ทะคุอัน ไชเท้าดองที่เขาว่าพระญี่ปุ่นเป็นผู้คิดประดิษฐ์ทำ มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย หัวไชเท้าดองสีเหลือง ญี่ปุ่นเรียกว่า “ทะคุอัน” ที่ญี่ปุ่นนั้นร้านข้าวกล่องหลายๆ ร้านเขาก็เอาเจ้าทะคุอันเนี่ยมาหั่นเป็นแผ่นๆ ใส่เป็นเครื่องเคียงก็มี แล้วก็บางทีเวลาที่ผู้เขียนได้ไปกินร้านอาหารเกาหลีบางร้านเขาก็ยกหัวไชเท้าดองสีเหลืองๆ อย่างทะคุอันมาเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียงด้วยเหมือนกัน วันนี้ก็เลยอยากจะขอพูดถึงเรื่องราวของมันหน่อยนะครับ “ทะคุอัน” (たくあん หรือ ทะคุวัน たくわん) หรือจริงๆ แล้วอาจเรียกชื่อเต็มๆ ว่า ทะคุอันซึเคะ (沢庵漬け) นั้น เรื่องเล่าหนึ่งซึ่งมีคนพูดถึงกันมากก็คือเรื่องที่ว่าพระที่ชื่อ ทะคุอัน โซโฮ (沢庵宗彭) ซึ่งเป็นพระในนิกายรินไซ เป็นผู้คิดขึ้นในต้นสมัยเอโดะ แต่คนที่ตั้งชื่อผักดองนี้ว่า “ทะคุอันซึเคะ” นั้น กลับเป็นโทคุกาวะ อิเอมิตสึ โชกุนคนที่สามแห่งตระกูลโทคุกาวะ แต่บางตำนานก็บอกว่าชื่อ “ทะคุอันซึเคะ” นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า “จาคุอันซึเกะ” ที่แปลว่า “ของที่ไม่ตั้งใจจะประสม” ก็มี ซึ่งต่อมาผักดองแบบนี้ก็เป็นที่แพร่หลายจากเอโดะไปถึงเกียวโตและคิวชูด้วย กรรมวิธีแบบดั้งเดิมคือเอาหัวไชเท้าตากแดดสักหลายวันหรือหลายสัปดาห์ จากนั้นจึงเอาหัวไชเท้าที่ตากแล้วมาหมักในรำข้าวและเกลือสักหนึ่งเดือนหรือหลายๆ เดือน อาจเติมสาหร่ายคอมบุ พริกป่น หรือเปลือกลูกพลับเพื่อปรุงรสด้วยก็ได้ การหมักด้วยรำข้าวนี่แหละที่ทำให้หัวไชเท้ากลายเป็นสีออกเหลือง แต่ทะคุอันที่ขายในท้องตลาดทุกวันนี้ทำโดยการเอาไชเท้ามาขยำเกลือเพื่อไล่น้ำในเนื้อไชเท้าแทนการตากแดด อันนั้นรสชาติและรสสัมผัสจึงไม่เหมือนกับทะคุอันแบบดั้งเดิม แถมบางทีก็ใส่เครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มรสหวานหรือรสอูมามิ หรือเจือสีสังเคราะห์อีกด้วย ตามรสนิยมของคนสมัยใหม่ที่ชอบกินหวานไม่ชอบกินเค็ม แต่ทั้งนี้ ในคาบสมุทรมิอุระ หรือภูมิภาคอิเสะของจังหวัดมิเอะ จังหวัดโทคุชิมะ ยังคงผลิตทะคุอันด้วยกรรมวิธีดั้งเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งกลายเป็นสินค้ามีชื่อที่คนต้องการ… Read more »
ต้นกำเนิดของยากินิคุหรือเนื้อย่างในประเทศญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ยากินิคุ หรือ เนื้อย่าง เป็นหนึ่งเมนูชื่อดังของญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าใครที่เคยไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นต้องเคยลองแน่นอน และยังเป็นเมนูสุดโปรดของผู้เขียนที่ไปญี่ปุ่นทีไร ต้องมีเข้าร้านเนื้อย่างอย่างน้อย 1 ครั้ง ว่าแต่เมนูแสนอร่อยนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่นหรือเกาหลีกันแน่? ไปหาคำตอบกันเลยดีกว่า