขุนนางในราชสำนักเฮอันเป็นอย่างมาก และต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยเอโดะ วัฒนธรรมการเลี้ยงแมวก็ได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นโดยมีสาเหตุสำคัญ ดังนี้ เนื่องจากในขณะนั้น สภาพบ้านเมืองของประเทศญี่ปุ่นได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันจำนวนหนูก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน จึงทำให้ประชาชนเริ่มหันมาสนใจเลี้ยงแมวมากยิ่งขึ้นเหล่าจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นได้เริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยมีแมวเป็นแรงบันดาลใจสำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงไหมและเพาะปลูกซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น แมวคือตัวช่วยสำคัญในการกำจัดหนู ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นในสมัยเอโดะยังมีความเชื่อว่าแมวคือสัตว์ที่จะนำพาสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตอีกด้วย จึงทำให้ของตั้งโชว์อย่างเช่น แมวกวัก หรือ ภาพวาดแมว เริ่มเป็นที่แพร่หลายในสังคมชาวญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น อุตางาวะ คุนิโยชิ หนึ่งในจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยเอโดะ และเป็นผู้ที่หลงใหลคลั่งไคล้แมวเป็นอย่างมาก กล่าวกันว่าคุนิโยชิได้เลี้ยงแมวไว้จำนวนหลายสิบตัว และเมื่อแมวตัวใดตายลง เขาจะวางป้ายวิญญาณที่สลักชื่อแมวตัวนั้นไว้บนหิ้งพระด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีชาวญี่ปุ่นคนไหนเคยทำมาก่อน คุนิโยชิ ได้วาดภาพแมวไว้เป็นจำนวนมาก และผลงานต่างๆ เหล่านั้นก็กลายเป็นภาพพิมพ์ที่ได้รับการลงสีสันอย่างสวยสดงดงาม นอกจากนี้จิตรกรในยุคเอโดะบางท่านก็ได้สร้างสรรค์ภาพวาดแมวในฐานะที่เป็นปีศาจอีกด้วย
ที่มาของเทรุเทรุโบซุหรือ ตุ๊กตาไล่ฝน มีที่มาอย่างไรไปดูกันเลย
แมวถ้องทิ่น กับ แมวจรจัด ในประเทศญี่ปุ่นต่างกันไหน? ไปดูกันเลย เพื่อน ๆ ที่เคยไปญี่ปุ่นคงจะสังเกตได้ว่า คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ให้ความเอ็นดูกับแมวเป็นอย่างมาก ถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีระบบการจัดการสัตว์จรจัดที่ค่อนข้างเข้มงวด แต่เราก็ยังเห็นมีแมวเดินไปมาอยู่ตามพื้นพี่สาธารณะต่าง ๆ กันได้อยู่ แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า แมวที่เราเห็นเดินไปมากันตามข้างถนนในประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นแมวจรจัดเสียทั้งหมดนะ เราจะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” ในญี่ปุ่นกัน ว่าแมวทั้ง 2 แบบแตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นเรามารู้ถึงความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” สำหรับคนญี่ปุ่นกันก่อน ในส่วนของแมวจรจัดนั้น เชื่อว่าทุกคนก็น่าจะเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่า แมวจรจัด คือ แมวที่ใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านเรือนของคน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้านนอก โดยไม่ได้มีใครเป็นคนเลี้ยงหรือเป็นเจ้าของโดยตรง ถึงจะมีทาสแมวแอบมาให้ข้าวให้อาหารอยู่บ้าง แต่ถ้าไม่มีใครถือสิทธิ์เป็นคนเลี้ยงโดยตรงแล้วละก็ คนญี่ปุ่นก็จะถือว่าแมวเหล่านี้เป็นแมวจรจัด ในส่วนของ “แมวท้องถิ่น” นั้น คำจำกัดความของแมวท้องถิ่นก็คือ เป็นแมวที่อาศัยอยู่ภายนอกบ้านคน อยู่ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ โดยที่มีคนซึ่งอาศัยอยู่ในท้องถิ่นดังกล่าวให้การเลี้ยงดูโดยตรงนั่นเอง พูดให้เห็นความแตกต่างระหว่างแมวจรจัดกับแมวท้องถิ่นง่าย ๆ ก็คือ แมวดังกล่าวเป็นแมวที่มีคนคอยเลี้ยงและดูแลโดยตรง ซึ่งผู้ที่เป็นคนเลี้ยงและดูแลแมวท้องถิ่นนั้นจะไม่ได้หมายถึงใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือคนในชุมชนที่แมวดังกล่าวอาศัยอยู่ร่วมกันช่วยดูแล ให้อาหาร… Read more »
รู้จักคินซึงิ มีความหมายอย่างไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
โอะโมเตะนาชิ จิตวิญญาณแห่งการบริการ มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
ตำนานเท็งงุ หนึ่งในปีศาจชื่อดังประเทศญี่ปุ่น มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
รู้จักศิลปที่เรียกว่าเคนโด้ มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
ชื่อประเทศญี่ปุ่นอ่านว่า นิปปง หรือ นิฮง กันแน่นะ เป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย
10 อันดับ อาชีพที่ผู้ปกครองของเด็กหญิงในญี่ปุ่นคาดหวัง มีอะไรบ้างไปดูกันเลย