แมวถ้องทิ่น กับ แมวจรจัด ในประเทศญี่ปุ่นต่างกันไหน?

      Comments Off on แมวถ้องทิ่น กับ แมวจรจัด ในประเทศญี่ปุ่นต่างกันไหน?

แมวถ้องทิ่น กับ แมวจรจัด ในประเทศญี่ปุ่นต่างกันไหน? ไปดูกันเลย

เพื่อน ๆ ที่เคยไปญี่ปุ่นคงจะสังเกตได้ว่า คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ให้ความเอ็นดูกับแมวเป็นอย่างมาก ถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีระบบการจัดการสัตว์จรจัดที่ค่อนข้างเข้มงวด แต่เราก็ยังเห็นมีแมวเดินไปมาอยู่ตามพื้นพี่สาธารณะต่าง ๆ กันได้อยู่ แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า แมวที่เราเห็นเดินไปมากันตามข้างถนนในประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นแมวจรจัดเสียทั้งหมดนะ เราจะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” ในญี่ปุ่นกัน ว่าแมวทั้ง 2 แบบแตกต่างกันอย่างไร

ก่อนอื่นเรามารู้ถึงความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” สำหรับคนญี่ปุ่นกันก่อน ในส่วนของแมวจรจัดนั้น เชื่อว่าทุกคนก็น่าจะเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่า แมวจรจัด คือ แมวที่ใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านเรือนของคน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้านนอก โดยไม่ได้มีใครเป็นคนเลี้ยงหรือเป็นเจ้าของโดยตรง ถึงจะมีทาสแมวแอบมาให้ข้าวให้อาหารอยู่บ้าง แต่ถ้าไม่มีใครถือสิทธิ์เป็นคนเลี้ยงโดยตรงแล้วละก็ คนญี่ปุ่นก็จะถือว่าแมวเหล่านี้เป็นแมวจรจัด

ในส่วนของ “แมวท้องถิ่น” นั้น คำจำกัดความของแมวท้องถิ่นก็คือ เป็นแมวที่อาศัยอยู่ภายนอกบ้านคน อยู่ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ โดยที่มีคนซึ่งอาศัยอยู่ในท้องถิ่นดังกล่าวให้การเลี้ยงดูโดยตรงนั่นเอง พูดให้เห็นความแตกต่างระหว่างแมวจรจัดกับแมวท้องถิ่นง่าย ๆ ก็คือ แมวดังกล่าวเป็นแมวที่มีคนคอยเลี้ยงและดูแลโดยตรง ซึ่งผู้ที่เป็นคนเลี้ยงและดูแลแมวท้องถิ่นนั้นจะไม่ได้หมายถึงใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือคนในชุมชนที่แมวดังกล่าวอาศัยอยู่ร่วมกันช่วยดูแล ให้อาหาร และรับผิดชอบนั่นเอง โดยสัญลักษณ์ง่าย ๆ ที่เราสามารถใช้ดูเพื่อแยกแมวจรจัดกับแมวท้องถิ่นออกจากกันนั่นก็คือ รอยบากหรือรอยถูกตัดที่ใบหูของน้องแมว ซึ่งแมวท้องถิ่นจะได้รับการทำสัญลักษณ์ดังกล่าวไว้ตั้งแต่ในช่วงที่ยังเป็นแมวเด็ก จึงทำให้แมวท้องถิ่นเหล่านี้ค่อนข้างเชื่อง และเข้าหาคนมากกว่าแมวจรจัดที่มักจะมีนิสัยระแวงคนนั่นเอง

เป็นที่รู้กันดีว่าปัญหาแมวจรจัดนั้นเกิดจากการที่คนเลี้ยงแมวนำแมวมาปล่อย หรือไม่ก็แมวหนีออกมาจากบ้านเจ้าของ แล้วหลังจากนั้นก็แพร่พันธ์ุมีลูกต่อไปเรื่อย ๆ และใช้ชีวิตอยู่ภายนอกตามสัญชาตญาณของสัตว์ ซึ่งอาจไปสร้างความเดือดร้อนให้กับมนุษย์ที่ไม่เกี่ยวข้องบ้าง แต่แท้จริงแล้วปัญหาแมวจรจัดนี้ต้นตอก็คือมนุษย์นั่นเอง จึงเป็นที่มาของการหาทางแก้ไข บรรเทาปัญหาเรื่องแมวจรจัด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ กิจกรรมที่มีชื่อว่า “แมวท้องถิ่น” โดยแนวคิดหลักของกิจกรรมแมวท้องถิ่นก็คือ การสร้างสังคมที่มนุษย์และแมวสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมนุษย์เป็นผู้คอยดูแลระวังไม่ให้แมวไปทำลายสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศท้องถิ่น และผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นก็ไม่ต้องนั่งอดทนต่อผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากแมว โดยวิธีการที่เป็นรูปธรรมของกิจกรรมดังกล่าวก็คือ การทำหมันคุมกำเนิดให้กับแมวจรจัด กำหนดพื้นที่สำหรับการให้อาหาร และกำหนดพื้นที่สำหรับการขับถ่ายของแมว เป็นต้น เพื่อควบคุมจำนวนของแมวจรจัดไม่ให้เพิ่มมากขึ้น และลดความเสียหาย ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากแมว
แม้กิจกรรมแมวท้องถิ่นจะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาแมวจรจัด และสร้างสังคมที่มนุษย์และแมวสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไร้ปัญหา แต่กิจกรรมดังกล่าวก็มีทั้งเสียงเห็นด้วยและต่อต้านจากคนในท้องถิ่น โดยผู้ที่ต่อต้านก็ให้ความเห็นว่า กิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาเรื่องขยะ ซึ่งส่งผลพวงให้เกิดปัญหาเรื่องแมลง และสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์จากการเข้ามาแย่งอาหารแมว รวมทั้งยังอาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้ เช่น อาการแพ้ขนแมว โรคติดเชื้อต่าง ๆ จากสัตว์ รวมไปถึงปัญหาเรื่องการบุกรุกเข้าไปในพื้นที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไร่สวน ผลผลิตทางการเกษตร หรือสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ส่วนบุคคลได้

ถึงแม้กิจกรรมแมวท้องถิ่นจะเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายที่ดีในการสร้างสังคมที่แมวและมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข แต่กิจกรรมดังกล่าวจะไม่มีความจำเป็นเลย หากมนุษย์ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตของสัตว์เลี้ยงตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายอย่างถึงที่สุด