มีเรื่องเล่าว่าคนญี่ปุ่นสมัยโบราณไม่นิยมทานเนื้อสักเท่าไหร่ ในช่วงก่อนสมัยเอโดะ คนญี่ปุ่นจะทานเนื้อเป็นยามากกว่าที่จะทานเป็นอาหาร พอเข้าสู่สมัยเมจิ วัฒนธรรมการทานเนื้อจากตะวันตกจึงได้เข้ามาในญี่ปุ่น แต่ว่าผู้คนสมัยนั้นก็ยังต่อต้านการทานเนื้ออยู่ดี ตั้งแต่สมัยเมจิจนถึงปัจจุบัน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สุกิยากิ ชาบูชาบู ทงคัตสึ และนิคุจากะ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่พัฒนามาจากอาหารหม้อไฟเนื้อ แต่ถ้าลองสังเกตดูดีๆ เมนูเหล่านี้ล้วนเป็นเมนูต้มทั้งนั้น ไม่มีเมนูไหนที่ปรุงด้วยการย่างเลย ซึ่งดูเหมือนว่าวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นจะนิยมนำเนื้อมาต้มมากกว่าย่าง แต่แล้วในช่วงหลังสงคราม “ยากินิคุ” ก็กลายเป็นเมนูที่ชาวญี่ปุ่นนิยมมากขึ้น สำหรับการปรุงเนื้อสัตว์แบบย่างนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดมาพร้อมกับช่วงที่มนุษย์ค้นพบไฟในช่วงแรกๆ ซึ่งผู้คนทั่วโลกต่างก็ทานเมนูที่ปรุงเนื้อสัตว์ด้วยการย่าง โดยเฉพาะชาติตะวันตกที่มีทั้งเมนูเนื้อสเต๊กหรือเนื้อบาร์บีคิวที่ปรุงอาหารด้วยการย่าง ส่วนเนื้อย่างที่เราเห็นในญี่ปุ่นปัจจุบันนั้นได้แพร่หลายหลังสงคราม ซึ่งผู้ที่นำวัฒนธรรมอาหารนี้เข้ามาก็คือคนเกาหลีที่เข้ามาที่ญี่ปุ่นช่วงก่อนและหลังสงครามนั่นเอง แต่ทั้งนี้ดูเหมือนว่ายากินิคุที่ทานคู่กับซอสนั้นจะไม่มีในเกาหลี แต่เดิม “ยากินิคุ” เป็นอาหารที่ผู้คนในคาบสมุทรเกาหลีเรียกว่า “โบนิอานิ” ซึ่งหมายถึงการนำเนื้อสัตว์ลงไปจุ่มในซอสที่ผสมด้วยซอสถั่วเหลือง น้ำมันงา น้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆ จากนั้นจึงนำไปย่างบนไฟ ตั้งแต่สมัยโบราณบนคาบสมุทรเกาหลี เนื้อสัตว์ที่จุ่มในซอสนี้จะถูกย่างในห้องครัวและนำเสิร์ฟบนจานให้ลูกค้า แต่ทว่าในปัจจุบันการทานเนื้อย่างได้เปลี่ยนไปเป็นการนำเนื้อไปย่างบนเตา จากนั้นค่อยจุ่มซอสแล้วรับประทานอย่างที่พวกเราทานกันในสมัยนี้ ส่วนยากินิคุในคาบสมุทรเกาหลีปัจจุบัน จะไม่เรียกว่า “โนบิอานิ” แต่จะเป็นคำว่า “บุลโกกิ” (ในภาษาเกาหลีแปลว่าเนื้อย่าง)… Read more »
ความเป็นมาของขนมดังโงะและเรื่องที่ว่าทำไมต้องกลมๆ แล้วเสียบไม้เหมือนลูกชิ้น ความเป็นมาของขนมดังโงะและเรื่องที่ว่าทำไมต้องกลมๆ แล้วเสียบไม้เหมือนลูกชิ้น มีที่มาอย่างไรไปดูกันเลย นิยามของขนมดังโงะคืออะไร? ขนมดังโงะหมายถึง ขนมที่ทำจากการเอาแป้งมาใส่น้ำหรือน้ำร้อนแล้วก็เอามานวดๆ คลึงๆ แล้วเอาไปนึ่งหรือลวกน้ำร้อนให้คงรูป สมัยโบราณธัญพืชชนิดไหนที่เอามาหุงกินเป็นเมล็ดไม่ได้เขาก็จะเอามาทำเป็นแป้งใส่น้ำแล้วนวด เอาไปปิ้งไปต้มกินเป็นอาหารหลักต่างข้าว เชื่อว่าคำว่าดังโงะ (団子) มีปรากฏมาตั้งแต่ยุคเฮอัน ในนิยาย “ชินซารุงาคุกิ” (新猿楽記) (แต่ยุคเฮอัน อ่านว่า ดันซุ คืออ่านเลียนเสียงจีน) ต่อมาคนที่ถูกส่งไปเรียนเมืองถัง (เมืองจีน) กลับมาก็เอาขนมเซ่นไหว้ที่เรียกว่า “ดังกิ” (団喜 ซึ่งเป็นการคลี่คลายมาจาก “ขนมโมทกะ” ของอินเดียมาอีกที) พอคนญี่ปุ่นเห็นมันเป็นแป้งกลมๆ เลยได้ทีเรียกว่า 団子 ซึ่งพอเข้ายุคมุโรมาจิ คำว่า 団子 คนก็อ่านเป็น “ดังโงะ” (คืออ่านอย่างครึ่งจีนครึ่งญี่ปุ่น) แล้วก็เริ่มมีการเอาขนมดังกิมาเสียบไม้ ยุคมุโรมาจินี่แหละที่เกิดมีดังโงะเสียบไม้ “รสโชยุ” ที่เรียกว่า “มิตาราชิดังโงะ” ขึ้นมา ขนมดังโงะแบบที่ไม่ได้เสียบไม้ จัดเป็นกองเอาไว้เซ่นไหว้เนี่ย ของญี่ปุ่นก็มีอย่าง ทสึคิมิดังโงะ (ดังโงะชมจันทร์ 月見団子) นะครับ มิตาราชิดังโงะนั้น ว่ากันว่าเริ่มจากการเป็นขนมเซ่นไหว้หน้าศาลเจ้าในช่วงเทศกาลศาลเจ้าชิโมกาโมะ (下鴨神社) ในเกียวโต มีเรื่องเล่าขานว่าเมื่อจักรพรรดิโกไดโกะ (後醍醐天皇) ตักน้ำในสระมิตาไร (御手洗池)… Read more »
ความแตกต่างระหว่าง Yurei และ Youkai วิญญาณและภูติผีปีศาจ แตกต่างกันอย่างไรไปดูกันเลย เพื่อนๆ ที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ หรือเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบอนิเมะ มังงะ ซีรีย์ หรือภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนวสยองขวัญ อาจจะเคยได้ยินคำว่า “ยูเร” (幽霊) กับ “โยไค” (妖怪) กันมาบ้างใช่ไหมครับ แน่นอนว่าทั้งสองคำล้วนเป็นคำที่คนญี่ปุ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่เชื่อไหมครับว่า คนญี่ปุ่นจำนวนมากกลับไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของทั้งสองคำนี้ได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว ทั้ง ยูเร กับ โยไค ต่างก็มีความหมายและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น วันนี้เราจะไปหาคำตอบกันว่า ยูเร กับ โยไค มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อย่างไร ยูเร (幽霊) คือ “วิญญาณของผู้ล่วงลับ” หรือ “รูปลักษณ์ของดวงจิตที่ยังไม่สามารถไปสู่สุคติได้” ผู้ที่ยังมีห่วงหรือยังคงยึดติดกับบางสิ่งบางอย่าง หรือ มีความอาฆาตพยาบาทกับใครสักคน เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ก็จะกลายเป็นยูเรนั่นเอง โดยทั่วไปยูเรมักจะปรากฏกายต่อหน้าคนที่ตนเคยมีความสัมพันธ์ด้วย แต่หากเมื่อใดที่ไม่มีเรื่องให้ต้องห่วงอีกต่อไป หรือสามารถปล่อยวางความรู้สึกที่ยึดติดกับเรื่องราวต่างๆ ได้แล้ว ยูเรก็จะหายไปโดยไม่ปรากฏตัวให้ใครเห็นอีก โยไค (妖怪) คือ สิ่งมีชีวิตแปลกประหลาดที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ และเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ หรือที่เราเรียกกันว่า “ภูติผี” หรือ… Read more »
ฮันเปง ลูกชิ้นสามเหลี่ยมใส่โอเด้ง ที่มีมาตั้งแต่ยุคมุโรมาจิ มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย ทุกๆคนคงรู้จัก โอเด้งอาหารแสนอร่อยคล้ายก๋วยเตี๋ยวบ้านเราแต่สัญชาติญี่ปุ่น ประมาณว่าเป็นญาติห่างๆของราเมนก็ว่าได้ ซึ่งโอเด้ง นี่เรียกได้ว่า ท้อปปิ้งเยอะมากๆ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักหนึ่งในท้อปปิ้งของโอเด้งนั่นก็คือ ลูกชิ้นสามเหลี่ยมที่เราเห็นๆกันหรือชื่อของมันก็คือ ฮันเปงนั่นเอง “ฮันเปง” เป็นลูกชิ้นสีขาวรูปสามเหลี่ยมที่นิยมใส่ในโอเด้ง ขาวๆ นุ่มๆ เด็กกินได้ผู้ใหญ่กินดี หน้าหนาวกินฮันเปงที่ต้มใส่ในโอเด้ง แก้หนาวดีนักแล ว่ากันว่าในตำราอาหารยุคมุโรมาจิที่ชื่อ “อุมโปะอิโระฮะชู” (運歩色葉集) และก็ “โคะคอนโจมิชู” ก็มีเขียนถึงอาหารลูกชิ้นลักษณะนี้กันแล้ว และแน่นอนมันก็ปรากฏในตำราอาหารต่อมาถึงยุคเอโดะด้วย ชื่อว่า “ฮันเปง” (半片) นี้มาแต่ไหน? เรื่องเล่าที่มาที่คนเชื่อกันมากที่สุด ก็คือว่ามันมาจากชื่อคนคิดคือนาย “ฮันเปย์” (半平) พ่อครัวแห่งเมืองซุนปุ (駿府 ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดชิซุโอกะ) เป็นผู้คิดทำขึ้น แล้วตอนหลังเรียกเพี้ยนไปจาก “ฮันเปย์” เป็น “ฮันเปง” อีกเรื่องเล่าหนึ่งคือในบันทึกในปีที่สามศักราชเท็นโช (ราวศตวรรษที่ 16) มีคำว่า “คามาโบโกะ โนะ ฮะเฮง” (เศษเสี้ยวของคามาโบโกะ) ซึ่งตอนหลังเพี้ยนมาเป็น “ฮันเปง” แน่นอนยังมีเรื่องเล่าที่มาแบบอื่นๆ อีกหลายกระแส อย่างเช่นเพราะว่าแต่ก่อนเขาเอาใส่พิมพ์รูปร่างเหมือนฝาถ้วย เลยออกมาเป็นรูปจันทร์ครึ่งดวง เลยเรียกว่า “ฮันเปง” (半片… Read more »
โอยาโกะด้ง ข้าวหน้าไก่กับไข่ เกิดขึ้นได้แต่ใดมา มีที่มาอย่างไรนั้นไปดูกันเลย โอยาโกะด้งก็เป็นอาหารแสนอร่อยอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น แต่เรารู้กันรึเปล่าครับว่า ความเป็นมาของ โอยาโกะด้งนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ฉะนั้นเราจะไปทำความรู้จักกับเจ้าอาหารแสนอร่อยตัวนี้กัน เมื่อพูดถึง “ดมบุริ” (ข้าวราดหน้าใส่ชาม) คนมักนึกถึง อุนาด้ง 鰻丼 (ข้าวหน้าปลาไหลย่าง) เท็นด้ง 天丼 (ข้าวหน้าเทมปุระ) และคัตสึด้ง カツ丼 ก่อนอย่างอื่น ซึ่งว่ากันว่า อุนาด้งนี่หละเกิดก่อนดมบุริทั้งปวง (คือช่วงศักราชบุนกะ 文化 ตรงกับช่วงปี พ.ศ.2347 ถึง พ.ศ. 2361 ราวช่วงรัชกาลที่ ๑ ของไทย) ต่อจากนั้นจึงเป็นเท็นด้ง ส่วนคัตสึด้งมีเรื่องเล่าหลายทฤษฎีแต่ว่าที่แพร่หลายที่สุดคือ ร้านซันโซอัน 三朝庵 ร้านโซบะเก่าแกแถว ม.วาเซดะ (ปัจจุบันร้านปิดกิจการแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2561) เป็นผู้คิดทำขึ้น โดยเอาเศษเหลือๆ ของหมูชุบเกล็ดขนมปังทอด (cutlets カツレツ) มาทำเป็นคัตสึด้ง (เป็นเมนูกำจัดของเหลือดีมาก) ส่วนโอยะโกะด้งนั้น มีข้อเขียนที่กล่าวว่า พบว่ามีการใช้คำว่า “โอยะโกะด้ง” มาโฆษณา โดยร้าน เอโดะโค (江戸幸) ย่านโกเบโมโดริมาจิ (神戸元町) มาตั้งแต่ปีเมจิที่ 17… Read more »
แมวคือสัตว์เลี้ยงที่ครองใจชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอโดะ มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย เพื่อนๆ คงทราบกันดีใช่ไหมครับว่าแมวคือหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะตามบ้าน ศาลเจ้า หรือแม้กระทั่งร้านคาเฟ่บางร้านก็มักจะมีน้องแมวคอยประจำการอยู่เสมอ แต่เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่าจริงๆ แล้วแมวคือสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยเอโดะแล้ว ดังเห็นได้จากภาพวาดในสมัยนั้นที่มักจะมีแมวปรากฏอยู่ในภาพด้วยเสมอ หรือแม้กระทั่งตำนานเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับปีศาจแมว หรือความเชื่อที่ว่าแมวคือสัตว์นำโชคของมนุษย์ก็มีให้ได้ยินเช่นกัน แต่อะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้แมวเป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยมในสมัยเอโดะกันนะ วันนี้เราจะไปหาคำตอบกันครับ กล่าวกันว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีการนำเข้าแมวจากประเทศจีนในช่วงยุคสมัยนาระ เพื่อนำมาไล่จับหนูที่มักจะสร้างความเสียหายให้กับตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้ ตามบันทึก “มะคุระโนะโซชิ” (枕草子) ซึ่งเขียนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในราชสำนักเฮอัน และ “ตำนานเก็นจิ” (源氏物語) ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวต่างๆ ของเหล่าขุนนางในราชสำนักเฮอัน ต่างเขียนตรงกันว่าแมวคือสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมจากเหล่าขุนนางในราชสำนักเฮอันเป็นอย่างมาก และต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยเอโดะ วัฒนธรรมการเลี้ยงแมวก็ได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นโดยมีสาเหตุสำคัญ ดังนี้ เนื่องจากในขณะนั้น สภาพบ้านเมืองของประเทศญี่ปุ่นได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันจำนวนหนูก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน จึงทำให้ประชาชนเริ่มหันมาสนใจเลี้ยงแมวมากยิ่งขึ้นเหล่าจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นได้เริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยมีแมวเป็นแรงบันดาลใจสำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงไหมและเพาะปลูกซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น แมวคือตัวช่วยสำคัญในการกำจัดหนู ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นในสมัยเอโดะยังมีความเชื่อว่าแมวคือสัตว์ที่จะนำพาสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตอีกด้วย จึงทำให้ของตั้งโชว์อย่างเช่น แมวกวัก หรือ ภาพวาดแมว เริ่มเป็นที่แพร่หลายในสังคมชาวญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น อุตางาวะ คุนิโยชิ หนึ่งในจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยเอโดะ และเป็นผู้ที่หลงใหลคลั่งไคล้แมวเป็นอย่างมาก กล่าวกันว่าคุนิโยชิได้เลี้ยงแมวไว้จำนวนหลายสิบตัว และเมื่อแมวตัวใดตายลง เขาจะวางป้ายวิญญาณที่สลักชื่อแมวตัวนั้นไว้บนหิ้งพระด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีชาวญี่ปุ่นคนไหนเคยทำมาก่อน คุนิโยชิ ได้วาดภาพแมวไว้เป็นจำนวนมาก และผลงานต่างๆ เหล่านั้นก็กลายเป็นภาพพิมพ์ที่ได้รับการลงสีสันอย่างสวยสดงดงาม นอกจากนี้จิตรกรในยุคเอโดะบางท่านก็ได้สร้างสรรค์ภาพวาดแมวในฐานะที่เป็นปีศาจอีกด้วย
ที่มาของเทรุเทรุโบซุหรือ ตุ๊กตาไล่ฝน มีที่มาอย่างไรไปดูกันเลย
แมวถ้องทิ่น กับ แมวจรจัด ในประเทศญี่ปุ่นต่างกันไหน? ไปดูกันเลย เพื่อน ๆ ที่เคยไปญี่ปุ่นคงจะสังเกตได้ว่า คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ให้ความเอ็นดูกับแมวเป็นอย่างมาก ถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีระบบการจัดการสัตว์จรจัดที่ค่อนข้างเข้มงวด แต่เราก็ยังเห็นมีแมวเดินไปมาอยู่ตามพื้นพี่สาธารณะต่าง ๆ กันได้อยู่ แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า แมวที่เราเห็นเดินไปมากันตามข้างถนนในประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นแมวจรจัดเสียทั้งหมดนะ เราจะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” ในญี่ปุ่นกัน ว่าแมวทั้ง 2 แบบแตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นเรามารู้ถึงความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” สำหรับคนญี่ปุ่นกันก่อน ในส่วนของแมวจรจัดนั้น เชื่อว่าทุกคนก็น่าจะเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่า แมวจรจัด คือ แมวที่ใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านเรือนของคน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้านนอก โดยไม่ได้มีใครเป็นคนเลี้ยงหรือเป็นเจ้าของโดยตรง ถึงจะมีทาสแมวแอบมาให้ข้าวให้อาหารอยู่บ้าง แต่ถ้าไม่มีใครถือสิทธิ์เป็นคนเลี้ยงโดยตรงแล้วละก็ คนญี่ปุ่นก็จะถือว่าแมวเหล่านี้เป็นแมวจรจัด ในส่วนของ “แมวท้องถิ่น” นั้น คำจำกัดความของแมวท้องถิ่นก็คือ เป็นแมวที่อาศัยอยู่ภายนอกบ้านคน อยู่ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ โดยที่มีคนซึ่งอาศัยอยู่ในท้องถิ่นดังกล่าวให้การเลี้ยงดูโดยตรงนั่นเอง พูดให้เห็นความแตกต่างระหว่างแมวจรจัดกับแมวท้องถิ่นง่าย ๆ ก็คือ แมวดังกล่าวเป็นแมวที่มีคนคอยเลี้ยงและดูแลโดยตรง ซึ่งผู้ที่เป็นคนเลี้ยงและดูแลแมวท้องถิ่นนั้นจะไม่ได้หมายถึงใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือคนในชุมชนที่แมวดังกล่าวอาศัยอยู่ร่วมกันช่วยดูแล ให้อาหาร… Read more »
รู้จักคินซึงิ มีความหมายอย่างไรบ้างนั้นไปดูกันเลย